วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิทยาการวิจัยขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิต

นงลักษณ์ วิรัชชัย

เอกสารประกอบการสัมมนาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา
ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง "วิธีวิทยาการขั้นสูงด้านการวิจัย สถิติ การวัดผลและประเมินผลการศึกษา"
21 สิงหาคม 2538 ณ อาคารศศปฐศาลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 7(2), 2538, 1-36.
ช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาซึ่งศาสตร์ทุกสาขามีความเจริญก้าว หน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนที่เป็นองค์ความรู้ด้านเนื้อหาสาระ และด้านวิธีวิทยาของศาสตร์ วิธีวิทยาและเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้เกิดการ พัฒนาซึ่งกันและกัน ยิ่งมีการพัฒนา การสร้างสั่งสมความรู้เนื้อหาสาระมากเพียงใด ยิ่งมีการพัฒนาวิธีวิทยามากเพียงนั้นและในทางกลับกัน ยิ่งมีการพัฒนาวิธีวิทยาให้มีประสิทธิภาพมากเพียงใด ยิ่งมีผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์มากขึ้นเพียงนั้น กล่าวได้ว่า เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศาสตร์ทุกสาขาก็คือ วิธีวิทยา โดยเฉพาะวิธีวิทยาการวิจัยอันเป็นกระบวนการแสวงหา การสร้าง การสะสม และการพัฒนาองค์ความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ในระดับสูงจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยของศาสตร์ นักวิชาการที่มีคุณภาพในศาสตร์แต่ละสาขานอกจากจะมีความรอบรู้ในหลักการ ทฤษฎี และเนื้อหาสาระของศาสตร์แล้ว ยังต้องมีความสามารถเชี่ยวชาญในวิธีวิทยาการวิจัย รวมทั้งมีความสนใจติดตามความก้าวหน้าของวิธีวิทยาการวิจัย และมีศักยภาพในการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัยในศาสตร์ของตน สามารถนำวิธีวิทยามาใช้ในการวิจัยบริสุทธิ์เพื่อพัฒนาศาสตร์ และใช้ในการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยตระหนักในความสำคัญของวิธีวิทยาการวิจัย ผู้เขียนในฐานะผู้สอนวิชาวิจัยและสถิติผู้หนึ่ง จึงได้ติดตามความก้าวหน้าและพยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัย รวมทั้งกระตุ้นให้นิสิตบัณฑิตศึกษาได้สนใจศึกษาวิธีวิทยาการขั้นสูง บทความนี้เป็นผลจากการประมวลความรู้เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัยใหม่ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในระบบ จากประสบการณ์ในการวิจัยและจากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สอนในสาขา เดียวกันและนิสิตบัณฑิตศึกษาที่มีจิตวิญญาณของการใฝ่รู้ร่วมกัน สาระในบทความอาจไม่ครอบคลุมวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆ ทั้งหมด แต่ผู้เขียนหวังว่าจะมีสาระครอบคลุมวิธีวิทยาการขั้นสูงมากพอที่จะทำให้เกิด การปรับปรุงการเรียนการสอนสถิติและวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา การนำเสนอบทความแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงความหมายและที่มาของวิธีวิทยาขึ้นสูงในการวิจัยการศึกษา ตอนที่สองให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิธีวิทยาขั้นสูงในด้านการ วิจัยและสถิติ และในตอนสุดท้ายเป็นการสรุปรวมลักษณะภาพอนาคตของวิธีวิทยาการวิจัยและสถิติ

ความหมายและที่มาของวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง
คำว่าวิธีวิทยาตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า methodology (meta + hodos = way) + logie (Webster's Ninth New Collegiate Dictionary , 1991) ตามรากศัพท์วิธีวิทยาหมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี คำว่า "วิธีวิทยาการวิจัย" จึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัยการศึกษาและรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในวิธีวิทยา ทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการวัดและการประเมินผล

วิธีวิทยาการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัยการศึกษามีทั้งวิธีวิทยาขั้นพื้น ฐานและวิธีวิทยาการขั้นสูง ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงวิธีวิทยาขั้นสูงจึงหมายถึง วิธีวิทยาเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่วิธีวิทยาขั้นพื้นฐาน เมื่อศึกษารายวิชาวิธีวิทยาการวิจัย หลักการวัดและประเมินผล และสถิติขั้นพื้นฐานในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ จะเห็นได้ว่าวิธีวิทยาการวิจัยขั้นพื้นฐานมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเฉพาะด้าน การวิจัยที่เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (descriptive research) และการวิจัยทดลอง/การวิจัยกึ่งทดลอง (Experimental/quasi-experimental research) ที่มีแบบแผน (design) การวิจัยง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ด้านการวัดที่ใช้ทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิม (classical test theory) ด้านการประเมินผลเฉพาะหลักการและโมเดลการประเมินเบื้องต้นและในด้านสถิติ เฉพาะมีสถิติบรรยาย สถิติว่าด้วยการสุ่มตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เป็นสถิตินันพาราเมตริกบางตัวและสถิติอนุมาน เบื้องต้นในการเปรียบเทียบและการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2-3 ตัวแปร ดังนั้นวิธีวิทยาการวิจัยนอกเหนือจากสาระที่กล่าวมาแล้วจึงถือกันว่า เป็นวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง ในรายวิชาสัมมนาหรือวิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยการวัดและประเมินผลและ สถิติ จึงมีขอบข่ายของรายวิชาครอบคลุมแผนแบบการวิจัยที่ซับซ้อนมากขึ้น มีเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ได้ผลการวิจัยที่เที่ยงตรงมากขึ้น ด้านการวัดมีสาระเกี่ยวกับทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (item response theory) และการประยุกต์ใช้ ด้านการประเมินผลมีเทคนิควิธีการและโมเดลการประเมินใหม่ๆ และในด้านสถิติมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่ช่วยให้นักวิจัยตอบคำถามวิจัยเกี่ยว กับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม (multivariate statistics)

การวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยประเภทใดมีวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยอยู่ 4 ประการ เรียงตามความเข้มข้นของวิธีวิทยาการวิจัยจากน้อยไปมาก ดังนี้ คือ วัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจและบรรยาย (exploration and description) เพื่อการเปรียบเทียบ (comparison) และ/หรืออธิบาย (explanation) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ เพื่อการทำนาย (prediction) และประเมิน (evaluation) และเพื่อการควบคุม (control) ปรากฏการณ์ให้เกิดการพัฒนา (development) ในทางที่พึงประสงค์ ลักษณะการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้จึงเป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเป็น อย่างต่ำ และมีการใช้วิธีวิทยาขั้นสูงที่เป็นผลจากบูรณาการวิธีวิทยาในสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการ วิจัย เพราะการวิจัยการศึกษาเป็นเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง ตัวแปรและสารสนเทศที่มีความหลากหลาย มีตัวแปรจำนวนมาก มีระดับการวัดตัวแปรแต่ละตัวต่างกัน มีหน่วยการวิเคราะห์หลายระดับ และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาต่างๆ กล่าวได้ว่า วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาขั้นสูงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เป็นผลมาจากการขยายพรมแดนการวิจัยการศึกษาให้สามารถนำวิธีวิทยาการวิจัย ศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่เป็นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ และวิธีวิทยาการวิจัยนั่นเอง

สาระเกี่ยวกับวิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ
วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัย คือ การตอบคำถามวิจัยได้อย่างถูกต้องแม่นตรง และการอนุมานผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ไม่ว่าวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงจะได้รับการพัฒนาให้ดีมากขึ้นเพียงใด ลักษณะสำคัญที่เป็นหัวใจของวิธีวิทยาการวิจัยยังคงมีลักษณะคงเดิม แต่จะมีบางส่วนที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้การดำเนินการวิจัยสามารถตอบคำถาม การวิจัยได้อย่างถูกต้องและแม่นตรงมากขึ้น ดังนั้น วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติในปัจจุบันจึงเป็นเทคนิควิธีที่มีราก ฐานจากวิทยาการขั้นสูงในอดีต แต่มีวิธีการที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ผลการวิจัยมีความตรง 4 ประเภท ตามแนวความคิดของ Kirk (1995: 16-17) ได้แก่ ความตรงในการสรุปทางสถิติ (statistical conclusion validity) ความตรงภายใน (internal validity) ความตรงเชิงโครงสร้างของสาเหตุและผล (construct validity of causes and effects) และความตรงภายนอก (external validity) เพิ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติที่ใช้ในปัจจุบัน มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ ประการแรก คือลักษณะของวิธีวิทยาที่มีการคำนวณอย่างเข้มข้นและต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการปฏิบัติงาน ประการที่สอง คือ ลักษณะที่เป็นบูรณาการจากวิธีวิทยาการวิจัยหลายสาขา ประการที่สามถึงห้า เป็นลักษณะเฉพาะของวิธีวิทยาด้านสถิติ และการวัด ได้แก่ ประการที่สาม คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีการผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้น (relax assumptions) ของวิธีวิทยาการวิเคราะห์แบบเดิม ประการที่สี่ คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่ใช้งานได้กว้างขวางมีความทั่วไป (generality) มากขึ้น และประการสุดท้าย คือ ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง และมีความไว (accuracy and sensitivity) มีความแกร่ง (robust) มากขึ้นกว่าเดิม

วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยการศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นวิธีวิทยาการวิจัย ใหม่ๆ ซึ่งนำเสนอต่อไปนี้ ครอบคลุมวิธีวิทยา 4 ด้าน คือ ด้านการกำหนดแบบแผนการวิจัย ด้านการสุ่มตัวอย่าง ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านสถิติ การนำเสนอแต่ละด้านแยกตามหัวข้อเรื่องของเทคนิควิธี สาระที่นำเสนอในแต่ละหัวข้อเป็นเพียงการให้สังกัปโดยย่อของแต่ละเรื่องให้ ทราบถึงความหมาย หลักการ และประโยชน์จากการใช้เทคนิควิธีนั้นๆ ผู้ที่สนใจอาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิงที่ระบุไว้ในบทความนี้ต่อไป

1.วิทยาการด้านการกำหนดแผนแบบการวิจัย
การพัฒนาวิธีวิทยาด้านแผนแบบการวิจัยเป็นผลจากความพยายามของนักวิจัยที่จะ ปรับปรุงวิธีวิทยาการวิจัยที่มีอยู่ให้มีมาตรฐาน และมีคุณภาพดีมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการของนักวิจัย ผลจากการพัฒนาทำให้เกิดการวิจัยที่มีแผนแบบการวิจัยเปลี่ยไปจากเดิม การวิจัยหลายแบบพัฒนามาจากวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยที่วิธีการวิเคราะห์นั้นมีลักษณะปัญหาวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัยเฉพาะ ตัวแตกต่างจากการวิจัยทั่วๆไป รูปแบบการวิจัยที่มีการพัฒนาใหม่ที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

1.1 การวิจัยนโยบาย (Policy Research) และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา

วิธีวิทยาการวิจัยนโยบาย และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา นับเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่งได้ตั้งศูนย์วิจัยรองรับและเปิดสอน หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาการวางแผนและการวิจัยนโยบายการศึกษา เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาวิธีวิทยาการวิจัยประเภทนี้อย่างรวดเร็วก็คือ ความต้องการของผู้บริหารที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจ และความต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ของบุคลากรซึ่งมีทักษะในการวิจัยของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

ในระยะแรกของการพัฒนา การวิจัยนโยบายหมายถึงการวิจัยที่ศึกษานโยบาย และผลที่เกิดจากการดำเนินการตามนโยบาย ในระยะหลัง การวิจัยนโยบายมีลักษณะเป็นการวิจัยประเภทสหวิทยาการมีความหมายรวมถึงการ วิเคราะห์นโยบาย (policy analysis) ซึ่งเป็นการศึกษาประเมินผลและทำนายผลที่เกิดจากการกำหนดนโยบายแบบต่างๆ เปรียบเทียบกัน วิธีดำเนินการวิจัยนโยบายมีขั้นตอนการดำเนินงานแตกต่างจากการวิจัยโดยทั่วไป เล็กน้อย งานขั้นตอนแรกเริ่มจากการกำหนดปัญหาวิจัยจากสภาพที่เป็นปัญหาความเดือดร้อน ในสังคม การศึกษารายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดสมมติฐานที่แสดงถึงความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สาเหตุที่ได้จากนโยบาย และตัวแปรผลที่เป็นปัญหาสังคม และกำหนดสมมติฐานที่แสดงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้นโยบายที่เป็นทางเลือก ใหม่ จากนั้นเป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย ตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้กันมากได้แก่ การวิเคราะห์ผลประโยชน์- ต้นทุน และการวิเคราะห์ประสิทธิผล-ต้นทุน โปรแกรมเชิงเส้น การพยากรณ์และการวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์เส้นโค้งลอเรนซ์ และการวิเคราะห์ระบบขั้นตอนสุดท้ายเป็นการสรุป เสนอทางเลือกในการดำเนินงานต่อผู้บริหารหรือผู้บริโภคงานวิจัยนโยบาย ในการดำเนินการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยนโยบายต้องมีความรอบรู้และมีความชำนาญในการใช้เทคนิควิธีทาง เศรษฐศาสตร์ การเงินสาธารณะ พฤติกรรมองค์กร การสื่อสารและการนิเทศ การวิเคราะห์ระบบ (System analysis) และสถิติ (Stecklein, J.E., 2532:8; Weimer, D.L. and Vining, A.R., 1992:2-13)

1.2 การวิจัยเชิงจำลอง (Simulation Research)

Creno, W.D. และ Brewer, M.B. (1973: 114-120) กล่าวว่าการวิจัยเชิงจำลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระยะเวลาการพัฒนา กลุ่มแรก เป็นการวิจัยที่มีการจำลองเลียนแบบสภาพการณ์จริง ตามแนวจิตวิทยาในรูปของการเล่นเกมบทบาทสมมติ (manned simulated role playing game research) ในระยะต่อมาจึงมีการพัฒนาการวิจัยเชิงจำลองในแนวรัฐศาสตร์เพื่อตรวจสอบทฤษฎี เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระบบต่างๆ ในสังคม เรียกว่า simulation research of international relations ซึ่งเป็นงานวิจัยในกลุ่มที่สอง กลุ่มที่สามเป็นการวิจัยเชิงจำลองที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาระบบงาน หรือระบบข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันตามข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ ข้อมูล งานวิจัยในกลุ่มนี้เป็นงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และการวิจัยปฏิบัติการ ในเรื่องการรอคอย (queing) เท่าที่ผ่านมาการวิจัยการศึกษาในประเทศไทยมีการใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิง จำลองในการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิควิธีการวิเคราะห์แบบต่างๆ เพื่อให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เทคนิคที่ใช้คือ มอนติคาร์โล และนักวิจัยต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างข้อมูลจำลองเองแต่ในปัจจุบันมี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักวิจัยสร้างหรือจำลองข้อมูลได้สะดวก เช่น โปรแกรม PRELIS พัฒนาโดย Joreskog, K.G และ Sorbom, D. (1988) เป็นต้น McLean, J.M. (1978 : 329-352) Duke, R.D. (1978 : 353-368) คาดว่าในอนาคตจะมีการวิจัยเชิงจำลองมากขึ้น และเสนอแนะให้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงจำลองในการวิจัยอนาคตด้วย

1.3 การวิจัยอนาคต (Future Research)

วิธีวิทยาการวิจัยอนาคตมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรยายทางเลือกอนาคตที่เป็นไปได้ แบบต่างๆ เพื่อประเมินสภานภาพในปัจจุบันและบ่งชี้ผลกระทบที่เป็นไปได้ในแต่ละทางเลือก เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อวางแผนอนาคตไปในแนวทางที่พึงประสงค์ การวิจัยอนาคตที่ใช้กันในปัจจุบันมีแผนแบบการวิจัยที่แตกต่างไปจากเดิมมาก เนื่องจากมีการประยุกต์เทคนิควิธีการวิจัยแบบอื่นๆมาใช้ร่วมกันกับการวิจัย อนาคต ดังจะเห็นได้จากแผนแบบการวิจัยต่างๆ ดังนี้

1.3.1 การวิจัยอนาคตแบบ Ethnoggraphic Delphi Futures Research (EDFR)
การวิจัยแบบ EDFR เป็นวิธีวิทยาที่ไม่ต้องลงทุนมากเหมาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และเป็นเทคนิคที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทั้งในการกำหนด นโยบายการตัดสินใจหาวิธีการแก้ปัญหา การใช้ข้อเท็จจริงในอดีตมาแก้ปัญหาในอนาคต เป็นต้น เทคนิคการวิจัยเพื่อการสร้างภาพอนาคตจากฉันทามติของคณะผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ เทคนิคเดลไฟ ซึ่งอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ หรือการใช้แบบสอบถามก็ได้ การเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับการวิจัยนี้ (จุมพล พูนภัทรชีวิน, 2530) การวิจัยอนาคตแบบ EDFR เป็นผล จากการประยุกต์ใช้วิธีวิทยาการวิจัยชาติพันธุ์วรรณา กับการวิจัยอนาคต ประกอบกับวิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคเดลไฟ

1.3.2 การวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross-Impact Analysis)
การวิจัยอนาคตที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่งได้แก่ การวิจัยโดยใช้เทคนิคผลกระทบไขว้ Stover, J.G. และ Gordon, T.J. (1978 : 301-328) สรุปว่าการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการพยากรณ์และการสร้างภาพอนาคตให้เห็นเป็น ภาพของปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องเป็นสายโซ่ ผลการวิจัยให้ภาพอนาคตที่เป็นความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ เทคนิคการวิจัยแบบนี้ใช้การประมาณค่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์แต่ละ เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งแล้ว จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่า odds ratio สำหรับการเกิดเหตุการณ์ในแต่ละคู่ในเมทริกซ์ผลกระทบไขว้ ผลจากการวิเคราะห์ให้ภาพอนาคตของผลกระทบจากแต่ละเหตุการณ์พร้อมด้วยค่าความ น่าจะเป็น เทคนิคนี้ยังสามารถนำไปใช้ตรวจสอบความไวของการดำเนินงานตามนโยบายได้อีกด้วย

1.3.3 การวิจัยโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพอนาคต (Scenarios)
Wilson, I. H. (1978 : 225-248) สรุปว่าภาพอนาคตมีลักษณะเป็นภาพรวมของสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในอนาคต หรือแนวโน้มของปรากฏการณ์ตามเงื่อนไขทางเลือกอนาคตแบบต่างๆ ขั้นตอนการสร้างภาพอนาคตประกอบด้วย การพยากรณ์การเกิดเหตุการณ์แต่ละส่วน การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ และการเขียนภาพอนาคต ภาพอนาคตที่ได้อาจแสดงในรูปของการบรรยายภาพ หรือแผนภาพอนาคตก็ได้

1.3.4 การวิจัยโดยใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ (Future Scanning Process)
พรชุลี อาชวอำรุง (2537) ได้สรุปแนวคิดของ Morrison, J.L. Renfro, W.L และ Boucher, W.I ว่า กระบวนการอนาคตปริทัศน์ คือ การจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยใช้เรดาห์ชนิดหนึ่งกวาดดูโลกอย่างมีระบบระเบียบให้ทราบถึงปฏิสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และเตือนว่าจะเกิดอะไรใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการกับแนวโน้มคัดสรรที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และดำเนินการให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ ขั้นตอนการใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ ได้แก่ การกำหนด เป้าหมายการกวาดตรวจหรือปริทัศน์อย่างเป็นทางการจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ การหาความตรงของข้อมูล การประชุมทีมนักวิจัยเพื่อร่างแนวโน้มที่บ่งบอกความเปลี่ยนแปลง การคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแนวโน้มตามที่รวบรวมได้ การจัดประเภทของสาระให้เห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงแต่ละด้าน และการพัฒนาว่าจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรรวมทั้งการทำนาย กับการกำหนดกิจกรรมที่น่าจะเกิดจากแนวโน้มนั้น

1.4 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การวิจัยเชิงคุณภาพมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาปัญหาในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง เป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลการวิจัยนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า grounded theory วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้รับการพัฒนาในระยะหลังมีแบบแผนการวิจัย แตกต่างกันตามแนวปรัชญาที่นักวิจัยใช้ Tierney, W.G. และ Lincoln, Y.S. (1994) สรุปว่า แผนแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในปัจจุบันแตกต่างกันเป็นสามแบบตามแนวปรัชญา หน้าที่นิยม (functionalism) โครงสร้างนิยม (structuralism) และวิพากษ์นิยม (criticalism) นอกจากนี้การวิจัยเชิงคุณภาพยังมุ่งผสมผสานเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณมาก ขึ้นเพื่อแก้จุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิควิธีการวิจัยที่ได้รับการพัฒนาที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

1.4.1 การศึกษาหลายกรณี และการศึกษาหลายพื้นที่ (Multicase and Multisite Studies)
เนื่องจากการศึกษากรณีเดียว หรือพื้นที่เดียว มีข้อจำกัดในด้านความตรงภายนอก (external validity) นักวิจัยคุณภาพจึงได้พัฒนาวิธีวิทยาให้ดีขึ้นโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างหลาย กรณี หรือหลายแหล่งเพื่อให้มีความเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร และเพื่อควบคุมสิ่งที่อาจปนเปื้อนปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา หลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นหลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยใช้ลักษณะที่ต้องการควบคุมเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น การวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายกรณี ให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบเพื่อการสรุปอ้างอิง ส่วนการวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายพื้นที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทฤษฎีที่ เป็นจริงในทุกพื้นที่ และต้องใช้กระบวนการอุปมานเชิงวิเคราะห์ (analytic induction) ในการวิจัย ในบางกรณีนักวิจัยอาจกำหนดแผนแบบการวิจัยในรูปของการวิจัยหลายกรณีและหลาย พื้นที่ (multisite case studies) ก็ได้ซึ่งทำให้ผลการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น (Bogdan, R.C. and Biklen, S.K., 1992)

1.4.2 เทคนิคการวิจัยโดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Research)
การวิจัยนี้พัฒนามาจากเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม และแบบมีจุดเน้น (group and ่focus interview) ประกอบการเลือกกลุ่มตัวอย่างทีมีลักษณะเฉพาะร่วมกัน วิธีการวิจัยจัดว่าเป็นการวิจัยที่ใช้พลวัตรของกลุ่ม 8-12 กลุ่มกระตุ้นให้สมาชิกของกลุ่มแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตน การจัดกลุ่มสนทนาใช้หลักการให้สมาชิกภายในกลุ่มแต่ละกลุ่มมีลักษณะร่วมกัน และกลุ่มสนทนาทุกกลุ่มต้องมีลักษณะต่างกันตามเงื่อนไขที่นักวิจัยต้องการ เปรียบเทียบสาระที่ได้จากการสนทนา กิจกรรมการดำเนินการจัดกลุ่มสนทนามีหลักการและวิธีการเฉพาะที่ต้องมีการฝึก ฝนก่อนการลงมือทำการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีการถอดเทปบันทึกการสนทนาและวิเคราะห์เนื้อหา (Morgan, D., 1988, นภาภรณ์ หะวานนท์, 2535)

1.4.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาชุมชนโดย เน้นการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ปัญหา และการติดตามผลการแก้ปัญหาของชุมชน โดยที่สมาชิกของชุมชนนั้นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และการวิจัยด้วย (อลิศรา ชูชาติ, 2538) การวิจัยรูปแบบนี้เป็นการผสมผสานวิธีวิทยาการวิจัยแบบปฏิบัติการกับการ สังเกตแบบมีส่วนร่วม ทัมนักวิจัยประกอบด้วยนักวิจัยซึ่งมิใช่สมาชิกของชุมชน กับสมาชิกในชุมชนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนดีที่สุด และเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากผลการวิจัยโดยตรง

1.4.4. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
Weber, R. P. (1985) กล่าวว่า การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้กระบวนการหลายแบบมาสรุปอ้าง อิงผลที่ได้จากข้อความ หลักการสำคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาคือการจำแนกคำ กลุ่มคำประโยคจากข้อความเข้ากลุ่ม จากนั้นจึงจัดกลุ่มนำเสนอข้อค้นพบพร้อมทั้งแปลความหมาย ปัจจุบันนี้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในประเทศไทยทำได้สะดวกมากขึ้นโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Ethnograph ในต่างประเทศ Weber กล่าวว่า เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหามีการพัฒนาโดยการเปลี่ยนข้อมูลเชิงคุณภาพในแต่ละ กลุ่มให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ และนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเชิงปริมาณ เช่น การสร้างแผนภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์จำแนก และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (lisrel) ด้วย

วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพนับวันแต่จะมีการผสมผสานกันมากขึ้นในการวิจัยแต่ละ เรื่อง อาจใช้วิธีวิทยาการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพประกอบกันได้ เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้ คือการจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) หลังจากเสร็จสิ้นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อนำผลการวิจัยมาตรวจสอบความถูกต้อง หรือแสวงหาแนวทางปฏิบัติต่อไปโดยคณะผู้เชี่ยวชาญที่เลือกสรรแล้ว

1.5 การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis)

การวิเคราะห์อภิมานเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่พัฒนาใหม่ล่าสุดในการสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงปริมาณ หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์อภิมานคือการประมาณค่าผลงานวิจัยให้อยู่ในรูป ดัชนีมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติตรวจสอบว่าความแปรปรวนในดัชนีมาตรฐานเหล่านั้นมีค่า เหมาะสมที่จะสรุปได้หรือไม่ หากยังไม่สามารถสรุปได้ต้องแยกศึกษาตามตัวแปรปรับ (moderator variables) หรือวิเคราะห์ว่าลักษณะงานวิจัยสามารถอธิบายความแตกต่างในดัชนีมาตรฐานได้ อย่างไร (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2530) เทคนิคการวิเคราะห์อภิมานนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อสรุปนัยโดยทั่วไป ของความตรง (validity generalization) ได้ ทั้งนี้เพราะค่าความตรงอยู่ในรูปของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันเป็นดัชนี มาตรฐานแบบหนึ่ง เทคนิคการสรุปนัยทั่วไปของความตรงได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว Law, K.S., Schmidt, F.L. และ Hunter, J.E. (1994) รายงานว่าทำได้ถึง 5 แบบ คือ Interactive procedure, noninteractive procedure, multiplicative procedure, taylor series approximation 1 and 2 , Raju, Burke, Normand and Langlois procedure ทุกแบบใช้หลักการวิเคราะห์อภิมานตามแบบของ Hunter เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น

วิธีวิทยาการวิเคราะห์อภิมานยังจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นอีกมากในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องการประมาณค่าดัชนีมาตรฐานสำหรับผลการวิจัยที่นำมา สังเคราะห์แต่ละเรื่องและแต่ละวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเนื่องจากโมเดลในการวิเคราะห์ อภิมานเป็นโมเดลสอดแทรกเป็นลำดับลดหลั่น (hierarchical nested model) ซึ่งเป็นโมเดลพหุระดับ ดังนั้น Draper, D. (1995) จึงกล่าวว่าวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการสังเคราะห์งาน วิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน คือ วิธีการวิเคราะห์พหุระดับ (multi-level analysis) ผลงานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมานของ Draper จึงจัดว่า เป็นการวิเคราะห์อภิมานเรื่องแรกที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์พหุ ระดับ

วิธีวิทยาการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานได้รับการพัฒนาใหม่ อีกแนวทางหนึ่ง คือ การวิเคราะห์อภิมานของการวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมาน หรือการวิจัยที่ Levin, H.M. เรียกว่า mega-meta analysis และงานวิจัยที่เขายกย่องว่า เป็น "mother of all educational research synthesis" คืองานวิจัยเรื่อง "Toward a Knowledge Base for School learning" โดย Wang, M.C., Haertel, G.D. Walberg, H.J. (1993) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "WHW article" งานวิจัยนี้สังเคราะห์งานวิจัยอภิมานรวม 91 เรื่อง ประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยมีการประมาณค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปรกว่า 10,000 ค่า (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2537)

1.6 การศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียว (Single Subject Study)

การวิจัยที่เป็นการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวมัลักษณะแตกต่างจากการศึกษาราย กรณีเพราะการศึกษารายกรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีกรเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง หรือมีการวัดซ้ำ (repeated measures) เป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ การศึกษาความเจริญเติบโต ความเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการของหน่วยตัวอย่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นผลการผสมผสานวิธีการศึกษาระยะยาว (longitudinal study) กับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวัดซ้ำ โดยที่ข้อมูลจากการวัดซ้ำของหน่วยตัวอย่างแต่ละคนมีลักษณะโมเดลลำดัยลดหลั่น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวคือ การวิเคราะห์พหุระดับกรณีโมเดลเชิงเส้นลำดับลดหลั่น (hierachical linear model) หรือโมเดลสัมประสิทธิ์สุ่ม (random coefficient Model) (Rogosa, D. and Saner, H., 1995)

2. วิธีวิทยาด้านการสุ่มตัวอย่าง
ด้านการสุ่มตัวอย่างมีการพั?นาเทคนิควิธีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับด้าน อื่นๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากวิธีการที่ใช้อยู่มีความสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การประมาณค่าของขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย สูตรที่ได้รับการยอมรับว่า มีความถูกต้อง และใช้กันมากคือสูตรของ Cohen, J. (1988) ซึ่งมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สารสนเทศจากค่าขนาดอิทธิพล ค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I และประเภทที่ II (อัลฟาและเบต้า) และสถิติที่ต้องการใช้ในการทดสอบสมมติฐาน สำหรับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้น มีการพัฒนาเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์ (matrix sampling) ให้ดีขึ้น เรียกว่า เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบ balanced incomplete block (BIB) spiraling การสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์เดิมมีจุดอ่อนตรงที่สามารถประมาณค่า สหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดย่อยในแต่ละชุดได้ แต่ไม่สามารถประมาณค่าสหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดย่อยต่างชุดได้ แต่เทคนิค BIB จัดแบบวัดแต่ละชุดให้ประกอบด้วยแบบวัดย่อยที่มีอย่างน้อยหนึ่งแบบวัดย่อยตรง กับแบบวัดย่อยในชุดอื่น หลักการจัดมีลักษณะคล้ายกับ Latin square design (Kaplan, D., 1995; Messick, S., 1984)

3. วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมิน
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมินมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับการวัดและการประเมิน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพบริบทในการวัดและการประเมิน และจากความต้องการ ความคาดหวังของผู้ต้องการใช้ผลการวัดและการประเมิน วิธีวิทยาใหม่ๆที่น่าสนใจซึ่งจะนำเสนอต่อไปนี้แยกกล่าวเป็นสองด้านคือ ด้านการวัด และการประเมิน ในแต่ละด้านจะให้ความสำคัญเฉพาะวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ของการวัด และการประเมิน ในส่วนที่เป็นวิธีการวิเคราะห์จะนำเสนอในหัวข้อวิธีวิทยาด้านการวิเคราะห์ใน หัวข้อที่ 4 ต่อไป

3.1 วิทยาการด้านการวัด

องค์กร American Council on Education (ACE) ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือ ชื่อ Educational Measurement เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และวิธีวิทยาด้านการวัด โดยเฉพาะการวัดทางการศึกษา ฉบับแรกพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1951 ฉบับที่สอง พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1971 และได้ร่วมมือกับ National Council on Measurement in Education ในการพิมพ์ฉบับที่สามเมื่อ ค.ศ. 1989 Linn, R.L. (1989) ได้เปรียบเทียบหนังสือฉบับที่สองและฉบับที่สามให้เห็นว่า นับจาก ค.ศ. 1971 อันเป็นปีที่พิมพ์หนังสือฉบับที่สองนั้น วิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาไปมาก วิธีวิทยาการขั้นสูงที่น่าสนใจมีดังนี้

3.1.1 ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (Item-Response Theory = IRT)

แม้ว่า Lawley จะได้เสนอโมเดลทฤษฎีการตอบสนองรายข้อไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 แล้วก็ตาม แต่ในระยะนั้นไม่มีการนำโมเดลไปใช้ในทางปฏิบัติ มีเพียงการเสนอแนวคิดและหลักการ คริสต์ศตวรรษที่ 1970 นับว่าเป็นช่วงที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ และทำให้วิธีวิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องการปรับเทียบข้อสอบ (test equating) การทำหน้าที่ต่างกัน (differential item functioning) หรือความลำเอียงของข้อสอบ (test bias) การบริหารการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (computerized test administration) การสร้างมาตรวัด และการหาปกติวิสัย (scaling and norming) เรื่องต่างๆที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่วิธีวิทยาที่ใช้ในเรื่องเหล่านี้ได้รับการพัฒนาใหม่ ให้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเรื่อยๆ (Linn, R. L., 1989)

Hambleton, R.K. (1989) สรุปลักษณะของโมเดลการตอบสนองรายข้อที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมาว่า โมเดลการตอบสนองรายข้อนอกจากจะมีโมเดลโลจิสติกแบบเอกมิติหนึ่ง สอง สาม และสี่พารามิเตอร์ และโมเดลโอไจว์ปกติซึ่งใช้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความถนัดที่เป็นข้อมูลทวิภาคแล้ว ยังมีโมเดลอีกหลายแบบที่นักวัดผลการศึกษาได้พัฒนาจากโมเดลการตอบสนองรายข้อ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปจากบทความของ R.K. Hambleton และบทความวิชาการใหม่ๆ ไว้ดังนี้

ก. Nominal Response Model = NRM ของ Bock เป็นโมเดลใช้กับข้อมูลแบบพหุวิภาค มีจุดมุ่งหมายเพื่อประมาณค่าความสามารถของผู้สอบให้มีความถูกต้องสูงสุดโดย ใช้สารสนเทศจากโค้งลักษณะการสอบแต่ละตัวเลือก ภายใต้เงื่อนไขว่าผลรวมความน่าจะเป็นในการตอบทุกตัวเลือกของผู้สอบที่ระดับ ความสามารถที่กำหนดให้มีค่าเท่ากับหนึ่ง ต่อมา Thissen ได้นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาต่อโดยกำหนดน้ำหนักสำหรับตัวเลือกแต่ละตัวทำให้การ ประมาณค่าความสามารถผู้สอบที่ระดับความสามารถต่ำมีความถูกต้องมากขึ้น

ข. Graded- Response Model = GRM หรือ Difference Model ของ Samejima โมเดลนี้ใช้กับมาตรวัดแบบประมาณค่า เช่น มาตรวัดแบบ Likert หรือมาตรวัดแบบนัยจำแนกและมีการใช้สารสนเทศจากโค้งลักษณะการตอบแต่ละตัว เลือกด้วย การที่โมเดลได้ชื่อว่า difference models เพราะการคำนวณความน่าจะเป็นของผู้สอบที่ตอบตัวเลือกที่ K ได้ถูกต้องนั้นต้องคำนวณจากผลต่างระหว่างความน่าจะเป็นจากตัวเลือกที่ I และตัวเลือกที่ k-1 นั่นเอง การพัฒนาล่าสุดของ GRM คือ multiplicative Poisson Model = MPM ซึ่งพัฒนาโดย Andrich, D. (1995) การพัฒนานี้ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากกรณีที่ไม่สามารถใช้ unidimensional Rasch Model = URM ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเมื่อมีการรวมตัวเลือกการตอบสนองของแบบสอบ

ค. Binomial Trials Model และ Rating Scale Model = RSM เป็นโมเดลที่พัฒนาโดย Andrich เพื่อใช้ในการวัดตัวแปรพหุวิภาค (polychotomous variable) โมเดลที่กล่าวมาข้างต้นยังมีการพัฒนา และการนำไปประยุกต์ใช้เรือยมา Fischer, G.H, และ Parzer, P. (1991) ได้ประยุกต์ RSM ใช้ในการสัดคะแนนความเปลี่ยนแปลง (change) ซึ่งทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิมใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาเนื่องจากอิทธิพลของเพดานและพื้น (ceiling and floor effects) และลักษณะการแจกแจงเบ้ โมเดลที่พัฒนาใหม่เรียกว่า linear rating scale model (LRSM) เพราะพารามิเตอร์ข้อคำถามจะอยู่ในรูปของฟังก์ชั่นเชิงเส้นของพารามิเตอร์ อื่นๆ วิธีการสร้างมาตร (scaling methods) ที่สามารถใช้กับมาตรวัดแบบ Likert เช่นเดียวกับ RSM ได้แก่ dual scaling ซึ่งพัฒนาโดย Nishisato และ Cheung, K.C. กับ Mooi, L.C. ได้เปรียบเทียบให้เห็นว่าทั้งสองวิธีได้ผลคล้ายคลึงกัน แต่ dual scaling ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นได้มากกว่า RSM

ง. Partial Credit Model = PCM พัฒนาโดย Masters ให้สามารถใช้กับแบบสอบที่มีหลายตัวเลือก และการให้คะแนนตัวเลือกแต่ละตัวแตกต่างกัน โมเดลนี้ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นโดย Wright และ Masters (1984) นักวัดผลการศึกษาทั้งสองยังได้ประมวลโมเดลโลจิสติกหนึ่งพารามิเตอร์ หรือ Rasch model แบบต่างๆที่มีการพัฒนาขึ้นรวมเรียกว่า โมเดลการวัดขั้นพื้นฐาน (fundamental measurement model) ซึ่งมีคุณสมบัติสำคัญคือ การแยกพารามิเตอร์ผู้สอบ และพารามิเตอร์ข้อคำถามและมีการใช้สถิติที่เพียงพอในการประมาณค่าพารา มิเตอร์ของโมเดล การพัฒนาล่าสุด คือ Muraki, E. (1993) ได้พัฒนาโมเดลรวมค่าพารามิเตอร์ความชัน (slope) ของโค้งลักษณะข้อคำถามแต่ละข้อไว้ในโมเดล เรียกว่า generalized partial credit model = GPCM

จ. Linear Logistic Latent Trait Model พัฒนาโดย Fischer และ Formann กับ Multicomponent Latent Trait Model พัฒนาโดย Embreston จัดว่าเป็นโมเดลที่รวมองค์ประกอบด้านปัญญา (cognitive component) เข้าเป็นพารามิเตอร์ในโมเดลด้วย นอกจากนี้มี linear logistic model ซึ่ง Fischer พัฒนาโดยกำหนดให้มีพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบในรูปของผลรวมเชิงเส้นของ องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อค่าความยากอยู่ในโมเดลด้วย ผลงานของ Embreston และ Fischer นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผสมผสานแนวความคิดทาง cognitive psychology กับ psychometric เข้าด้วยกัน โมเดลของ Fischer ใช้ในการวัดตัวแปรเอกมิติแต่โมเดลของ Embreston สามารถใช้กับปัญญาทักษะ (cognitive skill) หลายองค์ประกอบได้โดยที่แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญต่อการที่ผู้สอบจะตอบข้อ คำถามแต่ละข้อได้ถูกต้อง

ฉ. Unfolding Models พัฒนาโดย Andrich และ Hyperbolic Cosine Unfolding Model พัฒนาโดย Andrich, D. และ Luo, G/ (1993) เป็นโมเดลที่มีการพัฒนาควบคู่กับ probabilistic models for the cumulative models in pair comparison design ที่ Thurstone ได้วางแนวคิดไว้ โมเดลในกลุ่มเหล่านี้ได้แก่ Squared Simple Logistic Model = SSLM พัฒนาโดย Andrich ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์เท่าเทียมกับ Simple Hyperbolic Cosine Model = SHCM ของ Andrich และ Lou นอกจากนี้ มี two-parameter hyperbolic cosine model = 2PHCM

ช. โมเดลที่พัฒนาจากทฤษฎีการตอบสนองรายข้อเพื่อใช้ในสภาพการณ์ที่ต่างจากการสอบปกติ ได้แก่ โมเดลที่ Bock, R.D., Mislevy, R. Woodson, C. (1982) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสอบที่มีหน่วยการวิเคราะห์เป็นกลุ่ม เช่น ชั้นเรียน โรงเรียน จังหวัด เขตการศึกษา random coeficients multinomial logit model = RCMLM พัฒนาจาก Rasch model โดย Wilson, M. (1995) เพื่อใช้ในการวัดแบบสอบมีข้อสอบรวมเป็นชุดข้อสอบหลายชุด (item bundles) และแต่ละชุดเกี่ยวข้องกบคุณลักษณะของผู้สอบ และเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างข้อสอบร่วมกัน ตัวคำถามร่วมกัน หรือเนื้อหาข้อสอบร่วมกัน

การใช้โมเดลตอบสนองรายข้อเป้นประโยชน์ต่อการวัดผลการศึกษามาก เมื่อข้อมูลสอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นของโมเดลที่ใช้ นักวัดผลจะสามารถประมาณค่าความสามารถของผู้สอบได้โดยที่พารามิเตอร์นี้เป็น อิสระไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ ได้ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบที่ไม่ขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างผู้สอบ ได้ค่าสถิติที่บ่งชี้ถึงความถูกต้องในการประมาณค่าความสามารถผู้สอบที่ขึ้น อยู่กับค่าความสามารถผู้สอบ จำนวนและคุณสมบัติทางสถิติของข้อคำถาม และได้มาตรร่วม (common scale) ซึ่งใช้บรรยายคุณสมบัติผู้สอบและข้อสอบได้

การวิจัยด้านการวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการตอบสนองรายข้อนอกจากจะเป็น การพัฒนาโมเดลและตรวจสอบโมเดลแล้ว ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างมาตรวัดคะแนนความสามารถ (ability scores) ของผู้สอบ มีการพัฒนาคะแนนความสามารถในรูปฟังก์ชันของพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ รูปต่างๆ โดยมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนแบบต่างๆและมีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธี ประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถแบบต่างๆด้วย

3.1.2 วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Educational Measurement)

Bunderson, V.V., Inouye, D.K. และ Olsen, J.B. (1989) ได้สรุปว่าวิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์เป็นผลจากบูรณาการมโนทัศน์ด้านการ วัดกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้กระบวนการวัดทำได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด รวมทั้งมีการสื่อสารโต้ตอบมีระบบการเก็บหลักฐานการสอบและการรายงานคะแนนสอบ และการบริหารการสอบที่มีประสิทธิภาพ วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์แยกตามขั้นตอนของการพัฒนาได้เป็น 4 ประเภท ประเภทแรก คือ การสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computerized testing) การบริหารการสอบทุกขั้นตอน การตรวจให้คะแนน การรายงานผล การสร้างธนาคารข้อสอบและการจัดทำข้อสอบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานทุกขั้น ตอน แต่การวิเคราะห์ข้อสอบยังใช้ทฤษฎีแบบดั้งเดิม ประเภทที่สอง คือ การสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ (computer-adaptive testing) เป็นการสอบที่มีการวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ มีการจัดข้อสอบให้เหมาะสมกับผู้สอบแต่ละคน และการบริหารการสอบทุกขั้นตอนทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ ประเภทที่สาม คือ การวัดต่อเนื่อง (continuous measurement) เพื่อวัดความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงและสร้างโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคน คอมพิวเตอร์มีหน้าที่สร้างคะแนนพหุมิติ และแปลความหมายโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคนเพิ่มขึ้น จากประเภทที่สอง ประเภทที่สี่ คือการวัดอย่างเชี่ยวชาญ (intelligent measurement) การวัดประเภทนี้ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์สูงสุด กล่าวคือ องค์ความรู้ที่มีอยู่ในสมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดถูกถ่ายทอดลงใน คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารการสอบทุกขั้นตอนเสมือนหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา

4. วิธีวิทยาด้านสถิติ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการพัฒนาโมเดลทางสถิติและวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐมิติ และจิตมิติทำให้วิธีวิทยาด้านสถิติพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 วิธีวิทยาขั้นสูงด้านสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่มีใช้ในปัจจุบัน ล้วนแต่พัฒนามาจากเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีอยู่เดิม แต่มีวิธีการที่ดีขึ้น ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นได้มากขึ้น ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องมากขึ้น และเป็นวิธีการทีต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น วิธีวิทยาที่น่าสนใจมีดังนี้

4.1 ลิสเรล (Linear Structural Relationship) = LISREL

ลิสเรล มีความหมายเป็น 3 นัย นงลักษณ์ วิรัชชัย (2537) สรุปว่านัยแรกหมายถึงโมเดลแสดงความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปร ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวแปรสังเกตได้และตัวแปรแฝง โมเดลลิสเรลประกอบด้วยโมเดลการวัด (measurement model) ของชุดตัวแปรที่เป็นสาเหตุ และชุดตัวแปรที่เป็นผล และโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation model) โมเดลลิสเรลเป็นชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากชื่อโมเดลลิสเรลแล้วยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อของโมเดลโครงสร้างความ แปรปรวน (co-variance structure model) หรือโมเดลโครงสร้างแสดงสาเหตุ (causal structural model)

วิทยาการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Methodology)

วิทยาการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Methodology)

นาย สุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา รุ่นที่ 7
ศูนย์มหาสารคาม


ความอยากรู้ของมนุษย์ก่อให้เกิดการแสวงหาความจริง โดยการค้นคว้าหาความรู้ (Search) และพิสูจน์ว่าความรู้นั้น เป็นจริงด้วยการค้นคว้าทดลองอีกครั้ง (Research) จึงเกิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กลับสู่จุดเดิมเสมือนวงล้อ (Cyclical) หรือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่า “การวิจัย”
ความหมายการวิจัย
มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายในลักษณะใกล้เคียงกันไว้หลายแนวคิด เช่น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546:1072) ให้ความหมายการวิจัยว่า “การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา”
ดุจเดือน พันธุมนาวัน (2549:6) ได้สรุปความหมายการวิจัยว่า การวิจัย หมายถึง การแสวงหาความรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบในการตั้งคำถามการวิจัย มีการแบ่งกิจกรรมวิจัยย่อยๆ เพื่อตอบคำถามทางการวิจัย มีกาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทดสอบสมมติฐานตลอดจน การตีความข้อมูลที่วิเคราะห์เหล่านั้น เพื่อให้ได้ข้อสรุป ที่น่าเชื่อถือว่า อะไรเกี่ยวข้องกับอะไร และเป็นเพราะเหตุใด
บุญชม ศรีสะอาด (2545:11) ได้สรุปนิยามการวิจัยไว้ดังนี้ การวิจัย คือกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะ เป็นกระบวนการที่มีระบบ แบบแผน มีจุดหมายที่แน่นอนและชัดเจน ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง มีหลักเหตุผล บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง
จึงสรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ด้วยการค้นคว้า โดยใช้กระบวนการที่มีระบบ แบบแผน ตามหลักวิชาการ เพื่อทดสอบสมมติฐาน มีการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนบันทึกข้อมูลและข้อสรุปเป็นที่น่าเชื่อถือ
วิธีวิทยาการวิจัย (Research Methodology) หมายถึง ขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาการวิจัย การศึกษาและรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์ และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งรวมอยู่ในวิธีวิทยาทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการวัดและประเมินผล
วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Methodology) หมายถึง วิธีวิทยาเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่วิธีวิทยาขั้นพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมแบบแผนการวิจัยที่ซับซ้อน มีเทคนิควิธีการที่จะช่วยที่ได้ผลการวิจัยที่เที่ยงตรงมากขึ้น มีการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการประเมินใหม่ๆ มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ
1.มีลักษณะของวิธีวิทยาที่การคำนวณอย่างเข้มข้นและต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงาน
2.ลักษณะเป็นบูรณาการจากวิธีวิทยาการวิจัยหลายสาขา
3.ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีการผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้น (Relax assumptions) ของวิธีวิทยาการวิเคราะห์แบบเดิม
4.ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่ใช้งานได้กว้างขวางมีความทั่วไปมากขึ้น
5.ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง และมีความไว มีความแกร่งมากขึ้น
หมายเหตุ
วิทยาการวิจัยขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาสาระครอบคลุมเฉพาะด้าน การวิจัยที่เป็นแบบ การวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive research) การวิจัยทดลอง การวิจัยกึ่งทดลอง (experimental /quasi- experimental research) มีแบบแผน (design) การวิจัยง่ายๆไม่ซับซ้อน ด้านการวัดใช้ทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิม (classical test theory) ด้านการประเมินผล เฉพาะหลักการและโมเดลการประเมินเบื้องต้น และในด้านสถิติมีเฉพาะสถิติบรรยาย สถิติด้านการสุ่มตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ เฉพาะส่วนที่เป็นสถิตินั้นมา.ตัวและสถิติอนุมานเบื้องต้นในการเปรียบเทียบ และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2-3 ตัวแปร
วิธีวิทยาการขั้นสูง ที่เป็นวิธีวิทยาการใหม่ๆ ครอบคลุมวิธีวิทยา 4 ด้าน คือ
1.ด้านกำหนดแบบแผนการวิจัย
2.ด้านการสุ่มตัวอย่าง
3.ด้านการวัดและการประเมิน
4.ด้านสถิติ

วิธีวิทยาการด้านกำหนดแบบแผนการวิจัย
เป็นผลจากความพยายามของนักวิจัยที่จะปรับปรุงวิธีที่มีอยู่ให้มีมาตรฐาน และคุณภาพดีมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของนักวิจัย ทำให้เกิดการพัฒนาการวิจัยที่มีแบบแผนการวิจัยเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งมีรูปแบบที่น่าสนใจใหม่ ดังนี้
1.การวิจัยนโยบาย (Policy Research) และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา เป็นวิธีวิทยาการที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความต้องการของผู้บริหาร ที่จะนำผลวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจ และความต้องการผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการของ บุคลากร การวิจัยนโยบายประเภทสหวิทยาการ มีความหมายรวมถึงการวิเคราะห์นโยบาย ซึ่งเป็นการศึกษาประเมินผลและทำนายผลที่เกิดจากการกำหนดนโยบายแบบต่างๆ เปรียบเทียบกัน ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้
ขั้นแรก เริ่มจากการกำหนดปัญหาการวิจัยจากสภาพที่เป็นปัญหา ความเดือดร้อนในสังคม,ศึกษารายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดสมมติฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สาเหตุที่ได้จากนโยบายและตัวแปรที่ได้จากปัญหาสังคมและกำหนดสมมติฐาน ที่แสดงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้นโยบายที่เป็นทางเลือกใหม่ จากนั้นเป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย ตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้กันมากได้แก่ การวิเคราะห์ประโยชน์-ต้น ทุน การวิเคราะห์ระบบขั้นตอนสุดท้าย เป็นการสรุป เสนอทางเลือกในการดำเนินงานต่อผู้บริหารหรือผู้บริโภคงานวิจัยนโยบาย ทั้งนี้ ผู้วิจัยนโยบายต้องมีความรอบรู้ และมีความชำนาญในการใช้เทคนิควิธีทางเศรษฐศาสตร์ การเงินสาธารณะ พฤติกรรมองค์กร การสื่อสารและการนิเทศ การวิเคราะห์ระบบและสถิติ
2.การวิจัยเชิงจำลอง (simulation Research)
เป็นการวิจัยที่มีการจำลอง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1.เป็นการวิจัยที่มีการจำลองเลียนแบบสถานการณ์จริง
2.การวิจัยจำลองในแนวรัฐศาสตร์ เพื่อตรวจสอบทฤษฎีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและระบบต่างๆ
3.เป็นการวิจัยเชิงจำลองที่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาระบบงาน
3.การวิจัยอนาคต (Futures Research)
เป็นวิธีการวิจัยอนาคตที่มีจุดหมายเพื่อบรรยายทางเลือกอนาคตที่เป็นไปได้แบบ ต่างๆ เพื่อประเมินสถานภาพในปัจจุบันและชี้ผลกระทบที่เป็นไปได้ ในแต่ละทางเลือกอนาคตเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยอนาคตแตกต่างไปจากเดิมเนื่องจากมีการประยุกต์เทคนิควิธีการวิจัยแบบ อื่นๆมาใช้ร่วมกันกับการวิจัยอนาคต ดังจะเห็นได้ดังนี้
3.1การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) เป็นการวิจัยที่ไม่ต้องลงทุนมาก เหมาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เป็นการใช้ข้อเท็จจริงในอดีตมาแก้ปัญหาอนาคต
3.2การวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบได้ (Cross- Impact Analysis) การวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบได้.
3.3การวิจัยโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพอนาคต (Scenarios) เป็น ภาพรวมของสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในอนาคต หรือแนวโน้มของปรากฏการณ์ตามเงื่อนไขทางเลือกอนาคตแบบต่างๆ ขั้นตอนการสร้างภาพอนาคตประกอบด้วย การพยากรณ์การเกิดเหตุการณ์แต่ละส่วน การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ และการเขียนภาพอนาคต ภาพอนาคตที่ได้อาจแสดงในรูปของการบรรยายภาพ หรือแผนภาพอนาคตก็ได้
3.4การวิจัยโดยใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ (Future Scanning Process)คือ การจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยใช้เรดาห์ชนิดหนึ่งกวาดดูโลกอย่างมีระบบระเบียบให้ทราบถึงปฏิสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และเตือนว่าจะเกิดอะไรใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการกับแนวโน้มคัดสรรที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และดำเนินการให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ ขั้นตอนการใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ ได้แก่ การกำหนด เป้าหมายการกวาดตรวจหรือปริทัศน์อย่างเป็นทางการจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ การหาความตรงของข้อมูล การประชุมทีมนักวิจัยเพื่อร่างแนวโน้มที่บ่งบอกความเปลี่ยนแปลง การคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแนวโน้มตามที่รวบรวมได้ การจัดประเภทของสาระให้เห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงแต่ละด้าน และการพัฒนาว่าจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรรวมทั้งการทำนาย กับการกำหนดกิจกรรมที่น่าจะเกิดจากแนวโน้มนั้น
4.การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
การวิจัยเชิงคุณภาพมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาปัญหาในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง เป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลการวิจัยนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า grounded theory วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้รับการพัฒนา แผนแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในปัจจุบันแตกต่างกันเป็นสามแบบตามแนวปรัชญา หน้าที่นิยม (functionalism) โครงสร้างนิยม (structuralism) และวิพากษ์นิยม (criticalism) นอก จากนี้การวิจัยเชิงคุณภาพยังมุ่งผสมผสานเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณมาก ขึ้นเพื่อแก้จุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิควิธีการวิจัยที่ได้รับการพัฒนาที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้
4.1การศึกษาหลายกรณี และการศึกษาหลายพื้นที่ (Multicase and Multisite Studies) เนื่องจากการศึกษากรณีเดียว หรือพื้นที่เดียว มีข้อจำกัดในด้านความตรงภายนอก (external validity) นัก วิจัยคุณภาพจึงได้พัฒนาวิธีวิทยาให้ดีขึ้นโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างหลาย กรณี หรือหลายแหล่งเพื่อให้มีความเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร และเพื่อควบคุมสิ่งที่อาจปนเปื้อนปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา หลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นหลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดย ใช้ลักษณะที่ต้องการควบคุมเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น การวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายกรณี ให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบเพื่อการสรุปอ้างอิง ส่วนการวิจัยที่เป็นการศึกษาหลายพื้นที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทฤษฎีที่ เป็นจริงในทุกพื้นที่ และต้องใช้กระบวนการอุปมานเชิงวิเคราะห์ (analytic induction) ในการวิจัย
4.2เทคนิคการวิจัยโดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Research) การวิจัยนี้พัฒนามาจากเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม และแบบมีจุดเน้น (group and focus interview) ประกอบการเลือกกลุ่มตัวอย่างทีมีลักษณะเฉพาะร่วมกัน วิธีการวิจัยจัดว่าเป็นการวิจัยที่ใช้พลวัตรของกลุ่ม 8-12 กลุ่ม กระตุ้นให้สมาชิกของกลุ่มแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตน การจัดกลุ่มสนทนาใช้หลักการให้สมาชิกภายในกลุ่มแต่ละกลุ่มมีลักษณะร่วมกัน และกลุ่มสนทนาทุกกลุ่มต้องมีลักษณะต่างกันตามเงื่อนไขที่นักวิจัยต้องการ เปรียบเทียบสาระที่ได้จากการสนทนา กิจกรรมการดำเนินการจัดกลุ่มสนทนามีหลักการและวิธีการเฉพาะที่ต้องมีการฝึก ฝนก่อนการลงมือทำการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีการถอดเทปบันทึกการสนทนาและวิเคราะห์เนื้อหา
4.3การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาชุมชนโดย เน้นการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ปัญหา และการติดตามผลการแก้ปัญหาของชุมชน โดยที่สมาชิกของชุมชนนั้นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และการวิจัยด้วย
4.4.การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้กระบวนการหลายแบบมาสรุปอ้าง อิงผลที่ได้จากข้อความ หลักการสำคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาคือการจำแนกคำ กลุ่มคำประโยคจากข้อความเข้ากลุ่ม จากนั้นจึงจัดกลุ่มนำเสนอข้อค้นพบพร้อมทั้งแปลความหมาย ปัจจุบันนี้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในประเทศไทยทำได้สะดวกมากขึ้นโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
4.5 การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) การวิเคราะห์อภิมานเป็นวิธีวิทยาการวิจัยที่พัฒนาใหม่ล่าสุดในการสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงปริมาณ หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์อภิมานคือการประมาณค่าผลงานวิจัยให้อยู่ในรูป ดัชนีมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติตรวจสอบว่าความแปรปรวนในดัชนีมาตรฐานเหล่านั้นมีค่า เหมาะสมที่จะสรุปได้หรือไม่ หากยังไม่สามารถสรุปได้ต้องแยกศึกษาตามตัวแปรปรับ (moderator variables) หรือวิเคราะห์ว่าลักษณะงานวิจัยสามารถอธิบายความแตกต่างในดัชนีมาตรฐานได้ อย่างไร
4.6 การศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียว (Single Subject Study) การวิจัยที่เป็นการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวมีลักษณะแตกต่างจากการศึกษาราย กรณีเพราะการศึกษารายกรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียวเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง หรือมีการวัดซ้ำ (repeated measures) เป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ การศึกษาความเจริญเติบโต ความเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการของหน่วยตัวอย่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2. วิธีวิทยาด้านการสุ่มตัวอย่าง
ด้านการสุ่มตัวอย่างมีการพัฒนาเทคนิควิธีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับด้าน อื่นๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากวิธีการที่ใช้อยู่มีความสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การประมาณค่าของขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย สูตรที่ได้รับการยอมรับว่า มีความถูกต้อง และใช้กันมากคือสูตรของ Cohen, J. (1988) ซึ่งมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สารสนเทศจากค่าขนาดอิทธิพล ค่าความคลาดเคลื่อนประเภทที่ I และประเภทที่ II (อัลฟา และเบต้า) และสถิติที่ต้องการใช้ในการทดสอบสมมติฐาน สำหรับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้น มีการพัฒนาเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเมทริกซ์ (matrix sampling) ให้ดีขึ้น เรียกว่า เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบ balanced incomplete block (BIB)
3. วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมิน
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมินมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนามโนทัศน์เกี่ยวกับการวัดและการประเมิน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพบริบทในการวัดและการประเมิน และจากความต้องการ ความคาดหวังของผู้ต้องการใช้ผลการวัดและการประเมิน วิธีวิทยาใหม่ๆที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
3.1 วิทยาการด้านการวัด องค์กร American Council on Education (ACE) ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือ ชื่อ Educational Measurement เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และวิธีวิทยาด้านการวัด โดยเฉพาะการวัดทางการศึกษา ฉบับแรกพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1951 ฉบับที่สอง พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1971 และได้ร่วมมือกับ National Council on Measurement in Education ในการพิมพ์ฉบับที่สามเมื่อ ค.ศ. 1989 Linn, R.L. (1989) ได้เปรียบเทียบหนังสือฉบับที่สองและฉบับที่สามให้เห็นว่า นับจาก ค.ศ. 1971 อันเป็นปีที่พิมพ์หนังสือฉบับที่สองนั้น วิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาไปมาก วิธีวิทยาการขั้นสูงที่น่าสนใจมีดังนี้
3.1.1 ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (Item-Response Theory = IRT) แม้ว่า Lawley จะได้เสนอโมเดลทฤษฎีการตอบสนองรายข้อไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 แล้วก็ตาม แต่ในระยะนั้นไม่มีการนำโมเดลไปใช้ในทางปฏิบัติ มีเพียงการเสนอแนวคิดและหลักการ คริสต์ศตวรรษที่ 1970 นับ ว่าเป็นช่วงที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ และทำให้วิธีวิทยาการด้านการวัดมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องการปรับเทียบข้อสอบ (test equating) การทำหน้าที่ต่างกัน (differential item functioning) หรือความลำเอียงของข้อสอบ (test bias) การบริหารการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (computerized test administration) การสร้างมาตรวัด และการหาปกติวิสัย (scaling and norming) Hambleton, R.K. (1989) สรุป ลักษณะของโมเดลการตอบสนองรายข้อที่ได้รับการพัฒนาใหม่ๆในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมาว่า โมเดลการตอบสนองรายข้อนอกจากจะมีโมเดลโลจิสติกแบบเอกมิติหนึ่ง สอง สาม และสี่พารามิเตอร์ และโมเดลโอไจว์ปกติซึ่งใช้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความถนัดที่เป็นข้อมูลทวิภาคแล้ว ยังมีโมเดลอีกหลายแบบที่นักวัดผลการศึกษาได้พัฒนาจากโมเดลการตอบสนองรายข้อ การ ใช้โมเดลตอบสนองรายข้อเป็นประโยชน์ต่อการวัดผลการศึกษามาก เมื่อข้อมูลสอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นของโมเดลที่ใช้ นักวัดผลจะสามารถประมาณค่าความสามารถของผู้สอบได้โดยที่พารามิเตอร์นี้เป็น อิสระไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ ได้ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบที่ไม่ขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างผู้สอบ ได้ค่าสถิติที่บ่งชี้ถึงความถูกต้องในการประมาณค่าความสามารถผู้สอบที่ขึ้น อยู่กับค่าความสามารถผู้สอบ จำนวนและคุณสมบัติทางสถิติของข้อคำถามและได้มาตรร่วม (common scale) ซึ่งใช้บรรยายคุณสมบัติผู้สอบและข้อสอบได้
การวิจัยด้านการวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการตอบสนองรายข้อนอกจากจะเป็น การพัฒนาโมเดลและตรวจสอบโมเดลแล้ว ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างมาตรวัดคะแนนความสามารถ (Ability scores) ของ ผู้สอบ มีการพัฒนาคะแนนความสามารถในรูปฟังก์ชันของพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ รูปต่างๆ โดยมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนแบบต่างๆและมีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธี ประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถแบบต่างๆด้วย
3.1.2 วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Educational Measurement) Bunderson, V.V., Inouye, D.K. และ Olsen, J.B. (1989) ได้ สรุปว่าวิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์เป็นผลจากบูรณาการมโนทัศน์ด้านการ วัดกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้กระบวนการวัดทำได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด รวมทั้งมีการสื่อสารโต้ตอบมีระบบการเก็บหลักฐานการสอบและการรายงานคะแนนสอบ และการบริหารการสอบที่มีประสิทธิภาพ วิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์แยกตามขั้นตอนของการพัฒนาได้เป็น 4 ประเภท ประเภทแรก คือ การสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computerized testing) การบริหารการสอบทุกขั้นตอน การตรวจให้คะแนน การรายงานผล การสร้างธนาคารข้อสอบและการจัดทำข้อสอบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานทุกขั้น ตอน แต่การวิเคราะห์ข้อสอบยังใช้ทฤษฎีแบบดั้งเดิม ประเภทที่สอง คือ การสอบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ (computer-adaptive testing) เป็น การสอบที่มีการวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ มีการจัดข้อสอบให้เหมาะสมกับผู้สอบแต่ละคน และการบริหารการสอบทุกขั้นตอนทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ ประเภทที่สาม คือ การวัดต่อเนื่อง (continuous measurement) เพื่อวัด ความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงและสร้างโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคน คอมพิวเตอร์มีหน้าที่สร้างคะแนนพหุมิติ และแปลความหมายโปรไฟล์ของผู้สอบแต่ละคนเพิ่มขึ้น จากประเภทที่สอง ประเภทที่สี่ คือการวัดอย่างเชี่ยวชาญ (intelligent measurement) การ วัดประเภทนี้ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์สูงสุด กล่าวคือ องค์ความรู้ที่มีอยู่ในสมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดถูกถ่ายทอดลงใน คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารการสอบทุกขั้นตอนเสมือนหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา

4. วิธีวิทยาด้านสถิติ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการพัฒนาโมเดลทางสถิติและวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐมิติ และจิตมิติทำให้วิธีวิทยาด้านสถิติพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 วิธี วิทยาขั้นสูงด้านสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่มีใช้ในปัจจุบัน ล้วนแต่พัฒนามาจากเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีอยู่เดิม แต่มีวิธีการที่ดีขึ้น ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นได้มากขึ้น ให้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องมากขึ้น และเป็นวิธีการทีต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น วิธีวิทยาที่น่าสนใจมีดังนี้
4.1 ลิสเรล (Linear Structural Relationship) = LISRELลิสเรล มีความหมายเป็น 3 นัย นงลักษณ์ วิรัชชัย (2537) สรุป ว่านัยแรกหมายถึงโมเดลแสดงความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปร ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวแปรสังเกตได้และตัวแปรแฝง โมเดลลิสเรลประกอบด้วยโมเดลการวัด (measurement model) ของชุดตัวแปรที่เป็นสาเหตุ และชุดตัวแปรที่เป็นผลและโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation model) โมเดลลิสเรลเป็นชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากชื่อโมเดลลิสเรลแล้วยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อของโมเดลโครงสร้างความ แปรปรวน (co-variance structure model) หรือโมเดลโครงสร้างแสดงสาเหตุ (causal structural model)
ความหมายนัยที่สองหมายถึงภาษาลิสเรลที่ใช้ในการเขียนคำสั่งสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และความหมายนัยที่สาม หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์โมเดลลิสเรลซึ่งเป็นบูรณาการของการวิเคราะห์องค์ประกอบ(Factor analysis) การวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) และการประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter estimation) ตามหลักวิชาเศรษฐมิติ (econometrics)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิสเรล พัฒนาโดย Jorekog, K. and Sorbom, D. ซึ่ง โปรแกรมมีลักษณะทั่วๆไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้กว้างขวางครอบคลุมวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีการพัฒนาถึงเวอร์ชั่นที่8ซึ่งพัฒนาให้ใช้กับโปรแกรมวินโดว์ได้และการเขียนคำสั่งง่ายและสะดวกขึ้น ภาษาที่ใช้ อาจใช้ได้ทั้งภาษาลิสเรล และภาษาซิมพลิส (SIMPLIS) ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป
4.2 โมเดลระดับลดหลั่นเชิงเส้น (Hierarchical Linear Model HLM) ข้อมูลสำหรับการวิจัยทางการศึกษาแบบมหาภาคจะมีลักษณะเป็นข้อมูลที่สอดแทรก เป็นระดับลดหลั่น หรือข้อมูลหลายระดับ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลายระดับแบ่งออกได้ ดังนี้
1.เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาหรือการเจริญเติบโต
2.เพื่อประมาณค่าส่วนประกอบความแปรปรวนของตัวแปรแต่ละตัวว่าความแปรปรวนในแต่ละระดับมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
3.เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต้นที่มีผลต่อตัวแปรตามในแต่ละระดับ
4.เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปรตามในระดับหน่วยการวัดที่เล็กที่สุด
4.3 วิธีวิทยาด้านสถิติสำหรับการวิจัยนโยบายและวางแผนการศึกษาความต้องการงานวิจัยลักษณะนี้นับวันยิ่งมีมากขึ้นและผู้บริโภคงานวิจัยต้องการ ให้มีการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิเคราะห์ทางสถิติที่ดีและลึกซึ้งมากยิ่ง ขึ้นเป็นผลให้มีการพัฒนาวิธีวิทยาด้านสถิติสำหรับการวิจัย และเกิดวิธีวิทยาการขั้นสูงขึ้นหลายแบบทั้งที่เป็นแบบวิธีวิทยาใหม่ และวิธีวิทยาที่เป็นผลจากบูรณาการวิธีวิทยาของศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่นPERT (Program Evaluation and Review Technique) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในการวางแผนและบริหารโครงการที่มีกิจกรรมซับซ้อนเชื่อม โยงกันให้เสร็จทันตามกำหนดเวลาโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและ CPM (Critical Path Model) เป็นเทคนิคที่คล้ายคลึงกับPERT ต่างกันที่ CPM เน้นวิเคราะห์กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องการให้โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Analyzing Qualitative Data) ข้อมูลสำหรับการวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ใช้วิธีการ วิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงส่วนใหญ่เป็นของมูลเชิงปริมาณ ที่มีระดับการวัดตั้งแต่ระดับอันตรภาคขึ้นไป แต่ในความเป็นจริงข้อมูลดังกล่าวมีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ นักสถิติได้พยายามพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพให้ดีขึ้นทำให้เกิด วิธีวิทยาการด้านสถิติใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ วิธีดังกล่าวมีดังนี้
4.4.1 โมเดลล็อก-ลิเนียร์ (Log-linear Model) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีทางการสถิติเพื่อพัฒนาโมเดลที่สอด คล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อทดสอบสมมติฐานและเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ในโมเดล ลักษณะของโมเดล จึงครอบคลุมความน่าจะเป็นเชิงเส้น และเชิงเส้นโค้ง และจุดเด่นของการวิเคราะห์โมเดล ล็อกลิเนียร์สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพมี สองประการคือ ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับโมเดลแบบบวก และสามารถศึกษาอิทธิพลจากปฎิสัมพันธ์ได้
4.4.2 การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกมีหลักการเหมือนการวิเคราะห์การถดถอยต่างกัน ที่มีการเปลี่ยนรูปตัวแปรตามซึ่งเป็นตัวแปรจัดประเภทโดยใช้โลจิท และต่างกันที่การแปลความหมายสัมประสิทธิ์การถดถอยซึ่งแปรความหมายในรูปของ อัตราส่วนของแต้มต่อ และในระยะหลังสามารถศึกษาอิทธิพลจากปฎิสัมพันธ์ของตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปร ตามได้ด้วย
4.5 สถิติแกร่ง (Robust Statistics)
เป็นวิธีวิทยาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของสถิติอนุมานที่ใช้กันอยู่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติที่เกี่ยวกับลักษณะการแจกแจงประเภทของ พารามิเตอร์ สภาพการสุ่ม และความเป็นอิสระ เมื่อข้อมูลไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นย่อมให้ผลการิเคราะห์คลาดเคลื่อน นักสถิติจึงได้พัฒนาสถิติที่แกร่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีลักษณะไม่ เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น


เอกสารอ้างอิง

นงลักษณ์ วิรัชชัย 2538. วิธีวิทยาการการวิจัยขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. 2549. หลักและวิธีการประมวลเอกสารเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ เอที พรินติ้ง.
บุญชม ศรีสะอาด. 2551. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7 กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก
http://onknow.blogspot.com/2006_03_01_archive.html
http://witclub.wordpress.com/
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2725

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่ : ทางรอดหรือทางเลือก

การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่ : ทางรอดหรือทางเลือก
สุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาในมาตรา 6 ที่กำหนดไวว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และมาตรา 8 ไดกำหนดหลักการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการ 3 ประการ คือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) และกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ภายใต้มีวิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยประเด็นหลักของเป้าหมายปฏิรูปการศึกษามี 3 ประเด็น คือ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการศึกษา ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบไว้ 4 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาครูยุคใหม่ การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนาการบริหารจัดการใหม่(กระทรวงศึกษาธิการ,2553)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนในสังกัด 32,879 แห่งเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียน ตั้งแต่ 120 คน ลงมา มีจำนวนมากถึง 13,882 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 43.73 ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมด และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดลดลง และความนิยมของผู้ปกครองที่ต้องการส่งบุตรหลานไปโรงเรียนในเมือง การมีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ย่อมส่งผลถึงคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพึงพอใจ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ได้ทำการประเมินคุณภาพโรงเรียนในรอบแรกระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 โรงเรียนที่ได้รับการประเมินภายนอกมีจำนวน 30,010 โรง ผลจากการประเมินพบว่า โรงเรียนที่ได้มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีมาตรฐานอยู่ในระดับดี มีจำนวน 10,856 โรง คิดเป็นร้อยละ 36.2 ที่เหลือเป็นโรงเรียนที่ได้มาตรฐานในระดับพอใช้และปรับปรุงจำนวน 19,145 โรง คิดเป็นร้อยละ 63.8 โดยในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง หรือ ICU จำนวน 596 โรง คิดเป็นร้อยละ 3.1 ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยโรงเรียนเกือบทั้งหมดมีขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในเขตท้องถิ่นห่างไกล
อาจกล่าวได้ว่า โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่มีคุณภาพและมาตรฐานต่ำกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ เนื่องจากพื้นฐานอยู่บนความขาดแคลน ทั้งงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ขาดแคลนครูทั้งปริมาณและคุณภาพ ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากชุมชน บางแห่งตั้งอยู่เขตชนบท จึงมีความเสียเปรียบด้านปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความไม่เสมอภาคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก
แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน 2) รูปแบบการบูรณาการหลักสูตร 3) รูปแบบความร่วมมือจากชุมชน 4) รูปแบบการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพ 5) รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย 6) รูปแบบการผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย 7) รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับรูปแบบการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยรวมนั้น โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษาขนาดเล็ก ได้มีการจัดวางรูปแบบการดำเนินงานใน 7 รูปแบบ คือ 1) โรงเรียนเรียนรวมกับโรงเรียนเรียนหลัก 2) โรงเรียนเรียนรวมตามระดับช่วงชั้น 3) โรงเรียนสอนตามปกติ 4) โรงเรียนศูนย์บริการสื่อ 5) การให้การบริการรถหน่วยคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ 6) การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ 7) ครูช่วยสอนหมุนเวียน (ประเสริฐ จั่นแก้ว, 2551)
สถานศึกษาหลายแห่งมีรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่นตนเอง เช่น โรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการหมุนเวียนครู เป็นการหมุนเวียนครูสอนในสาขาขาดแคลนโดยจัดโครงสร้างการบริหารให้ชัดเจนประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก คณะกรรมการประสานงาน คือ ครูวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งกรรมการทั้งสอง คณะจะต้องจัดระบบการบริหารงานให้ชัดเจนในการหมุนเวียนครู 2. รูปแบบเครือข่ายประถมศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นการสร้างรูปแบบเครือข่ายโดยเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้บริหารกลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระ ผู้อำนวยการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายธุรการสารสนเทศ ผู้อำนวยการฝ่ายประถมวัย จำนวน 11 ตำแหน่งและแบ่งศูนย์การเรียนรู้ออกเป็น 3 ศูนย์ โดยคำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์การเดินทางของนักเรียน จัดรถรับส่งนักเรียนหรือค่าพาหนะให้นักเรียน ระดมครูจำแนกตามกลุ่มสาระเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าบางแห่งมีการจัดการศึกษาแบบศูนย์เรียนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีการตั้งโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์เรียนรวม ปรับงานทั้ง 4 งานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท คือ 1) งานวิชาการ ดำเนินการหลอมรวมหลักสูตรสถานศึกษาใช้ร่วมกัน จัดเวลาเรียนสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 6 ชั่วโมง จัดครูเข้าสอนตามความถนัดและความสนใจ จัดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน 2) งานงบประมาณ ในส่วนที่ได้รับเงินสนับสนุนในนามของศูนย์เรียนรวมโรงเรียน จะมอบหมายให้โรงเรียนที่รับผิดชอบดูแลและเป็นผู้ดำเนินการ 3) งานบุคคล แบ่งงานมอบหมายให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ ส่วนการกำหนดอัตราตำแหน่ง การย้าย การพิจารณาความดีความชอบเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเดิม 4) งานบริหารทั่วไป ดูแลด้านระเบียบวินัย อาหารกลางวัน ทุนการศึกษา บริการรถรับส่งนักเรียน ประกันชีวิตนักเรียน ดูแลอาคารสถานที่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์เรียนรวมกับชุมชน
ดังนั้นในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ตามรูปแบบที่กำหนด ได้ส่งผลให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กสู่โรงเรียนคุณภาพโดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของความขาดแคลนในโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของครู ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพ รวมทั้งสามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ทางรอดหรือยถากรรมโรงเรียนขนาดเล็ก
โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหามากมาย หลายฝ่ายบอกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หรือบางคนก็บอกว่าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เป็นสัญญาณที่ส่งให้โรงเรียนขนาดเล็กรู้สึกตัวเพื่อปรับตัวให้อยู่รอด จะเห็นได้จากข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็ก ดังเช่น
“เผยปฏิรูปการศึกษารอบ 2 สพฐ.มีแผนยุบโรงเรียนขนาดเล็กโดยไม่บีบบังคับลง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 7,000 โรงจาก 1.4 หมื่นโรงภายใน 10 ปี "ชินวรณ์” เร่ง สพฐ. อบต.ทำเอ็มโอยูร่วมกัน เพื่อพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลให้เกิดคุณภาพ พร้อมทุ่มงบประมาณสร้างโรงเรียนดีประจำทุกท้องถิ่น”
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ภายใต้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2553-2561 นั้น สพฐ.ตั้งเป้าว่าเมื่อสิ้นสุดการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 แล้ว จะส่งผลให้เกิดการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กได้โดยไม่ต้องบีบบังคับใดๆ ได้ประมาณ 7,000 โรง หรือ 50% ของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่ถึง 1.4 หมื่นโรงทั่วประเทศในขณะนี้ จะทำให้การบริการจัดการทรัพยากรและงบประมาณด้านการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องกระจายงบประมาณไปตามโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่เป็นหมื่นโรง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งเองก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้คุณภาพ เพราะต้องบริหารจัดการในภาวะขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร ทั้งนี้ การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น สพฐ.จะไม่ใช่วิธีบีบบังคับแต่จะปล่อยไปตามธรรมชาติ
“ธงทอง” ยันไม่มีทางยุบโรงเรียนขนาดเล็กภายในปี 2561 ชี้เป็นการบริหารจัดการเรียนการสอนให้เกิดคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า หลังจากที่มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กลงประมาณ 7,000 แห่ง จากจำนวน 15,000 แห่ง ภายในปี 2561 นั้น ได้มีข้อห่วงใยจากคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ไม่อยากให้ใช้คำว่า “ยุบ” เนื่องจากทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดว่า จะมีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการยุบ แต่จะใช้การบริหารจัดการที่ทำให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้หลายมิติ อาทิ การใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน การจัดรถรับส่งให้นักเรียนไปเรียนในโรงเรียนร่วม โดยรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ เป็นต้น
“...แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว การยุบโรงเรียนขนาดเล็กขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ซึ่งบางแห่งโดยสภาพภูมิประเทศแม้จะมีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน และการคมนาคมไม่สะดวก แต่ก็จำเป็นต้องมีอยู่หากเป็นความต้องการของคนในพื้นที่ ในขณะที่บางแห่งอาจจะต้องปิดตัวไปเองในที่สุด เนื่องจากคนในพื้นที่ส่งลูกหลานไปเรียนในตัวเมืองหรือในตำบลอื่น เพราะการคมนาคมสะดวกมากขึ้น รวมทั้งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะพัฒนาโรงเรียนประจำตำบลให้เป็น โรงเรียนดีมีคุณภาพ ผู้ปกครองจึงส่งลูกหลานไปเข้าเรียนมากขึ้น เชื่อว่าถึงปี 2561 การปิดตัวลงเองจะทำให้โรงเรียนขนาดเล็ก ลดลงได้ประมาณ 7,000 แห่ง” เลขาธิการสภาการศึกษากล่าว.
ผู้เขียนมองว่า ผู้บริหารระดับสูงในบ้านเมือง พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่อง โรงเรียนขนาดเล็กโดยเสนอแนวทางในการบริหารการจัดการที่เน้นความสำคัญในมิติความคุ้มค่ากับการลงทุน หากโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้นไม่มีการพัฒนาและดำเนินการให้ได้คุณภาพและเหมาะสมกับงบประมาณ ก็จะถูกยุบ การมองมิติเดียวเป็นสัญญาณอันตรายหรือทำลายโรงเรียนขนาดเล็กได้ รัฐควรมองการจัดการศึกษาให้หลายมิติ ครอบคลุม และรอบด้านมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นทางรอดโรงเรียนขนาดเล็กขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คนหรือควรปล่อยให้ไปตามยถากรรมกันแน่

แนวโน้มของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก
สำหรับแนวทางในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในอนาคตนอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของการศึกษาให้เป็นไปตามที่มุ่งหวังแล้วยังต้องตระหนักถึงการสร้างคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดพร้อมกันไปอีกด้วย จะเห็นได้จากการวิจัยการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบยุโรปภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “Effective School Improvement Project” (ESI) หรือ “โครงการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ” โครงการดังกล่าวได้พัฒนากรอบแนวคิดมาจากการบูรณาการการศึกษาวิจัย ใน 2 ด้าน ได้แก่ (1) ความมีประสิทธิภาพของโรงเรียน (schooleffectiveness) เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบว่า “อะไร” และ “ทำไม” ที่ทำให้การทำกิจกรรมทางการศึกษาต่างๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีและราบรื่น และ (2) การพัฒนาโรงเรียน (school improvement) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นด้านการปฏิบัติและการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเพื่อ ต้องการเห็น ความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ ทั้งนี้ความเชื่อมโยงระหว่างความมีประสิทธิภาพและการพัฒนาโรงเรียน คือ การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาความมีประสิทธิภาพของโรงเรียนมาใช้ในการอธิบายและให้ข้อมูลเชิงลึกที่จะนำไปช่วยพัฒนาโรงเรียน ซึ่งความเชื่อมโยงของแนวคิดทั้งสองจะเกิดขึ้นในกระบวนการวางแผนเพื่อการพัฒนาโรงเรียนนั่นเอง (Reezigt & Creemers, 2005)
กรอบแนวคิดที่นักวิชาการได้พัฒนาขึ้นใหม่ เรียกว่า กรอบแนวคิดแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (comprehensive framework for effective school improvement) การพัฒนากรอบแนวคิดดังกล่าว นอกจากจะพัฒนามาจากทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิภาพของโรงเรียนและการพัฒนาโรงเรียนแล้ว ยังมีการใช้สารสนเทศจากกรณีศึกษาจากกลุ่มโรงเรียนในโครงการที่ประสบความสำเร็จมาใช้ประกอบการพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย ร่วมกับการปรับแก้จากความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักนโยบาย ได้ข้อสรุป จากกรอบแนวคิดข้างต้น มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน (1) ด้านบริบททางการศึกษา และ (2) ด้านโรงเรียน (Reezigt & Creemers, 2005)
(1) องค์ประกอบในด้านบริบท งานวิจัยได้มีการกล่าวถึงปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับบริบท 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) ความกดดันเพื่อการพัฒนา ภายใต้แรงกดดันจากภายนอก โรงเรียนต้องสามารถสร้างสมดุลระหว่างการดำเนินการพัฒนาการศึกษา ทั้งในการวางแผนออกแบบการดำเนินงาน และประเมินตนเองอย่างเหมาะสม สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากแรงกดดันที่ได้รับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง (2) แหล่งทรัพยากรเพื่อการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาโรงเรียนประสบความสำเร็จ มีความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องได้รับทรัพยากรในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอย่างเหมาะสมทั้งทรัพยากรในลักษณะรูปธรรมและนามธรรม เช่น งบประมาณความเป็นอิสระในการดำเนินงาน และความพึงพอใจของครูและโรงเรียนที่ได้รับจากการทำงานประจำวัน รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานในท้องถิ่น (3) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาในบางกรณี อาจเห็นได้ว่า โรงเรียนไม่มีการวางเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่ด้วยสภาวะบริบททางการศึกษาในภาพรวมจะกำหนดเป้าหมายทางการศึกษา ทำให้ความพยายามในการดำเนินงานต้องมีความสอดคล้องกับบริบทไปโดยปริยาย
(2) องค์ประกอบด้านโรงเรียน จากกรอบแนวคิดการพัฒนาโรงเรียนข้างต้น บริเวณส่วนกลางจะอิงทฤษฎีและการวิจัย ซึ่งแสดงถึงการพัฒนานั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการในระดับโรงเรียนเป็นการขับเคลื่อน ปัจจัยสำคัญในการกำหนดองค์ประกอบด้านโรงเรียนมี 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) วัฒนธรรมการพัฒนา โรงเรียนที่มีวัฒนธรรมของการพัฒนานั้นจะเป็นการส่งเสริมให้เริ่มพัฒนาและดำเนินไปอย่างต่อเนื่องได้ง่ายกว่าในโรงเรียนที่พยายามหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงหรือกลัวที่จะต้องพัฒนา (2) กระบวนการพัฒนา สำหรับกระบวนการพัฒนาโรงเรียนนี้ เปรียบเสมือนผลที่เกิดขึ้นอย่างไมปะติดปะต่อ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นถึงจะมีดำเนินการ และเมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ ก็จะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นสำหรับโรงเรียนที่มีพลวัตรนั้นจะมีการพิจารณาการพัฒนาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นเหมือนกิจกรรมประจำวันในชีวิต กลายเป็นวงจรที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องในธรรมชาติ (3) ผลลัพธ์ของการพัฒนา ในอุดมคติในเรื่องของความพยายามต่อการพัฒนานั้น มักจะให้ความสนใจกับจุดมุ่งหมายที่มีความชัดเจน มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จได้ทันตามเวลากำหนด แต่ถ้าจุดมุ่งหมายมีความคลุมเครือและไม่ชัดเจนแล้ว ความพยายามที่จะพัฒนามีแนวโน้มที่จะล้มเหลว จุดมุ่งหมายของการพัฒนาโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการระบุถึงผลลัพธ์ของผู้เรียน หรือในเรื่องของโรงเรียนและครูซึ่งเป็นเหมือนปัจจัยที่สำคัญต่อผลลัพธ์ของผู้เรียนนักวิชาการให้ความสนใจในการใช้ประโยชน์จากกรอบแนวคิดดังกล่าวกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักนโยบายสำหรับผู้เชี่ยวชาญกรอบแนวคิดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบการวางแผนและการนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ให้ภาพรวมของปัจจัยที่สนับสนุนหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติทางการศึกษา อย่างไรก็ดี โรงเรียนยังคงต้องมีศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายในกรอบแนวคิดในสถานการณ์ที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของโรงเรียน นักวิชาการได้เน้นย้ำว่า กรอบแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่พัฒนาขึ้นมาให้สำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยชี้ให้เห็น “จุดเริ่ม” หรือ ”ประเด็นปัญหา” ที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงเพื่อการพัฒนาเท่านั้น สำหรับนักวิจัย กรอบแนวคิดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยทางการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต นักวิจัยสามารถนำไปใช้สร้างสมมุติฐานหรือคัดเลือก ตัวแปรที่มีความเหมาะสมในการศึกษาวิจัย เป็นมุมมองโดยรวมของปัจจัยหรือตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนในการศึกษาวิจัยระดับนานาชาติ อาจพิจารณาให้ความสนใจกับบริบทที่ทำการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบข้ามประเทศ หรือภายในประเทศเดียวกัน สำหรับนักนโยบาย ต้องตระหนักถึงกรอบแนวคิดไม่ใช่สูตรสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่องเครื่องมือสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้กับการพัฒนาโรงเรียนได้ทันที กรอบแนวคิดสามารถช่วยให้เกิดความชัดเจนกับตัวแปรที่จะนำมาพิจารณาในการวางแผนของกระบวนการพัฒนาภายในโรงเรียน นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงบริบทและระดับของโรงเรียน กรอบแนวคิดน่าจะช่วยให้นักนโยบายเห็นความสำคัญของการพัฒนาโรงเรียนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ให้เกิดกับตัวผู้เรียน หรือความสำคัญของโรงเรียนที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนา การที่โรงเรียนจะแข็งแกร่งได้นั้น จึงเป็นผลมาจากบริบทต่างๆทางการศึกษา ดังนั้น ความตระหนักถึงบริบททางการศึกษาจึงถือได้ว่ามีความสำคัญ การที่โรงเรียนอยู่ภายใต้บริบทที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการพัฒนา การปล่อยให้โรงเรียนพัฒนาด้วยตนเองนั้นไม่สามารถเป็นไปได้ในความเป็นจริง (Reezigt & Creemers, 2005)
การวิจัยการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่ม ประเทศยุโรปยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดกลุ่มนักวิชาการพยายามที่จะตอบคำถามในเชิงลึกมุ่งอธิบายว่า “อะไรคือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบททางการศึกษาของประเทศที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ” และในแต่ละประเทศนั้นมีปัจจัยดังกล่าวเหมือนหรือต่างกันอย่างไร การศึกษาในระยะนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดจากงานวิจัยใน 5 ด้าน ได้แก่ ความมีประสิทธิภาพของโรงเรียน การพัฒนาโรงเรียน หลักสูตร ทางเลือกสาธารณะ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรอบแนวคิดดังกล่าวมีจุดเน้นสำคัญที่เป้าประสงค์ ความกดดันและการสนับสนุน ดังแสดงในภาพที่ 2.4 นอกจากนี้ข้อค้นพบจากการศึกษาได้รายงานถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบททางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 10 ปัจจัย อันประกอบด้วย ตัวชี้วัดจำนวน 48 ตัวชี้วัด เป็นข้อค้นพบที่รวบรวมข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสารและจากข้อมูลในเชิงประจักษ์ใน 31 กรณีศึกษาของ 8 ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยยังมีเป้าหมายมุ่งสู่การให้สารสนเทศต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ในทางปฏิบัติ ความมีประสิทธิภาพของโรงเรียนและการพัฒนาโรงเรียน (Sun, Creemers, & Jong, 2007)

ทางเลือกโรงเรียนขนาดเล็ก
จากรายงานการวิจัยการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนภายหลังการประเมินภายนอกรอบแรก ตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงศึกษาธิการ ในประเด็นการจัดหารูปแบบการจัดการศึกษา ควรมีการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาใหม่ที่เป็นทางเลือก โดยเฉพาะในพื้นที่มีนักเรียนน้อย แต่จำเป็นต้องมีสถานที่เรียนอาจศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนที่สามารถให้การศึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ หรือรูปแบบอื่นที่ไม่ได้มีลักษณะแข็งตัวเหมือนการตั้งโรงเรียน เพื่อลดข้อจำกัดด้านงบประมาณรายจ่ายในการตั้งโรงเรียนหรือการจ้างบุคลากร และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู ควรวิจัยการสอนแบบคละชั้นที่ดีหรือการบริหารจัดการให้นักเรียนเรียนข้ามโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูว่าแบบใดให้ผลดีกว่ากัน หรือวิธีแก้ปัญหาแบบใดเหมาะสมกับการนำไปใช้กับโรงเรียนบริบทใด ภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2553)
นอกจากนี้ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จากผลการประเมินเชิงวิพากษ์ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 1 ด้านความเป็นไปได้ โดยมีข้อเสนอแนะว่า ควรคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแนวคิดใหม่ ควรทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่มุ่งพัฒนาครูแนวใหม่ การบริหารโรงเรียนแนวใหม่ การปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับระบบอื่นที่อยู่นอกกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2553)
สำหรับการพัฒนาศักยภาพของของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารโรงเรียน โรงเรียน ผู้ปกครอง วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคราชการและเอกชน สามารถร่วมกันพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทางการศึกษา โดยระดมทรัพยากรทั้งความรู้ ความคิด งบประมาณ และแรงงาน ทำให้นักเรียนเป็นคนดี และมีความสุข แต่น่าสังเกตว่า การช่วยเหลือเหล่านี้ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ มีประเด็นที่ควรหาทางแก้ไข คือ 1) กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพแก่ชุมชน โดยเฉพาะด้านวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโรงเรียน ด้านการพัฒนาผู้เรียนร่วมกับโรงเรียน สภาพปัจจุบันโรงเรียนมีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนได้ดี แต่ผลที่ได้รับจากชุมชนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความร่วมมือด้านกำลังใจ แรงงาน ไม่ใช่เรื่องของความสามารถในการวางแผนการพัฒนาการศึกษา 2) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้คงอยู่ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมทั้งควรให้ระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
ในมุมมองของผู้เขียน อนาคตภาพหรือทางเลือกของโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนต้องสร้างจุดเด่นหรือจุดแข็งของตนเองที่สะท้อนรากเหง้าท้องถิ่นตนเอง เพื่อให้เรียนรู้วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม จัดการศึกษาร่วมกับบ้าน วัด โรงเรียน(บวร) ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการศึกษา สร้างโอกาสในการศึกษากับทุกคนในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ครูต้องจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน สามารถเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา บริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ต้องเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษา ทุกคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ตลอดชีวิต

การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่
ตามทัศนะของผู้เขียน ขอเสนอแนวคิด”รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่” ในจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการมาขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงจากแนวคิดของ Senior ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นที่ 1 (a) การวินิจฉัยสภาพปัจจุบัน โดยใช้เทคนิคการ SWOT โดยวิเคราะห์ PETS มาประยุกต์ใช้ เพื่อศึกษาว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อโรงเรียนขนาดเล็กอย่างไร
ขั้นที่ 1 (b) วิเคราะห์ความคาดหวังของโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพแนวใหม่ เป็นภาพอนาคตร่วมกันทั้งบ้าน วัด โรงเรียน(บวร)
ขั้นที่ 2 สร้างความยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพแนวใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
ขั้นที่ 3 พัฒนาแผนปฏิบัติการร่วมกันทุกภาคส่วน (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยจะต้องตอบคำถามว่า จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ใครคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิธีแทรกเสริมคืออะไร ต้องใช้อย่างไร และได้มาจากไหน ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในเรื่องใดบ้าง
ขั้นที่ 4 ดำเนินการเปลี่ยนแปลง ในขั้นนี้ต้องใช้วิธีแทรกเสริมหลายๆวิธีมาเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของทุกภาคส่วน(บวร) โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการพัฒนาในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นนี้มุ่งนำแนวคิด 1) บริบทด้านการพัฒนาโรงเรียน 2) แนวคิดความมีประสิทธิภาพของโรงเรียน เพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กแนวทางใหม่ ที่มีหน่วยการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ประกอบด้วย ผู้ปกครองที่ศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย(กศน.)และนักเรียนที่เรียนในระบบ(สพฐ.)
ขั้นที่ 5 การประเมินและเพิ่มระดับการเปลี่ยนแปลง เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสภาพปัจจุบันกับภาพอนาคตว่ายังปรากฏช่องว่างอยู่หรือไม่ หากไม่ปรากฏหรือปรากฏน้อยก็ต้องเพิ่มระดับการเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นในวงรอบต่อไป

บทสรุป
การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแนวใหม่ ผู้นำต้องกล้าคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแนวคิดใหม่ มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีการทำงานเป็นทีม มีเครือข่ายในการทำงาน จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับชุมชนหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น อาจต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เพราะมีครูไม่ครบชั้น หรืออาจจัดการการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย สามารถประสานสิบทิศร่วมกับ บ้าน วัด โรงเรียน จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อนในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างทางเลือกในการบริหารจัดการศึกษาแนวใหม่ กล่าวโดยสรุปคือ 1) สร้างจุดเด่น 2) เน้นเครือข่าย 3) ใช้ ICT 4) มีแหล่งเรียนรู้ 5) บูรณาการ 6) ประสานสิบทิศ 7) คิดนอกกรอบ และในฐานะผู้เขียนเป็นคนที่ใกล้ชิดกับโรงเรียนขนาดเล็ก
ขอฝากคำกลอนไว้ว่า
เป็นครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ภารกิจเพื่อเด็กนั้นยิ่งใหญ่
หวังอยากเห็นการศึกษาก้าวหน้าไกล ต้องใส่ใจดูแลอย่างแท้จริง
แม้มีครูไม่ครบชั้นนั้นน้อยนิด ทุกหยาดเหงื่อเพื่อลูกศิษย์เหนือทุกสิ่ง
จิตวิญญาณความเป็นครูที่แท้จริง ต้องใหญ่ยิ่งต้องเห็นความเป็นมนุษย์
ดังนั้นทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมแรงในการจัดการศึกษา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้และต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้โรงเรียนขนาดเล็กดำงอยู่ตลอดไป


เอกสารอ้างอิง

บัญชา พูนพนัง. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ในอำเภอ
จุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.นครศรีธรรมราช : โรงเรียนบ้านคอพรุ. ถ่ายเอกสาร
ประเสิรฐ จั่นแก้ว.(2551).การศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษานครราชสีมาเขต 4 ปีการศึกษา 2550. สำนักเขตพื้นที่การศึกษาเขต 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิริกุล นามศิริ. (2552) การพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็ก : การวิจัยเชิง
ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). รายงานการวิจัย การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษา
ของโรงเรียนภายหลังการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________.(2553).ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา . กรุงเทพฯ :
บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.).(2549). รายงานการประเมินคุณภาพ
ภายนอกสถาน ระดับศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพภายนอก(องค์การมหาชน)
Creemers,B.P.,& Reezigt, G.J.(2005).Linking school effectiveness and school improvement: the background and outline of the project. School Effectiveness and School Improvement, 16 (4), 359-371
http://www.korat-ed4.com/vichakran/ html/prasert/8.pdf
Reezigt, G.J.,& Creemers, B.P.(2005).A comprehensive framework for effective school improvement. School Effectiveness and School Improvement , 16 (4), 407-424.
Sun,H.,Creemers,B.P.,& Jong, R.d.(2007).Contextual factors and effective school improvement. School
Effectiveness and School Improvement , 18(1),93-122.

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

จุดเน้น 10 ประการ สพฐ.

จุดเน้น 10 ประการ สพฐ.
นาย ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2554 ที่ได้กำหนดจุดเน้น 10 เรื่อง ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจะต้องสูงขึ้นทั้งกลุ่มสาระวิชาหลัก
2. นักเรียนช่วงชั้นที่ 1-3 จะต้องอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น
3. คุณธรรมนำความรู้ มีจิตสำนึกการรักชาติ
4. มุ่งพัฒนาผู้เรียนไปสู่ความเป็นเลิศ
5. การศึกษาทางเลือก เพื่อผู้เรียนที่มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้พิการ เด็กด้อยโอกาส หรือเด็กชายขอบ จะต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
6. การวางรากฐานให้กับผู้เรียน โดยเน้นการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
7. เตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
8. การบริหารจัดการด้านการศึกษาในเขตพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต้
9. บริหารจัดการโรงเรียนที่มีคุณภาพ
10.การบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
จุดเน้นทั้ง 10 ประการนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2554 โดยจะมีโครงการและหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมา

10 อัจฉริยะของโลก

10. Elaina Smith: ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตอายุ 7 ขวบ

สถานี วิทยุท้องถิ่นได้เสนองานให้คำ ปรึกษาปัญหาชีวิตกับหนูน้อย Elaina เมื่อเธอโทร. เข้ามาให้คำแนะนำกับหญิงสาวคนหนึ่งที่โทร. มาปรึกษาสถานีเรื่องที่เธอถูกแฟนทิ้ง คำแนะนำง่าย ๆ ของ Elaina คือการบอกให้หญิงสาวผู้นั้นออกไปโยนโบว์ลิ่งกับเพื่อนและก็ดื่มนมสักแก้วนึง โต ๆ และนั่นทำให้เธอได้เวลาจัดรายการแก้ปัญหาชีวิตรายสัปดาห์จากสถานีจนได้รับ ความนิยมจากผู้ฟังนับพัน เธอรับปรึกษาตั้งแต่ปัญหาเรื่องจะทิ้งแฟนอย่างไร จะทำยังไงเมื่อเลิกกับแฟน ไปจนกระทั่งปัญหากลิ่นตัวของพี่น้องในบ้าน
ครั้ง หนึ่งได้มีคนฟังโทรศัพท์มาถาม Elaina ว่าทำยังไงเธอถึงจะได้แฟนของเธอกลับมา หนูน้อยบอกไปว่า " ผู้ชายคนนั้นไม่มีค่าพอที่จะคร่ำครวญถึง ชีวิตคนเรามันสั้นเกินกว่าจะไปเศร้าโศกถึงผู้ชายแค่คนเดียว"

9. Willie Mosconi: เริ่มชีวิตนักบิลเลียดอาชีพเมื่ออายุเพียง 6 ขวบ

William Joseph Mosconi หรือเจ้าของฉายา "Mr. Pocket Billiards" (pocket billiard = พูล) หนูน้อยจาก Philadelphia, Pennsylvania มีบิดาเป็นเจ้าของโต๊ะพูลแต่กลับไม่ยอมให้เขาเล่นพูล แต่ Willie ก็ไม่ยอมแพ้โดยเลี่ยงไปฝึกฝนด้วยหัวมันฝรั่งกับด้ามไม้กวาดเก่า ๆ ในครัวของแม่ ไม่นานนักพ่อของเขาก็ได้เห็นความเป็นอัจริยะ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันท้าประลองเกิดขึ้น และ Willie ก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่มีอายุและประสบการณ์เหนือกว่าตนเองมากมายได้ ทั้ง ๆ ที่เขายัง ต้องยืนบนกล่องต่อขาเพื่อให้สูงถึงโต๊ะจนเล่นได้ก็ตาม
ใน ปี 1919 ได้มีการจัดการแข่งขันระหว่างหนูน้อย Willie วัย 6 ขวบและแชมป์โลกอย่าง Ralph Greenleaf แม้ Greenleaf จะเป็นผู้ชนะแต่ Willie ก็เล่นได้ดีมากและทำให้เขาก้าวเข้าสู่วงการบิลเลียดอาชีพตั้งแต่บัดนั้น และในปี 1924 Willie ก็ได้เป็นแชมป์ straight pool (พูล 15 ลูก) เยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 11 ปี และมีงานเดินสายโชว์เทคนิคการเล่นอย่างสม่ำเสมอ
ใน ช่วงปี 1941-1957 Willie ก็ได้ครองแชมป์ BCA (Billiard Congress of America) World Championship ถึง15 สมัย เป็นผู้ริเริ่มเทคนิคใหม่ ๆ ในการตีบิลเลียด สร้างสถิติมากมาย และยังช่วยทำให้กีฬาบิลเลียดกลายเป็นที่นิยมอีกด้วย ปัจจุบันเขาก็ยังเป็นเจ้าของสถิติสูงสุดในการตีลูกได้ติดต่อกัน ถึง 526 ลูกในการแข่งขัน Straight Pool

8. Fabiano Luigi Caruana: แกรนมาสเตอร์หมากรุกอายุน้อยที่สุด

Fabiano หนุ่มน้อยสองสัญชาติ (อเมริกัน-อิตาลี) ปัจจุบันอายุ 16 ปี เขาได้เป็นแกรนมาสเตอร์ตั้งแต่ปี 2007 ตอนนั้นเขามีอายุเพีย 14 ปี 11 เดือน 20 วัน ถือได้ว่าอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ของอิตาลีและอเมริกา และเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาสมาพันธ์หมากรุกโลก (World Chess Federation (FIDE)) ได้ประกาศว่า Fabiano นั้นมีอันดับโลกอยู่ที่ 2649 ทำให้ เขากลายเป็นนักหมากรุกที่มีอันดับสูงสุดสำหรับรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี
7. Michael Kevin Kearney: รับปริญญาใบแรกเมื่ออายุ 10 ขวบและกลายเป็นเศรษฐีจากการเล่นเรียลลิตี้โชว์

หนุ่ม วัย 24 ผู้นี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยที่อายุน้อยที่สุดใน โลก และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง 17
ใน ปี 2008 เขาชนะ้รางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐจากการเล่นเกมโชว์ที่ชื่อว่า Who Wants to be a Millionaire? นอกจากนี้เขายังทำสถิติโลกไว้อีกหลายอย่าง
Kearney เริ่มพูดคำแรกเมื่ออายุ 4 เดือน เมื่ออายุได้ 6 เดือน เขาบอกกับกุมารแพทย์ของเขาว่า "ผมติดเชื้อที่หูซ้ายฮะ" อายุ 10 เดือนก็เริ่มเรียนเขียนอ่าน อายุ 4 ขวบได้เข้าร่วมการทดสอบทางคณิตศาสตร์ของสถาบัน Johns Hopkins และได้คะแนนเต็ม เรียนจบไฮสคูลเมื่ออายุ 6 ขวบ และเข้าเรียนที่ Santa Rosa Junior College จนจบปริญญาเมื่ออายุ 10 ขวบ
ในปี 2006 ชื่อเสียงของเขาดังไปทั่วโลกเมื่อเขาเล่นเกมออนไลน์ Gold Rush จนชนะและได้รางวัล 1 ล้านเหรียญเป็นคนแรก

6. Saul Aaron Kripke: Harvard( มหาวิทยาลัยอันดับ1 ของโลก) เชิญให้ไปสมัครเป็นอาจารย์ขณะที่ยังเรียนไฮสคูล
Kripke เป็นลูกชายของพระแรบไบ เกิดที่นิวยอร์คและโตที่ Omaha รัฐ Nebraska เริ่มศึกษาพีชคณิตเมื่อตอนอยู่เกรด 4 และพอจบชั้นประถมก็เรียนรู้เรขาคณิตและแคลคิวลัสจนทะลุปรุโปร่ง และเริ่มหันไปให้ความสนใจกับปรัชญา
Kripke เขียนบทความหลายชิ้นทั้งในเรื่องของอรรถศาสตร์ (semantics) และตรรกวิทยาแบบ modal logic ในขณะที่มีอายุเพียง 16 ปี และหนึ่งในผลงานด้านตรรกวิทยานั้นทำให้เขาได้รับจดหมายเชิญจากภาควิชา คณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เชิญชวนให้เขาไปสมัครเป็นอาจารย์ ซึ่งเขาก็ได้เขียนตอบปฎิเสธไปว่า "แม่ผมบอกว่าให้ผมเรียนให้จบไฮสคูลและมหาวิทยาลัยเสียก่อนดีกว่า" และเมื่อเขาเรียนจบไฮสคูลเขาก็เลือกเรียนต่อที่ฮาร์วาร์ด
Kripke ได้รับรางวัล Shock Prize ซึ่งเป็นรางวัลทางด้านปรัชญาที่เทียบได้กับรางวัลโนเบล ปัจจุบันเขาได้รับการยกย่องว่า เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่



5. Aelita Andre : หนูน้อยที่มีผลงานภาพออกแสดงในแกลลอรี่มีชื่อเสียง ด้วยวัยเพียง 2 ขวบ

ศิลปิน แนว Abstract อายุเพียง 2 ขวบผู้นี้ได้กลายเป็นบุคคลที่ชาวออสเตรเลียกล่าวถึงเป็นอันมาก เมื่อผลงานของเธอได้ออกแสดงใน Brunswick Street Gallery ใน Melbourne's Fitzroy
Mark Jamieson ผู้อำนวยการของแกลลอรี่ดังกล่าวได้เห็นภาพที่ Nikka Kalashnikova นักถ่ายภาพคนหนึ่งที่มีงานแสดงในแกลลอรีนำมาให้ดูและเขาก็ชอบจนตกลงใจที่จะ จัดการแสดงภาพเหล่านั้น จนเมื่อได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานในนิตยสารต่าง ๆ แล้ว เขาจึงได้ทราบว่าเจ้าของผลงาน คือลูกสาวของ Kalashnikova นั่นเอง และมีอายุเพียง 22 เดือน แม้ Jamieson รู้สึกอับอายไม่น้อย แต่ก็ตัดสินใจที่จะแสดงผลงานของหนูน้อยต่อไป


4. Cleopatra Stratan : นักร้องเด็กอายุเพียง 3 ขวบ มีรายได้ 1,000 ยูโรต่อเพลง (47,000-48,000 บาท)

Clepotra เกิดเมื่อ 6 ตุลาคม 2002 ที่เมืองคีชีเนา ประเทศมอลโดวา เป็นลูกสาวของนักร้องเชื้อสายมอลโดวา-โรมาเนีย เธอเป็นนักร้องอายุน้อยที่สุดที่ประสบความสำเร็จด้วยอัลบั้มในปี 2006 ของเธอที่ชื่อว่า"At the age of 3" และยังเป็นเจ้าของสถิติศิลปินอายุน้อยที่สุดที่เปิดการแสดงสดตลอด 2 ชั่วโมงต่อหน้าผู้ชมจำนวนมาก เป็นศิลปินเด็กที่ค่าตัวสูงสุด เป็นศิลปินอายุน้อยที่สุดที่จะได้รับรางวัล MTV และเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดที่มีเพลงติดชาร์ตอันดับหนึ่งในประเทศโรมา เนีย





3. Akrit Jaswal : ศัลยแพทย์อายุ 7 ขวบ

Akrit Jaswal เป็นชาวอินเดีย และได้รับการขนานนามว่า "เด็กผู้ชายที่ฉลาดที่สุดในโลก" เพราะมี IQ ถึง 146 และได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในเด็กที่อายุเท่า ๆ กันในอินเดีย ประเทศที่มีประชากรนับพันล้านคน
Akrit กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะในปี 2000 เมื่อเขาได้ทำการรักษาคนไข้คนแรกที่บ้านของเขาเองเมื่อมีอายุเพียง 7 ขวบ คนไข้เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบ มีฐานะยากจนไม่มีเงินพอที่จะไปหาหมอได้ มือของเธอถูกไฟลวกทำให้นิ้วมือกำแน่นติดกัน Akrit ในตอนนั้นยังไม่ได้เรียนแพทย์อย่างเป็นทางการและยังไม่มีประสบการณ์ในการผ่า ตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถทำให้นิ้วมือของเด็กหญิงคลายออกมาได้และใช้มือได้เป็นปกติอีก ครั้ง ขณะนี้ Akrit กำลังเรียนปริญญาตรีวิทยาศาสตร์อยู่ที่ วิทยาลัย Chandigarh และเป็นนักศึกษาที่อายุน้อยที่สุดที่มหาวิทยาลัยอินเดียเคยรับเข้าเรียน

2. Gregory Smith: ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่ออายุ เพียง 12 ปี
Gregory เกิดในปี 1990 อ่านหนังสือออกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 10 ขวบ ความเป็นอัจฉริยะของเขานั้นยังไม่ได้ครึ่งของเรื่องราวของเด็กหนุ่มคนนี้ เมื่อเขาตัดสินใจออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อรณรงค์เรื่องสันติภาพและสิทธิ เด็ก
Gregory Smith เป็นผู้ก่อตั้ง International Youth Advocates ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนหลักการแห่งสันติภาพและความเข้าอกเข้าใจใน ระหว่างเยาวชนทั่วโลก เขาเคยได้พบกับผู้นำคนสำคัญอย่าง Bill Clinton และ Mikhail Gorbachev และยังเคยปฐกถาต่อหน้าที่ประชุม UN อีกด้วย
จาก การทำงานด้านมนุษยธรรมนี้ ทำให้เขาได้ถูกเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึง 4 ครั้ง แต่ความสำเร็จครั้งล่าสุดที่เขาเพิ่งได้รับคือ...มีใบขับขี่เป็นของตัวเอง ได้ซะทีนั่นเอง

1. Kim Ung-Yong: เข้ามหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 4 ขวบ จบปริญญาเอกตอนอายุ 15 และมี IQ สูงที่สุดในโลก

Kim Ung-Yong เกิดในปี 1962 และอาจจะถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ โดย Guinness Book of World Records ได้บันทึกว่าเขามี IQ สูงที่สุดในโลกคือสูงกว่า 210
คิม อ่านภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน และอังกฤษ ได้ตั้งแต่ 4 ขวบ ตอนวันเกิดครบ 5 ขวบ เขาก็สามารถแก้โจทย์แคลคิวลัส (differential and integral calculus) ที่ซับซ้อนได้ หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้ไปออกรายการทีวีญี่ปุ่นแสดงสามารถทางภาษาจีน สเปน เวียดนาม ตากาลอก เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี
คิม เป็นนักเรียนรับเชิญในชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Hanyang ตั้งแต่อายุ 3 - 6 ขวบ พออายุ 7 ขวบ NASA ได้เชิญเขาไปอเมริกาและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Colorado ในปี 1974 จนได้ Ph.D ด้านฟิสิกส์ ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะมีอายุครบ 15 เสียอีก ระหว่างที่เรียนมหาวิทยาลัยเขาก็เริ่มทำงานวิจัยที่ NASA ด้วย และทำต่อมาตลอดจนกระทั่งเขากลับเกาหลีในปี 1978 และได้ตัดสินใจเปลี่ยนสาขาจากฟิสิกส์ไปเป็นวิศวกรรมโยธาและได้ศึกษาจนได้รับ ปริญญาเอกอีกเช่นกัน


ขอขอบคุณ ที่มา http://board.sarubaga.com/

แล้วคุณล่ะ.......ค้นพบตัวเองว่าอัจฉริยะด้านไหน หรือยัง?