วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

สรุปแผนบริหารราชการแผ่นดิน

สรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554
สุวิทย์ ยอดสละ รวบรวม
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554
ความเป็นมา
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 75 , 76
2.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมวด 3 มาตรา 13 14 15 16 17 18 19
3.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 13 มกราคม 2552
ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฯ พ.ศ.2552-2555( 3 ปี) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ประกาศเมื่อ 26 มกราคม 2552 โดยนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 27 มกราคม 2552
ความสำคัญ
การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ในสังคมไทย นำประเทศให้ผ่านพ้นผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจของโลกและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโต ที่ยั่งยืนซึ่งจะนำความอยู่ดีมีสุขมาสู่ประชาชน
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เกิดจาก มาตรา 76 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และมาตรา 13 ,14 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลจะต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับกับ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ของรัฐบาลยึดเจตนารมณ์ของ คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 มีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1. แสดงแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ วิสัยทัศน์ของรัฐบาล และกรอบการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
ส่วนที่ 2. แสดงแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ( ปี2552 ) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินที่จะดำเนินการในปี 2552 – 2554
ส่วนที่ 3. แสดงกลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ อันประกอบด้วยการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย ( ประมาณการรายได้และประมาณการความต้องการใช้เงินตามนโยบาย ) และแนวทางการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
ส่วนที่ 4. แสดงแผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาลทั้งที่ต้องเร่ง ดำเนินการในปี 2552 และที่จะดำเนินการในช่วงปี 2552 – 2554

ส่วนที่ 1
วิสัยทัศน์ของรัฐบาล
ในช่วงปี พ.ศ.2552 – 2554 รัฐบาลจะมุ่งมั่นนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการ
1. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิต ใจและความรัก สามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิด พระบรมเดชานุภาพ
2. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน
3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืนและบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
4. พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคงมีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของสากล

* จำวิสัยทัศน์ พ้นวิกฤติ- เศรษฐกิจ- สังคม- การเมือง
* จำภารกิจ ปกป้อง – ปรองดอง – ฟื้น - ไตย


นโยบายรัฐบาล
1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ
3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
4. นโยบายเศรษฐกิจ
5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม
7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ
8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี


* จำนโยบายรัฐบาล เร่ง – มั่น – สัง – เศรษฐ, – ทรัพย์ – วิทย์ – ต่าง - กิจ


ส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน
นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร
1.1.3 ปฏิรูปการเมือง
1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก
1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน
- มูลค่าการลงทุนรวมที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2552-2554 จำนวน 1,250,000 ล้านบาท
- ลดการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ให้ต่ำมากเกินไปจากปี 2550
- รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจากปี 2550 ไม่เกินร้อยละ 5 และรายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 5
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
- รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติลดลงจากปี 2550 ไม่เกินร้อยละ 5
- รายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
- สร้างกระแสการเดินทางตลาดต่างประเทศและภายในประเทศเพื่อส่งเสริมให้ปี 2552 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย ประทับใจไทยแลนด์
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
- คนไทยทุกกลุ่ม ทุกวัย ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน มีการเรียนรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนตลอดชีวิต มีศักยภาพในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนาในระดับภูมิภาค
- จำนวนสถานศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานศึกษาเพิ่มขึ้น
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่
- แรงงานที่ว่างงานถูกเลิกจ้างและนักศึกษาจบใหม่ ประมาณ 500,000 คน ในปี 2552 ได้รับการฝึกอบรมเสริมทักษะสร้างศักยภาพและโอกาสให้กลับไปทำงานที่เป็น ประโยชน์แก่ท้องถิ่นชุมชนในภูมิลำเนา
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ
- เพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ให้มีหลักประกันด้านรายได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม
- สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยัง ชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์รวมทั้ง ขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาท
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานมาก
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเป็นเครื่องมือของ รัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน
- จัดหาตลาดรองรับสินค้าเกษตรชุมชนเชื่อมโยงตลาดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ประเทศ และดำเนินการในลักษณะนำร่องก่อน เน้นสินค้าที่มีคุณภาพสำหรับตลาดเฉพาะ ( Niche Market ) รวมทั้งบริหารจัดการสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ โดยเน้นสินค้าอาหารและสินค้าคุณภาพ
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานฟรี ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพครอบคลุมตำราเรียนในวิชาหลัก ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของประชาชน
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
- ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายรถโดยสารธรรมดา รถไฟชั้น 3 ค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้าตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน
- ปรับปรุงและขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.5 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ( กรอ.)


* จำนโยบายเร่งด่วน เชื่อมั่น – รักษา -ภาระ


นโยบายที่ 2 ความมั่นคงของรัฐ
2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณาการแห่งดินแดน
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ
นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต
3.1 ด้านการศึกษา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา
- ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษา 15 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงขึ้นอีกร้อยละ 20ใน 3 ปี
- สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ เป็น 50 : 50
- สัดส่วนของผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสายสังคมเป็น 40 : 60
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาโดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับ อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมการสร้างนักวิจัยมืออาชีพและสนับสนุนการดำเนินการวิจัยในลักษณะ Research Program ในประเด็นสำคัญๆของประเทศ
3.2 นโยบายแรงงาน
- แรงงานได้รับการคุ้มครอง , จำนวนแรงงานต่างด้าวทำผิดกฎหมายลดลง
3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข
- ลดอัตราการเพิ่มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง (ใจ หวาน สูง มอง เร็ง)
3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม แ ละความมั่นคงของมนุษย์
3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ
- เด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ
- นักกีฬาปกติและผู้พิการ ได้ร่วมแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และจำนวนเหรียญรางวัลเพิ่มขึ้นในทุกระดับ
- พัฒนาและนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้อย่างจริงจังในการส่งเสริมกีฬาสู่ความ เป็นเลิศและกีฬาอาชีพให้แก่นักกีฬาปกติและผู้พิการ รวมทั้งเตรียมความพร้อมนักกีฬาไทยสู่โอลิมปิค ปี 2010
นโยบายที่ 4 เศรษฐกิจ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและ มั่นคง โดยการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่สอดประสานกันเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้
4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
- อัตราส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP
- รักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงปี 2552 – 2554
4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.2.1 ภาคเกษตร
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 ล้านล้านบาท ในปี 2554
- เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านราย ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
- บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 1.7 ล้านไร่
- พัฒนา ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินและที่ดินไม่ต่ำกว่า 4.4 ล้านไร่
- พัฒนาระบบการผลิตและคุณภาพของผลผลิต โดยพัฒนาปรับปรุงระบบคุณภาพทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง ( GAP GMP HACCP ) ให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสากล
4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม
- มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจาก 3.3 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท
- จำนวนผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ประกอบการเดิมที่ได้รับการ พัฒนามีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 13,000 รายต่อปี
- ผลิตภาพแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสาขาเป้าหมายสูงขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3
- ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทาง ISO 26000
4.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
- ภาพลักษณ์ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ด้านความมีน้ำใจ ( Friendly People)/ความเป็นดั้งเดิม ( Authenticity ) / ชายหาด ( Beach )
4.2.4 นโยบายการตลาด การค้า และการลงทุน
4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.4 นโยบายพลังงาน
- สัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 35 ในปี 2554
- สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้ายในปี 2554
- นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ
- ส่งเสริมกลไกการพัฒนาที่สะอาด ( CDM ) สาขาพลังงาน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร 100คน เพิ่มขึ้นจาก 11 เป็น 13.7 เลขหมาย
- จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้าน รายเป็น 4 ล้านราย
- จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากร 100 คน เพิ่มขึ้นจาก 78 เป็น 90 เลขหมาย
- ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45
- จำนวนชุมชน ไม่น้อยกว่า 800 แห่งมีศูนย์การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 1,300 เลขหมาย
- กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง ICT และนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
- บุคลากรด้าน ICT ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT ในชีวิตประจำวัน
- อัตราการเติบโตอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี
นโยบายที่ 5 ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน 60 ล้านไร่
5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศ เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตรายมลพิษทางอากาศ กลิ่นเสียง และน้ำเสีย
5.5 พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.6 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
นโยบายที่ 6 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์
- จำนวนผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่สามารถนำไปยื่นขอจดสิทธิบัตรไม่น้อยกว่า 450 เรื่อง
6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต
- บุคลากรวิจัยและพัฒนา 10 คนต่อประชากร 10,000 คน
6.3 ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
นโยบายที่ 7 การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นโยบายที่ 8 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
- ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น
- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถยกระดับคุณภาพ มาตรฐานและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย
- บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้คู่คุณธรรม
8.2 กฎหมายและการยุติธรรม
- สัดส่วนคดีอาญาลดลงในภาพรวมของประเทศ
- อัตราการกระทำผิดซ้ำของเด็ก เยาวชน นักโทษ จำนวนผู้กระทำผิดลดลง
8.3 สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
- หน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 สามารถบรรลุผลตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดภายใต้ พรบ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ 2540
- ประชาชนร้อยละ 80 ได้รับข่าวสารจากภาครัฐ
- มีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร

ส่วนที่ 3 กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(ที่เกี่ยวข้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ) 4 นโยบาย

นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร
พน./อก./ศธ./วธ./กษ./ยธ./นร./กค./กห./มท./สธง/พณ./ธปท.
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทส./สธ./ศธ./รง./นร./คค./กห.)
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ (นร./ศธ./สธ.)
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี (ศธ./วธ./มท.)
นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต
3.1 ด้านการศึกษา (ศธ./นร.)
3.2 นโยบายแรงงาน (รง./ศธ./อก./กษ./พณ./สธ./วท.
นโยบายที่ 4 เศรษฐกิจ
4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม (อก./รง./ศธ./กค.
นโยบายที่ 6 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต (วท./นร./ศธ.)

ห้องเรียนคุณภาพ

ห้องเรียนคุณภาพ
ห้องเรียนคุณภาพ
องค์ประกอบของห้องเรียนคุณภาพประกอบด้วย
ครู
1. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ( BWD )
3. การใช้ ICT เพื่อการสอนและการสนับสนุนการสอน
4. การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
5. สร้างวินัยเชิงบวก ( Positive Discipline
ผู้บริหารสถานศึกษา
1. ผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. หลักสูตร
3. ICT โรงเรียน
4. การวางแผนพัฒนาตนเอง( ID Plan)
5. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ในระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ
2. Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้๔ที่มีประสิทธิภาพ
3. Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
4. Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างวินัยเชิงบวก
การสร้างวินัยเชิงบวก คือ การปฏิบัติต่อเด็กในฐานะผู้ที่กำลังเรียนรู้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงและ เคารพในศักดิ์ศรีเป็นแนวทางในการสอนที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จให้ความ รู้แก่เด็ก และสนับสนุนการเติบโต
สรุปได้ว่าการสร้างวินัยเชิงบวก คือต้อง ปราศจากความรุนแรง มุ่งที่การแก้ปัญหา เคารพในศักดิ์ศรี และอยู่บนหลักของการพัฒนาเด็ก
หลัก 7 ประการของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. เคารพศักดิ์ศรีของเด็ก
2. พยายามพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเอง และบุคลิกลักษณะที่ดี
3. พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด
4. คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก
5. คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก
6. พยายามให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติ
7. เสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม
ขั้นตอนของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. มีการบรรยายถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ตอนนี้ครูขอให้ทุกคนเงียบก่อนนะ
2. มีการให้เหตุผลที่ชัดเจน เช่น เราจะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์บทใหม่แล้ว ทุกคนต้องตั้งใจฟังนะ ซึ่งหมายความว่าการเงียบโดยเร็วเป็นการเคารพสิทธิผู้อื่น เป็นตัวอย่างของการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อ เรา
3. ขอให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้ เช่น เธอเห็นรึยังว่าทำไมการเงียบก่อนเริ่มเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วคอยให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้และเห็นชอบด้วยก่อนทำอย่างอื่นต่อไป
4. มีการให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น โดยการสบตา พยักหน้า ยิ้มหรือให้เวลาพักเล่นอีกห้านาที การให้คะแนนเพิ่ม ( การได้รับการยอมรับและชื่นชมจากสังคมเป็นรางวัลที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
CAR : Classroom Action Research
CAR มีขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ 4 ขั้นตอน
CAR1 : การวิเคราะห์ผู้เรียน
CAR2 : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง
CAR3 : การแก้ปัญหานักเรียน
CAR4 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และ ID Plan
การวางแผนพัฒนาตนเอง ( ID Plan )
ID Plan : Individual Development Plan
ID Plan ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ( ทั่วไป )
ส่วนที่ 2 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนที่ 3 การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะ
สมรรถนะ ( Competency ) แบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะ
1. สมรรถนะหลัก ได้แก่
1.1 การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
1.2 การบริการที่ดี
1.3 การพัฒนาตนเอง
1.4 การทำงานเป็นทีม
2. สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่
2.1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์
2.2 การสื่อสารและการจูงใจ
2.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2.4 การมีวิสัยทัศน์
การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค BWD
การออกแบบ BWD มี 3 ขั้นตอน
1. ต้องการให้เด็กเกิดการเรียนรู้อะไร ( เป้าหมาย )
2. เด็กต้องแสดงความสามารถออกมาในลักษณะใด/มีชิ้นงานอะไร
3. จะมีวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร
ICT : Information Communication Technology
การสร้างเครือข่าย
เครือ ข่าย ( Network ) หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆโดยยึดหลักการทำงานร่วมกัน บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกันมากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการ ศึกษาปฐมวัย กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา และกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยสามารถยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับอำเภอ
ภารกิจงาน
1. ส่งเสริมการพัฒนาครูปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมให้มีพัฒนาการครบทุก ด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา
3. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างหลากหลาย
4. ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย
5. ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยและพัฒนาฐาน ข้อมูลสารสนเทศ การจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ส่งเสริมสนับสนุนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
7. พัฒนาระบบติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาปฐมวัย ให้มีความต่อเนื่องทั่วถึงและมีคุณภาพ


คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลจังหวัด
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด
2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้เป็นกรรมการตามข้อ 3 ที่ได้รับคัดเลือกกันเอง 2 คน
3. กรรมการ
3.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์ต้นแบบปฐมวัย
3.2 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศูนย์ปฐมวัยประจำอำเภอ
3.3 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลในจังหวัด เขตละ 1 คน
3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลทุกเขต
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลจังหวัด
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. กำกับ ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ
4. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ
5. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด

3. ที่ปรึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด ประกอบด้วย ผุ้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตในจังหวัด ไม่เกิน 10 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
1. ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ และเชื่อมโยงนโยบายของ สพฐ. ต่อคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการ เรียนรู้ต่างๆ
2. เสนอแนะการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายและร่วมประสานการดำเนินงานพัฒนางานวิชาการ
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลของประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่ เกินอย่างละ 2 คน
2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก
2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก 2 คน
2.3 กรรมการ
2.3.1 ผอ.โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบทุกคน
2.3.2 ผอ.โรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอทุกอำเภอ
2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ปฐมวัย 1 คน
2.3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯของ สทท.
2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่

ระดับอำเภอ
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลอำเภอ
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่ เกินอย่างละ 2 คน
2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลต้นแบบ
2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก ไม่เกิน 2 คน
2.3 กรรมการ
2.3.1 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยประจำอำเภอ
2.3.2 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยทั่วไป
2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบพื้นที่นิเทศในอำเภอ
2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับอำเภอ
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด
คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมที่ได้รับเลือกตั้ง( จากผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนั้น สำหรับวาระแรกที่เริ่มจัดตั้งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการเพื่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบก่อนโดยไม่ต้อง เลือกตั้ง )
2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้ง ( ไม่น้อยกว่า 2 คน )
3. กรรมการ
3.1 ผู้บริหารโรงเรียนตัวแทนโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดละ 1 คน จากทุกเขต โดยขนาดของโรงเรียนใช้ใช้เกณฑ์จำนวนนักเรียนเฉพาะชั้นประถมศึกษา ( ช่วงชั้นที่ 1 – 2 ) ในแต่ละโรงเรียนเป็นหลักการกำหนดขนาด กล่าวคือ นักเรียนประถมศึกษา 500 – 1,000 คน จัดเป็นขนาดกลาง ( กรณีที่จังหวัดนั้นมีโรงเรียนไม่ครบทุกขนาดให้อนุโลมพิจารณาจากโรงเรียนที่ มีความเหมาะสมแทนขนาดที่ขาดและกรณีที่จังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทน โรงเรียนขนาดละ 2 คน )
3.2 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ทุกเขตและตัวแทนครูเขตละ 1 คน ( กรณีจังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทนครู 2 คน )
4. กรรมการและเลขานุการ
4.1 ผู้บริหารโรงเรียนที่ประธานเลือก กรรมการและเลขานุการ
4.2 รองผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
4.3 ศึกษานิเทศก์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
** กรรมการมีวาระคราวละ 2 ปีงบประมาณ ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระแต่งตั้งโดยท่านเลขาธิการ กพฐ.
คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนที่เป็นศูนย์ของเขตและไม่ได้อยู่ในเขตของประธานศูนย์ ( ถ้ามี 1 เขต ผอ.โรงเรียน 2 คน )
3. กรรมการ
3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน
3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระ เขตละ 3 คน
3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................เขตพื้นที่การศึกษา
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนประถมศึกษาในเขต
3. กรรมการ
3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน
3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนในเขตฯที่มีความเหมาะสม
3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
** คณะกรรมการศูนย์พัฒนา ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ + 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน + ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ + อื่นๆตามความเหมาะสมโดยประธานคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ประถมศึกษาจังหวัด

ศักดิ์ของกฎหมายและเศรษฐกิจพอเพียง
รัฐ ธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง การใช้อำนาจของผู้ปกครอง การสืบต่ออำนาจ ขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การบัญญัติกฎหมาย
กฎหมายคือ ข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม
พระ ราชบัญญัติ คือกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและอนุมัติ โดยรัฐสภาหรือองค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ และเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ถือว่ามีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์
พระ ราชกำหนด คือกฏหมายที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับตามคำ แนะนำของคณะรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติ พระราชกำหนดก็คือกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี พระราชกำหนดจะออกได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
พระราชกฤษฏีกา คือกฎหมายลำดับรองที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารทรงตราขึ้นใช้ บังคับตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในทางพฤตินัย พระราชกฤษฏีกาก็คือกฎหมายแม่บทภายในขอบเขตที่กฏหมายแม่บทได้ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฏีกาจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาไม่ว่าก่อนหรือหลังการประกาศใช้
ศักดิ์ของกฎหมาย ( Hierarchy of Low ) โดยมีลำดับชั้นจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้คือ
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
3. พระราชกฤษฏีกา
4. กฎกระทรวง
5. ข้อบัญญัติหรือข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวพระราชดำริ
การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรทั่วไป โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา โดยมีโครงการต่างๆมากมาย
1. โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการซึ่งทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นส่วนพระองค์ ทรงศึกษา หารือกับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆทรงแสวงหาวิธีทดลอง ปฏิบัติ ทรงพัฒนาส่งเสริมและแก้ไขดัดแปลงวิธีการ ในช่วงระยะหนึ่งเพื่อพัฒนาดูแลผลผลิตทั้งในและนอกพระราชฐาน
2. โครงการหลวง เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาชาวไทยภูเขาให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากลำเค็ญได้ด้วย วิธีการปลูกพืชทดแทนฝิ่น และให้ละเลิกการตัดไม้ทำลายป่า มาสู่วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ที่ทำให้มีรายได้ยิ่งขึ้น
3. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง โครงการที่พระองค์ได้พระราชทานข้อแนะนำแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการ ด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญาและกำลังแรงงาน พร้อมทั้งการติดตามผลงานให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชน
4. โครงการตามพระราชดำริ หมายถึงโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาลในแนวทาง ปัจจุบันเรียกว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy )
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ถึงระดับประเทศ โดยเน้นการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
ความหมายของคำว่าพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข
3 ห่วง
1. ความพอประมาณ ความพอดีที่ไม่น้อยและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการที่เกี่ยวข้อง ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา
2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และความอดทนมีความเพียรใช้สติปัญญา
ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีงานหลักคือ ทำการค้นคว้าทดลองและสาธิตเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้น ค้นสภาพและใช้ทำมาหากินได้
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี ทำการศึกษาพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการประมง
3. ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ทำการศึกษาการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการ ประมง
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาและค้นคว้าวิจัยเรื่องป่าไม้เสื่อมโทรม และการพัฒนาพื้นที่ต้นนำลำธารเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมและการสร้างความชุ่ม ชื้นให้แก่พื้นผิวดิน
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ทำการศึกษาวิจัยดินพรุในภาคใต้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้าน เกษตรกรรมได้
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯจังหวัดสกลนคร ศึกษาพัฒนาการอาชีพทั้งทางเกษตรกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการพัฒนาหมู่ บ้านตัวอย่าง
ตอนนี้เจออะไร ก็นำมาให้หมด อ่านให้หมด จำให้ได้ก็แล้วกันนะขอรับ..........ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน...ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น..........

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

รวมข้อสอบชัยภูมิ เขต 3

รวมข้อสอบภาค ข ชัยภูมิ
1.ข้อใดต่อไปนี้ไม่วัตถุประสงค์ของ PMQA
ก.เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ข.เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของหน่วยงาน สู่ระดับมาตรฐานสากล
ค.เป็นกรอบในการประเมินตนเอง เพื่อพัฒนาองค์กร และเป็นบรรทัดฐานในการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
(ง).เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้มีภาพลักษณ์สู่ความเป็นเลิศ
2.ข้อใดเป็นวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการ
ก.ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน
ข.ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
(ค).มุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมีขีดสมรรถนะสูงสามารถเรียนรู้ปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล
ง.สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและต่อสังคมโดยรวม
3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ก.มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
(ข).มิติด้านคุณภาพการบริการ
ค.มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ
ง.มิติด้านการพัฒนาองค์กร
4. ARS เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก.คำรับรองการปฏิบัติราชการ
(ข).แผนปฏิบัติราชการ
ค.การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ง.การพัฒนาระบบราชการ
5.แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 (ฉบับที่2) มุ่งเน้นการแก้ไขสิ่งที่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญของการพัฒนา ICT ของประเทศไทย เรื่องใด
(ก).คน
ข.สื่อ
ค.เครือข่าย
ง............
6.ข้อใดสอดคล้องกับ E – Student Loan
ก.ความพิการ
(ข).ความยากจน
ค.ความถนัดและความสนใจ
ง.แววอัจฉริยะ
7.กองทุนเงินให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมแก่ใคร
ก.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นต้นไป
ข.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป
ค.นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ง.นักศึกษา
8. World Economic Forum (WEF) ครั้งที่ 39 ได้จัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้หล่นมาจากอันดับที่1 ประเทศใดขยับขึ้นมาแทน
(ก).สวิตเซอร์แลนด์
ข.อิตาลี
ค.ฝรั่งเศส
ง.จีน
9.ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยอยู่อันดับที่ 81 ซึ่งแสดงว่าประเทศไทยมีการพัฒนาด้านสังคมหรือคุณภาพมนุษย์ต่ำกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใด
(ก.) UNDP
ข. UNPD
ค. UNHP
ง. DPNU
10.ผู้อำนวยการองค์การค้าโลก(อังค์ถัด)คือใคร
ก.นายธารินทร์ นิมานเหมินทร์
(ข.)ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
ค.ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ง.นายกรณ์ จาติกวานิชย์
11.ข้อใดไม่ใช่ “คำสั่งทางปกครอง”
ก.การสั่งการ
(ข).การออกกฎ
ค.การวินิจฉัยอุทธรณ์
ง.การรับรองและการรับจดทะเบียน
12.ใครเป็นเลขานุการ “คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ”(กงช.)
ก.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(ค).เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ง.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
13.ประธานคณะกรรมการคุรุสภา คนปัจจุบัน
ก.นายธงทอง จันทรางศุ
ข.นายประเสริฐ งามพันธ์
ค.นายเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
(ง).นายดิเรก พรสีมา
14.พรรครัฐบาลมีกี่พรรค
ก. 4 พรรค
(ข). 5 พรรค
ค. 6 พรรค
ง. 7 พรรค
15.ข้อใดไม่ใช่ระบบดูแลนักเรียน
(ก).การเยี่ยมบ้าน
ข.การคัดกรอง
ค.การรู้จักนักเรียนรายบุคคล
ก.การป้องกันและส่งต่อ

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

การประชุมสัมมนาหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ


การประชุมสััมนาผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ
โีรงเรียนในฝันสู่โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ชลบุรี