วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แท้จริงแล้วกฏ 80/20 คืออะไร

แท้จริงแล้วกฎ 80/20 คืออะไร?

มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนหนึ่งคงจะเคยได้ยินหรือ รับทราบเกี่ยวกับ หลักการ 80/20 หรือที่เรียกกันว่า Pareto Principle หรือ หลักการของพาเรโต (บางแห่งเรียก 80-20 หรือ Vital Few หรือ principle of factor sparsity) กันมาบ้างนะครับ โดยหลักคิดกว้างๆ ของกฎ 80/20 ก็คือ ร้อยละ 80 ของปัญหา มักจะมาจากสาเหตุเพียงแค่ร้อยละ 20 เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงพอจะทราบหลักทั่วๆ ไป แต่ยังไม่ทราบที่มาที่ไป รวมทั้งเบื้องหลัง และประโยชน์ ซึ่งผมจะขอนำมาเสนอในสัปดาห์นี้ครับ

หลักการนี้ตั้งชื่อตาม Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ซึ่ง Pareto เขาตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ร้อยละ 80 ของความมั่งคั่งในประเทศอิตาลี ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งที่มีเพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งคนทั่วๆ ไป ก็มักจะนึกว่า หลังจากที่ Pareto ได้ตั้งข้อสังเกตนี้ขึ้นมาก็บัญญัติเป็นกฎแล้วตั้งชื่อตามเขา แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่นำข้อสังเกตของ Pareto มาคิดเป็นรูปธรรมและตั้งเป็นกฎขึ้นมากลับเป็น Joseph Juran ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตำรับด้านคุณภาพในปัจจุบัน

ซึ่งก็มีเรื่องเล่ากึ่งๆ แซวว่า จริงๆ จะเรียกเป็น Juran’s Assumption หรือสมมติฐานของ Juran ก็ได้ เพียงแต่ฟังดูไม่ค่อยเพราะ ก็เลยใช้เป็น Pareto Principle แทน อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2003 ก็ได้มีความพยายามจาก American Society for Quality ในการเปลี่ยนชื่อหลักการนี้ให้เป็น Juran Principle เพื่อเป็นเกียรติแก่ Joseph Juran แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สำเร็จนะครับ

แนวคิดในเรื่องของ 80/20 นั้น ดูเหมือนจะเป็นหลักสากลที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากครับ แต่ก็ยังเจอที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ เหมือนกันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข 80 และ 20 ที่พอนำมาตั้งเป็นกฎแล้ว เราก็มักจะไปยึดติดกับตัวเลขสองตัวเลขนี้ ทำให้ในสถานการณ์ต่างๆ เราพยายามหาเจ้าตัวร้อยละ 80 และร้อยละ 20 ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวเลขไม่จำเป็นต้องเป็น 80 และ 20 ก็ได้ครับ เช่น ร้อยละ 80 ของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากร้อยละ 10 ของความพยายาม (ซึ่งก็จะกลายเป็นกฎ 80/10 ไป) หรืออาจจะเป็น 90/10 ก็ได้

ดังนั้น เวลาเรานำกฎนี้ไปใช้ เขาไม่ต้องการให้ไปยึดติดที่ตัวเลขทั้งสองตัว และไม่จำเป็นที่จะต้องรวมกันแล้วเท่ากับร้อย เพียงแต่กฎนี้เป็นแนวทางหรือกรอบให้เราคิดได้มากกว่าครับ

จริงๆ แล้ว ตอนที่ Juran คิดเรื่องกฎ 80/20 นั้น ก็เพื่อแยกสิ่งที่เขาเรียกว่า Vital Few หรือสิ่งที่มีความสำคัญเพียงไม่กี่ประการ ออกจาก Useful Many เพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ท่านผู้อ่านลองนึกดูอย่างง่ายๆ นะครับว่า เมื่อท่านมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ลูกค้าเริ่มไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของท่าน ท่านก็อาจจะประชุมผู้บริหารเพื่อระดมสมอง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของท่าน โดยท่านอาจจะหาสาเหตุมาได้เยอะแยะเต็มไปหมด (สมมติสิบกว่าข้อ) แต่ประเด็นที่สำคัญ คือไม่ใช่ว่าสาเหตุทั้งสิบกว่าข้อ จะมีความสำคัญหรือส่งผลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น (ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า)

ดังนั้น ท่านผู้อ่านก็จะต้องใช้หลักการ 80/20 หรือ Pareto Principle มาเพื่อช่วยหาว่าจริงๆ แล้วอะไรคือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญจริงๆ เพียงแค่ 2-3 ข้อก็ได้ (สาเหตุส่วนน้อย ที่นำไปสู่ปัญหาส่วนใหญ่)

หลักการนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั่วๆ ไปเลยครับ ตัวอย่างที่ผมมักจะใช้ตอนสอนหนังสือนิสิตที่จุฬาฯ คือการดูหนังสือสอบ หรือการทำรายงานครับ ท่านผู้อ่านอาจจะลองสังเกตตัวท่านเองในอดีตก็ได้ครับ นิสิตส่วนใหญ่มีเวลาในการดูหนังสือ สิบกว่าสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่แล้วหนังสือที่ได้ดูจะใช้เฉพาะช่วงเวลา ประมาณสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบเท่านั้น (เช่นในช่วงนี้เป็นต้น)

ประโยชน์ของ Pareto Principle คือช่วยทำให้พวกเราได้มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆ เพียงไม่กี่อย่าง พูดง่ายๆ คือในสิ่งที่เราในแต่ละวันนั้น อาจจะมีสิ่งที่ทำเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่มีประโยชน์หรือมีค่าต่อความ สำเร็จจริงๆ ดังนั้น เราคงจะต้องหาให้ได้ครับว่าในการทำงานชิ้นหนึ่งๆ อะไรคือส่วนที่เป็นส่วนน้อย แต่ส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จส่วนใหญ่ และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นส่วนน้อยแต่สำคัญ (Vital Few) เป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่อาจจะละเลยได้

หลักการของ Pareto สามารถนำมาปรับใช้ได้ในหลายๆ สถานการณ์นะครับ ท่านผู้อ่านลองถามตนเองในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ซิครับ สมมติท่านผู้อ่านมีลูกค้าอยู่ 100 ราย เคยสำรวจหรือเก็บข้อมูลไหมครับว่า กลุ่มที่ทำรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่ให้กับบริษัทนั้นเป็นกลุ่มไหน อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่รายหรือเพียงแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น เช่นเดียวกัน ถ้าท่านผู้อ่านมีผลิตภัณฑ์อยู่หลายชนิด อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่

นอกจากเรื่องของยอดขายและรายได้แล้ว ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกนะครับ เช่น การตัดสินใจที่สำคัญ จะเกิดจากเวลาที่ใช้ในการประชุมเพียงแค่ร้อยละ 20 หรือส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารจะถูกรบกวน จากคนเพียงแค่ส่วนน้อยเพียงไม่กี่คน หรือกลุ่ม หรือข้อร้องเรียนของลูกค้าส่วนใหญ่ จะมาจากปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ ซากๆ อย่างไรก็ดี ท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมนะครับว่า เราอย่าไปยึดติดกับตัวเลข 80 หรือ 20 ผมมองว่าตัวเลขทั้งสองตัวเลขเ ป็นเหมือนตัวเลขที่อุปมาขึ้นมา ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันตัวเลขย่อมไม่เท่ากัน

หลักการของ Pareto เป็นหลักการง่ายๆ แต่สามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ดีนะครับ โดยเราจะต้องหาเจ้า 20% ให้เจอ และให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เหมือนกับที่ผมนั่งเขียนบทความนี้เหมือนกันครับ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกินเวลากว่าสี่ชั่วโมง แต่ปรากฏว่าเวลาที่นั่งพิมพ์จริงๆ ใช้เพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานปริญญาเอก

ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ข้อแตก ต่างที่สามารถจะบ่งบอกระดับหัวข้อวิจัยระหว่างปริญญาโทและปริญญาเอกได้อย่าง ชัดเจนก็คือ
1. ระดับความยาก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกมักจะเป็นงานวิจัยที่มีกระบวนวิธีในการวิจัย (Research Methodology) ในระดับสูงใช้วิธีการวิจัยที่ยุ่งยากและซับซ้อน เป็นวิธีการที่ไม่ใช้ในงานวิจัยระดับปริญญาโทอันเป็นวิธี การทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น ระดับปริญญาเอกไม่ทำสำรวจธรรมดาหรือไม่ทำการทดลองสองกลุ่มเล็ก ๆ แต่จะเป็นวิธีการวิจัยประเภท วิจัยนโยบาย วิจัยอนาคตภาพ วิจัยเชิงสาเหตุ วิจัยเมต้า วิจัยความสัมพันธ์หลายชั้นวิจัยเชิงทดลองหลายกลุ่มร่วมกัน หรือวิธีการวิจัยมีมากกว่า 1 วิธีในงานวิจัยเดียวเช่น การ ทำ Delphi แล้วนำไปพัฒนาเป็นโมเดล การทำวิจัยด้วยวิธีวิจัยหนึ่งแล้วนำไปพัฒนาด้วยอีกวิธีการหนึ่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วนำไปวิเคราะห์จำแนกอีกชั้นหนึ่ง การวิจัยแบบส่วนร่วม (PAR) แล้วนำเอาไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่และสถิติที่ใช้ในการวิจัยก็มักจะเป็นสถิติระดับสูงที่ยากและซับซ้อน มาก เช่น Factor Analysis, Canonical, Path Analysis, ANCOVA, MANOVA ฯลฯ
ข้อโต้ แย้งของนักศึกษาปริญญาโท บางสาขาที่เรียนวิธีการวิจัยและสถิติอาจจะบอกว่า วิธีการวิจัยและการใช้สถิติของเขาก็ยากเช่นกันจึงควรจะเทียบเท่ากับปริญญา เอก ซึ่งข้อโต้แย้งดังกล่าวก็โต้แย้งได้ถูกต้องและมีเหตุผล เพราะความยากของวิธีวิจัยบางสาขาก็ต้องยกย่องว่ายากยิ่ง บางสาขาเชิงวิศวกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ก็ยากยิ่งที่จะเข้าใจได้เหมือนกัน ก็จะมีคำตอบในระดับต่อไป
2. ระดับความใหญ่ หมายถึง ระดับของงานวิจัยปริญญาเอกจะเป็นงานวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา หรือการสร้างองค์ความรู้ในระดับชาติ หรือระดับสากล การได้มาของข้อมูลเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก หรือกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มาก การเก็บข้อมูลใช้ เวลานาน การสร้างเครื่องมือวิจัยมีมากมายหลายชุดครอบคลุมทุกประเด็นทุกปัจจัย ที่ต้องการศึกษา วิธีการวิจัยก็จะเป็นในเชิงนโยบายของชาติใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร (Document Research)แนว วิจัยเชิงนโยบา(Policy Research)
เกี่ยวพันกับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ยากยิ่งจะได้ข้อมูล การวิเคราะห์ที่ลงรายละเอียดรอบด้านและการสังเคราะห์ที่ต้องครอบคลุม ทุกประเด็นในศาสตร์ กว้างใหญ่และมโหฬารงานสร้างหรือมหาศาลด้วยข้อมูล แต่ หนักแน่นด้วยข้อมูลหลักฐานไม่กว้างใหญ่ไร้จุดหมาย หาจุดจบไม่เจอ คิดนอกกรอบจนออกไปนอกประเด็น หรือออกไปนอกสาขากู่ไม่กลับ ไร้สาระและจับประเด็นสำคัญไม่ได้ระดับความใหญ่ของงานวิจัยปริญญาเอก จึงใหญ่ด้วยสาระของงาน ไม่ใช่เย็บเล่มวิทยานิพนธ์ หนามากเป็นพิเศษ
3. ระดับความลึก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกที่มีความมุ่งหมายเจาะจงเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงเรื่องเดียว มุ่งที่จะเขียนองค์ความรู้ใหม่ หลักการใหม่หรือทฤษฎีใหม่ มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นน้อยมาก หรือยังหาผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นอย่างแท้จริงไม่ได้ เป็นการเจาะลึกลงไปในศาสตร์ที่ในอดีตหาคำตอบไม่ได้มาก่อน หรือคำตอบที่ได้ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน จำเป็นที่จะต้องเจาะลึกลงไปเพื่อให้พบความกระจ่างแท้จริงในเรื่อง นั้น ผลที่ได้ของการวิจัยเชิงลึกก็คือ ทฤษฎี หลักการ สูตร การแก้ปัญหา การพัฒนาที่สำเร็จเสร็จสิ้น การได้องค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีใครค้นพบ การค้นพบที่หักล้างทฤษฎีหรือหลักการเดิม ฯลฯ ผู้วิจัยก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นในระดับชาติหรือสากล ซึ่งหาผู้ที่จะเทียบได้น้อยหรือหาได้ยากยิ่ง การ วิจัยเชิงลึกเป็นการสร้างนักวิจัยที่มีวิธีการคิดลึกซึ้ง เต็มไปด้วยจินตนาการ มองทุกอย่างครอบคลุมและรอบด้าน ละเอียดรอบคอบและคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี มักเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ไม่มุ่งเน้นไปที่สถิติยากแต่เน้นการลงลึกในรายละเอียดโดยการได้มา ซึ่งความรู้หรือทฤษฎีอยู่ในขั้นยาก อาจเป็นงานระดับชาติหรืองานระดับสากล หรือ อาจเป็นงานในระดับเล็กแต่จะเป็นพื้นฐานสำคัญหรือรากเหง้าของศาสตร์ในอนาคต ได้
มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทย
เมื่อพิจารณาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทยตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ (2548) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระบบ บัณฑิตศึกษาของไทย จะแยกระดับงานวิจัยออกเป็นระดับ ที่มีหน่วยกิตแตกต่างกันในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เมื่อเปรียบเทียบตามระดับหน่วยกิตก็ได้เป็นระดับ 6 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 48 - 72 หน่วยกิต ได้แก่
ภาคนิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ 3-6 หน่วย กิต
บัณฑิตศึกษาหลายแห่งกำหนดโครงสร้างหลักสูตรปริญญาโทเป็นแบบที่เรียกกันว่า แผนข
คือ ทำการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิตบ้างหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิตและให้เรียนวิชาเพิ่มเติมอีก 2 วิชา การค้นคว้าอิสระหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิต เป็นการทำภาคนิพนธ์โดยนักศึกษาซึ่งเหมือนกับการฝึกทำงานวิจัย เป็นรายวิชาที่เน้นฝึกกระบวนการวิจัย โดยมี อาจารย์ควบคุมเพียงคนเดียวและมีกรรมการสอบ 3 คน เป็นการทำวิจัยครบ 5 บท กรอบวิธีการวิจัยขนาดเล็กเน้น เพียงกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง มักทำให้หน่วยงานหรือองค์กร ไม่สามารถนำมาอ้างอิงหรือยอมรับเป็นหลักการและทฤษฎีใด ๆ ได้ เป็นงานที่ฝึกกระบวนการให้ครบถ้วนและรู้จักวิธีการทำวิจัย ปัญหาของนักศึกษาก็คือ หลายคนสับสนและขาดความเชื่อมั่น เมื่อจบไปไม่พร้อมเป็นนักวิจัยและเมื่อศึกษาต่อปริญญาเอกบางแห่งก็ขอให้นักศึกษาเรียนปรับพื้นฐาน การวิจัยหรือให้มีผลงานวิจัยจริงเพื่อมาสมัครสอบ ขณะเดียวกันรายวิชาวิทยานิพนธ์บางแห่ง 6 หน่วยกิต แต่ก็มีกระบวนการและขั้นตอนการ วิจัยเต็มกระบวนการวิจัย
มีการสอบและขั้นตอนเข้ม ข้นเท่ากับงานวิจัยขนาด 12 หน่วยกิต ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นหลักการและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี จึงต้องพิจารณางานวิจัยจากเนื้อหามากกว่าพิจารณาหน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต (Thesis) เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานบัณฑิตศึกษาที่งานวิจัยระดับปริญญาโทจะต้องมีถึง 12 หน่วยกิต เพื่อให้เวลากับนักศึกษาได้ทำการค้นคว้าอย่างเพียงพอและมีขอบเขตงาน ที่กว้างขวาง ลุ่มลึกและซับซ้อนสมกับความเป็นมหาบัณฑิต ซึ่ง หลายสถาบันกำหนดขนาดของงานวิจัยระดับปริญญาโทที่ 12 หน่วยกิต อาจแยกเป็นหน่วยกิตลงหลายภาคเรียนหรืออาจลงทะเบียนครั้งเดียวเมื่อ สามารถทำวิจัยได้สำเร็จก่อนกำหนด งานวิจัยระดับนี้จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน และมีกรรมการสอบ 3-5 คน และมีอาจารย์จากภายนอกสถาบันมาร่วมพิจารณาผลการวิจัยด้วยหรือเป็นประธานในการสอบ เพื่อควบคุมคุณภาพในการวิจัย ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48 หน่วย กิต (Dissertation) แต่เดิม วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกบางแห่งจะกำหนด 36 หน่วยกิต ต่อมาได้ปรับเป็น 48 หน่วยกิต ตามข้อกำหนดมาตรฐานบัณฑิตศึกษาสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาเอก สำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโทและต้องมีการเรียนการสอนวิชาชั้นสูงเพิ่ม เติม เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เวลาความมานะอุตสาหะ กระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ในการบ่มเพาะนักวิจัยระดับสูงให้ทำงานวิจัยในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานระดับต่าง ๆ มากมาย
สร้างนักวิชาการชั้นสูงที่ลุ่มลึกในศาสตร์การวิจัย แม่นยำในระเบียบวิธีการวิจัย ชัดแจ้งและรอบรู้ในสิ่งที่ศึกษา การแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางวิชาการด้วยความมั่นใจและเชื่อมั่น ในวิถีที่ถูกต้องเพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตผู้มี คุณธรรมและจริยธรรม เป็นปราชญ์อย่างแท้จริงจำเป็นต้องให้หน่วยกิตมากและยากจะสำเร็จใน เวลาอันสั้น ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คน มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณาวิทยา นิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัย
ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48-60 หน่วยกิต เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานสำหรับผู้ศึกษาระดับปริญญาเอก ประเภทที่ไม่มีการเรียนการสอนเพิ่มเติม แต่เน้นการทำวิจัยเพียงอย่างเดียวโดยการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ เริ่มต้นศึกษา เป็นการวิจับที่ถือว่าผู้ศึกษาเป็น นักวิจัยมืออาชีพ เคยทำวิจัยในระดับปริญญาโทหรือเป็นนักวิจัยที่มีผลงานมาโดยตลอดหลัง สำเร็จมหาบัณฑิต ไม่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก มีประสบการณ์มามากและทำงานในหน่วยงานขนาดใหญ่หรือระดับชาติอยู่แล้ว มีผลงานเชิงประจักษ์ที่นำเสนอในการประชุมหรือสัมมนาระดับชาติหรือ ระดับนานาชาติสม่ำเสมอจึงทำวิจัยเพียงอย่างเดียว โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คนอย่างใกล้ชิด มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณา วิทยานิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัยเช่นเดียวกับระบบปกติระดับงานวิจัยขนาด 48-60 หน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต สำหรับผู้ที่เรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถยอดเยี่ยมหรือโดดเด่น เช่น สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็สามารถเรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอกได้

คำตอบของความแตกต่างระหว่างงาน วิจัยระดับปริญญาโทกับระดับปริญญาเอก
เมื่อต้องตอบคำถามถึงแตกต่างระหว่างงานวิจัยระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอก ย่อมมีอย่างแน่นอน ขอตอบแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ ความยาก ความใหญ่ และความลึก
ความยาก คือ วิธีการวิจัย + สถิติ + การได้มาของข้อมูล
ความใหญ่ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ
ความลึก คือ หลักการ ทฤษฎี ความรู้ใหม่ อ้างอิงได้

การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน Abstract เป็นปัญหาของนักวิจัยไทยส่วนใหญ่ บางคนอาจต้องขอให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีเขียนให้ แต่หากเราเขียนบทคัดย่อภาษาไทยไม่ชัดเจนแล้วก็ยากที่ผู้อื่นจะเขียน abstract โดยดูจากเฉพาะบทคัดย่อภาษาไทยได้นอกจากจะต้องกลับไปดูเนื้อเรื่อง ทำให้เสียเวลา เพื่อช่วยให้เขียน abstract ง่ายขึ้น บทคัดย่อภาษาไทยจึงควรเขียนให้มีโครงสร้างประโยคชัดเจน โดยลองใช้เครื่องหมายวรรคตอนเช่น มหัพภาค(full stop) และ จุลภาค (comma) แบบภาษาอังกฤษ จะช่วยให้เขียน abstract ได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยลบเครื่องหมายต่าง ๆ ออกในภายหลัง

หลักการเขียนบทคัด ย่อ
บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อโดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อ เรื่อง บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้ คือ
1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับ ในเนื้อหาสัมมนา
3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง
ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ
5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา

ประเภทของบทคัดย่อ
บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น



การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision)
คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
2. มีความถูกต้อง (Precision)
คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity)
การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ

การเขียนบทคัดย่องานวิจัย

การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective)
เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการ ศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
2. วิธีการ (Methodology)
เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลและบทสรุป (Result and Conclusions)
เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย

เหตุใดคุณจึงควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?

1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น

บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?

1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้ อย่างสะดวกง่ายดาย
กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย

แหล่งที่มา : http://www.trang1.go.th/view.php?article_id=2514

เขียนโดย ดร.จำเริญ จิตรหลัง Ed.D
(Educational Administratio

เทคนิคเดลฟาย(Delphi technique)

เทคนิคเดลฟาย
(Delphi technique)

เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม แพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา สำหรับทางเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้นของเทคโนโลยีการศึกษา อีก

ความหมายของเทคนิคเดลฟาย
5 ปี ทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ e –Learning ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งเทคนิคเดลฟายเป็นวิธีการวินิจฉัยหรือตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่มีการเผชิญหน้า กันโดยตรงของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกันกับการระดมสมอง (Brain storming) ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตน เองอย่างเต็มที่และอิสระ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีโอกาสกลั่นกรองความคิดเห็นของตนอย่างรอบคอบทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ได้

เจนเซน

จากความหมายสรุปได้ว่า

คุณลักษณะของเทคนิคเดลฟาย
(Jensen. 1996 : 857) ได้ให้คำ นิยามของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นโครงการจัดทำรายละเอียดรอบคอบ ในการที่จะสอบถามบุคคลด้วยแบบสอบถามในเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นกลับมา โดยมุ่งที่จะรวบรวมการพิจารณาการตัดสินใจและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคตจอห์นสัน (Johnson. 1993 : 982) ได้ให้ความหมายของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นเทคนิคของการรวบรวมการพิจารณา การตัดสินใจที่มุ่งเพื่อเอาชนะจุดอ่อนของการตัดสินใจแต่เดิมที่จำเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคน ใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรือความคิดเห็นของกลุ่มหรือมติของที่ประชุมเทคนิคเด ลฟาย คือ กระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจหรือลงข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญโดยรวบรวมและสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

1. เทคนิคเด ลฟายเป็นเทคนิคที่มุ่งแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการตอบแบบสอบถาม ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงจำเป็นต้องตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการตอบหรือการตัดสินใจของ ผู้เชี่ยวชาญจะมีความถูกต้องและความตรงสูง เมื่อผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นที่ผู้ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ ศึกษา

2. เป็นเทคนิค ที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนที่ร่วมในการวิจัยจะไม่ทราบว่าใครเป็นใครบ้าง ที่มีส่วนออกความเห็นและไม่ทราบว่าแต่ ละคนมีความคิดเห็นในแต่ละข้ออย่างไร ซึ่งนับว่าเป็นการขจัดอิทธิพลของกลุ่มที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของตน

3. เทคนิคเด ลฟายนี้ได้ข้อมูลมาจากแบบสอบถาม หรือรูปแบบอย่างอื่นที่ไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาพบกัน โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องตอบแบบสอบถามครบทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อถือได้จึงต้องมีการใช้แบบสอบถามหลาย ๆ รอบ ซึ่งโดยทั่ว ไปแบบสอบถามในรอบที่ 1 มักเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและในรอบต่อ ๆ ไป จะเป็นแบบสอถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณ ค่า (Rating Scale)

4. เพื่อให้ผู้ เชี่ยวชาญแต่ละคนได้ตอบแบบสอบถามโดยกลั่นกรองอย่างละเอียด รอบคอบและให้คำตอบได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ผู้ทำวิจัยจะแสดงความคิดเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันในคำตอบแต่ละข้อของแบบสอบถามที่ตอบลงไปในครั้งก่อน แสดงในรูปสถิติ คือ ค่ามัธยฐานและค่า พิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนพิจารณาว่าจะคงคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่

5. สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์จะเป็นสถิติเบื้องต้น คือ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ฐานนิยม(Mode) มัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจายของข้อมูล คือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยของเทคนิคเดลฟาย มีขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ปัญหาที่จะวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายควรเป็นปัญหาที่ ยังไม่มี คำตอบที่ถูกต้องแน่นอนและ สามารถวิจัยปัญหาได้จากการให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เป็นผู้ตัดสิน ประเด็นปัญหาควรจะนำไปสู่การวางแผน นโยบายหรือการคาดการณ์ในอนาคต



2. การเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนนี้ มีความสำคัญมากเนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะของ การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย คือ การอาศัยข้อคิดเห็นจากการตอบของผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยจะน่าเชื่อถือหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เลือก สรรมานั้น สามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด ดังนั้น สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงในการเลือกกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญ ได้แก่ ความสามารถของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจำนวนผู้เชี่ยวชาญและวิธีการ เลือกสรรผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น



3. การทำแบบสอบถาม ในกระบวน การวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟายนี้ จะให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวน4รอบ ดังนี้



3.1 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 1 การทำแบบ สอบถามฉบับแรก โดยทั่วไป แบบสอบถามฉบับ แรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดและเป็นการถามแบบกว้าง ๆ ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่จะวิจัย นั้น เพื่อระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยทางไปรษณีย์ที่สอดซองซึ่งจ่าหน้าและปิดดวงตราไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญ กำหนดเวลาในการส่งคำตอบนี้คืนภายใน 2 สัปดาห์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญคนใดไม่ส่งคืนควรทวงถาม สำหรับการวิเคราะห์คำตอบแบบสอบถามรอบแรกผู้วิจัยจะต้องรวบรวมความคิดเห็นและวิเคราะห์โดยละเอียดและนำมา สังเคราะห์เป็นประเด็น โดยตัดข้อมูล ที่ซ้ำซ้อนออกเพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามในรอบต่อไป



3.2 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 2 โดยการนำคำ ตอบที่วิเคราะห์ได้จากรอบแรกมา สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) อาจใช้ 5 ระดับเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ คนให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อ รวมทั้งเหตุผลที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของแต่ละข้อลงในช่องว่างที่เว้นไว้ตอนท้ายประโยค หรือควรการแก้ไขสำนวนผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ แล้วส่งแบบสอบถามในรอบนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมและอำนวยความสะดวกในการ ส่งคืนทางไปรษณีย์เช่นเดียวกับรอบแรก และสำหรับการวิเคราะห์คำตอบจากแบบสอบ ถามรอบที่ 2 โดยการนำคำตอบแต่ละข้อมาหาค่ามัธยฐาน(Median) ฐานนิยาม (Mode)และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) นำคำตอบแต่ละข้อจากการวิเคราะห์รอบที่ 2



3.3 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่าพิสัยระ หว่างควอไทล์ กล่าวคือ ถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบแสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ สอดคล้องกัน ซึ่งถ้าผู้วิจัยได้ข้อมูลเพียงพอก็อาจสรุปผลการวิจัยได้รอบนี้เลย แต่ถ้าถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์กว้าง(มีค่ามาก)แสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญไม่สอดคล้องกัน(ต่างกัน) ก็อาจสร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบ สอบถามรอบที่ 3 โดยมีข้อความเดียวกันกับแบบสอบถามรอบที่ 2 แต่เพิ่มตำแหน่งของค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และเครื่องหมายแสดงตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้น ๆ ได้ตอบในแบบสอบถามรอบที่ 2 ลงไป แล้วส่งกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นได้ยืนยันคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบใหม่ ทำตามขั้นตอนหรือวิธีการ เดียวกันกับรอบที่ 3



3.4 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 4 ถ้าผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ ปรากฏคำตอบที่ได้มีความสอดคล้องกัน นั่นคือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบก็ยุติกระบวน การวิจัยได้ แต่ถ้าคำตอบทั้งหมดยังมีความต่างกันก็สร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบสอบถามรอบที่ 4 โดยมีข้อความเดียวกันกับ แบบสอบถามรอบที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวิจัยเดลฟายส่วน ใหญ่สามารถได้ข้อสรุปผลการวิจัยจากแบบสอบถามรอบที่ 3 และหากดำเนิน การวิจัยรอบที่ 4 ก็จะได้ข้อสรุปใกล้เคียงกับรอบที่ 3

การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย จะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญ รูปแบบของแบบสอบถามใช้ทั้งสองประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า

การให้ข้อมูลย้อนกลับใน กระบวนการเดลฟาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับรู้ระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยสรุปรวมว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อข้อความแต่ละข้อ ข้อมูลย้อนกลับนี้ จะนำเสนอด้วยค่าสถิติ ค่าสถิติที่นำเสนอจะประกอบด้วยข้อมูล
( โดยทั่วไปใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ) เทคนิคเด ลฟายที่พัฒนามาแบบดั้งเดิม จะเก็บข้อมูล รอบแรกโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ส่วนรอบต่อมาจะใช้แบบปลายปิด การเก็บข้อมูลในรอบแรกโดยใช้แบบสอบถาม ปลายเปิดมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความคิดเห็นกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญสำหรับแบบสอบถามในรอบที่สองพัฒนามาจากคำตอบของแบบ สอบถามในรอบแรก โดยนำความคิดเห็นทั้ง หมดจากผู้เชี่ยวชาญมาสังเคราะห์สร้างเป็นแบบสอบถามปลายเปิดชนิดมาตรประมาณ ค่าแล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจัดลำดับ ความสำคัญหรือคาดการณ์แนวโน้มในแต่ละข้อการจัดทำแบบสอบถามในรอบที่ 3 นั้น จะมีการนำคำตอบของแต่ละข้อที่ได้รับจากแบบสอบถามรอบที่ 2 ทั้งหมดมาคำนวณค่าสถิติ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจัดทำแบบสอบถาม คือ การเลือกค่าสถิติที่ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ( Median ) ฐานนิยม ( Mode ) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ( Interquartile Range) หรือ ความถี่ ร้อยละ เป็นต้น2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยค่าสถิติ 2 ส่วน คือค่าสถิติที่แสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปรวมซึ่งอาจแสดงด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม หรือร้อยละเพื่อแสดงความคิดของคนส่วนใหญ่ ค่าสถิติส่วนที่สองคือ ค่าสถิติที่แสดงการกระจายของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแสดงระดับความสอดคล้องของความคิด ของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่พบบ่อย ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ หรือการแจกแจง ความถี่หรือร้อยละในแต่ละกลุ่มคำตอบ กลุ่มที่สอง เป็นตัวเลขที่แสดงคำตอบของผู้เชี่ยวชาญในรอบที่แล้ว เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องหรือความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนกับความคิดเห็นของกลุ่ม

จำนวนรอบที่เหมาะสม

การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย สามารถดำเนินการได้หลายรอบจนกว่าจะได้คำตอบที่สอดคล้องกันของสมาชิกในกลุ่ม จำนวรอบที่เหมาะสมของเทคนิคเดลฟาย ขึ้นอยู่กับการได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติหรือจนกว่าสามารถให้เหตุผลได้ว่าทำไมจึง ไม่สามารถได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติ โดยปกติการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟายอย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้

อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบ กระบวนการไม่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจำนวนกี่รอบ เนื่องจากขึ้นอยู่กับระดับฉันทามติของกลุ่มว่าจะสามารถบรรลุผลได้ในรอบใด
2 รอบ แต่ไม่ควรเกิน 4 รอบ

รูปแบบของเทคนิคเดลฟายที่ใช้ ในการวิจัย

รูปแบบของเทคนิคเดลฟายมี

เทคนิคเดลฟายแบบปรับ ปรุง

เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงหรือ
2 รูปแบบ คือ รูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบปรับปรุง ธรรมชาติของเดลฟาย มีลักษณะสำคัญ หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ เพื่อสร้างความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือฉันทมติระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยว ชาญในการนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ ที่มีรูปแบบการดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามนำในรอบแรกและแบบสอบถามที่ใช้ในรอบแรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดการนำเทคนิคเดลฟายแบบเดิมไปใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประสบปัญหาหลายด้าน เช่น การใช้ เวลาในการตอบแบบสอบถามปลายเปิดนาน การเก็บข้อมูลหลายรอบทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกเบื่อและถูกรบกวนมากเกินไป อัตราการตอบกลับแบบสอบถามค่อนข้างต่ำ ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยมีความหลากหลาย ตอบเข้าหาค่ากลางเพื่อให้ยุติโดยเร็วปัญหาเหล่านี้จึงทำให้ผู้วิจัยปรับปรุง ข้อจำกัดของเทคนิคเดลฟายแบบเดิมให้ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นModified Techniques หมายถึง เทคนิคเดลฟายที่มีการปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินการให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ และลดข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเทคนิคเดลฟายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามของเทคนิคเดลฟายในแต่ละรอบใช้ระยะ เวลาไม่ต่ำกว่า 40 วัน จึงมีความพยายามหาวิธีลดระยะเวลาในการ เก็บข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การใช้วิธี ระดมความคิดแทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมแนวคิดที่หลาหลายของกลุ่มบุคคล สำหรับการจัดทำเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดในรอบที่ 2 ของเทคนิค เดลฟายแบบดั้งเดิม การระดมความคิดจะช่วยลดระยะเวลาสำหรับการจัดทำแบบสอบถามในรอบสอง เพราะการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มด้วยเทคนิคระดมควมคิดจะทำให้ได้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีการอภิปรายภายในกลุ่มอย่างมีเหตุผล และช่วยลดระยะเวลาในการรอแบบสอบกลับคืนในรอบแรก

2. การใช้วิธี การสัมภาษณ์แทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก จุมพล พูลภัทรชีวัน ได้ปรับปรุงเทคนิคเดลฟายให้เหมาะกับการวิจัยอนาคต โดยพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า EDFR( Ethnographic Delphi Futures Research ) เทคนิคนี้เก็บรวบรวมข้อมูลรอบแรกด้วยการสัมภาษณ์ไม่ไม่การจำกัดขอบเขตของแนวคิดของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ใช้การสัมภาษณ์แบบเปิดและไม่ชี้นำ ผู้ให้สัมภาษณ์มีโอกาสปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขข้อมูลที่ให้สัมภาษณ์ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ

3. การประชุมแบบเดลฟาย ( Delphi Conference ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะของการประชุม ระหว่างการประชุมจะเก็บข้อมูลซ้ำด้วยแบบสอบถาม และนำเสนอข้อมูลย้อนกลับแก่ สมาชิกในกลุ่ม และขอให้ผู้ให้ข้อมูลพิจารณาและตรวจสอบความคิดเห็นของตนเองอีกครั้งพร้อมกับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายกันภายในกลุ่ม การเก็บข้อมูลแบบนี้ไม่สามารถปิดบังสถานภาพทางสังคมของผู้ให้ข้อมูลได้ ผู้วิจัยสามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลได้

4. เดลฟายใช้คอมพิวเตอร์ เป็นฐาน ( Computer – Based Delphi ) การวิจัยที่ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านทาง คอมพิวเตอร์ ผู้ให้ข้อมูลจะเห็นข้อมูลของสมาชิกในกระบวนการ โดยไม่ต้องอาศัยการสรุปหรือวิเคราะห์ความคิดโดยนักวิจัยซึ่งอาจมี ความลำเอียง วิธีนี้จะเก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ประหยัด

5. เดลฟายกลุ่ม ( Group Delphi ) Wikin และ Altschuld (1995) เสนอการใช้เดลฟายกลุ่มโดยการกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและเชิญเข้ามีส่วนร่วมในการประชุม เมื่อได้รับการตอบรับและผู้เชี่ยวชาญ ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมในการประชุมแล้ว ผู้ประเมินความต้องการจำเป็น ( needs assessor ) ส่งแบบสอบถามรอบที่ 1 ไปให้ก่อน การประชุม หลังจากนั้นก่อนหรือหลังการประชุมประมาณ 3-4 ชั่วโมง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะได้รับแบบสอบถามฉบับที่ 2 ผู้เชี่ยว ชาญใช้ช่วงเวลาระหว่างพักการประชุม ประมาณ 20 นาที ในการตอบแบบสอบถามโดยผู้ประเมินความต้องการจำเป็นขอความร่วมมือไม่ให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถาม ภายในกลุ่ม ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นรวบรวมคำตอบที่ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นสร้างแบบสอบถามรอบที่ 3 เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามรอบที่ 3 เสร็จเรียบร้อย ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นนำข้อเสนอแนะหรือประเด็นที่มีผู้ไม่เห็นด้วยมาพิจารณาร่วมกันแบบเผชิญหน้าเพื่อหาข้อ สรุป3 ประการ คือ การกำหนดโครงสร้างของเส้นทางการส่ง ผ่านข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการเก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล เทคนิคนี้เหมาะสมกับการใช้กับการคาดการณ์ในมิติที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่มีมิติเดียว วิธีนี้สามารถไปใช้คู่กับเทคนิคเชิงอนาคตอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้

1. เป็นเทคนิค ที่สามารถรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก โดยไม่ ต้องมีการพบปะหรือประชุมกัน ซึ่งเป็นการทุ่นเวลาและค่าใช้จ่าย

2. ข้อมูลที่ ได้จะเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือ เพราะ เป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน สาขานั้น ๆ อย่างแท้จริงและคำตอบได้มา จากการย้ำถามหลายรอบ

3. เป็นเทคนิคที่มีขั้น ตอนการดำเนินงานไม่ยากนัก ได้ผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

4. ผู้เชี่ยว ชาญที่เข้าร่วมการวิจัยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ มีโอกาส ได้รับทราบผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ ละรอบและปรับเปลี่ยนหรือยืนยันความคิดเห็นของตนเอง

1. ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ รับการคัดเลือก มิใช่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในสาขานั้น

2. ผู้เชี่ยวชาญไม่ให้ ความร่วมมือในการวิจัย

3. นักวิจัยขาดความ รอบคอบหรือมีความลำเอียงในการพิจารณาคำตอบ

4. แบบสอบถาม ที่ส่งไปสูญหายหรือไม่ได้รับคำตอบกลับคืนมา

เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ใช้กระบวนการกลุ่มในการหาคำตอบ หรือการตัดสินใจลงข้อสรุป ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญซึ่งหัวใจสำคัญของเทคนิค เดลฟาย คือ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย จะต้องมีความชัดเจน ง่ายแก่การอ่านและผู้ตอบเข้าใจตรงกันในคำถาม และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้วิจัยเอง ต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย เพราะเทคนิคเดลฟายมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด และตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) ที่ ทำให้การวิจัยไม่สำเร็จได้

Jensen, C. Delphi in Depth: Power Techniques from the Experts Berkeley. Singapore:

McGraw-Hill, 1996.

Johnson Perry, L. ISO 900 Meeting the New International Standard. Singapore:

McGraw-Hill, 1993.
รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

บุญชม ศรีสะอาด , นิภา ศรีไพโรจน์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจักต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเป็นสำคัญเพราะการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูง ย่อมทำให้บุคคลมีคุณภาพทางการศึกษาสูงตามไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาประเทศโดยส่วนร่วม (คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2524 : 1) ในแผนการวิจัยทางการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 6 ได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาเพื่อการวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาในอนาคตไว้หลายด้าน ด้านคุณภาพการศึกษาข้อแรก (ข้อ 4.1) กำหนดไว้ว่า ควรวิจัยเชิงพัฒนาเกี่ยวกับการสอนของครูตามหลักสูตร ข้อที่ 3 (ข้อ 4.3) กำหนดไว้ว่า ควรวิจัยเชิงพัฒนาเนื้อหาสาระ และวิธีการเรียนการสอนให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2530 : 10)
จากการเห็นความสำคัญของกระบวนการเรียนการสอน จึงมีผู้วิจัยเชิงทดลองรูปแบบการสอนต่าง ๆ หลายรูปแบบ แต่การวิจัยเหล่านั้น ยังขาดจุดสำคัญ 2 ประการร่วมกัน ประการแรกเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน พบว่ายังไม่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ อย่างเพียงพอ และไม่ได้เน้นจุดที่ชี้ถึงประสิทธิภาพอย่างครอบคลุม ประการที่สอง ยังไม่พบว่ามีการพัฒนารูปแบบการสอนที่ชัดเจนในวิชาวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย ซึ่งเป็นวิชาที่สำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยในสาขาต่าง ๆ วิธีการทางสถิติช่วยให้การวิจัยในเรื่องต่าง ๆ สำเร็จได้ตามความมุ่งหมายส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ
หลายสาขาอย่างกว้างขวาง นิสิตนักศึกษาตามหลักสูตรขั้นบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษามีจำนวนมากที่จำเป็นต้องใช้วิธีการทางสถิติเป็นเครื่องมือช่วยในการวิจัย จากความสำคัญดังกล่าว จากความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำเอาความรู้ในวิธีการทางสถิติไปใช้ในการวิจัยของตนตามต้องการ ผลดังกล่าวนี้ยังจะเป็นประโยชน์เมื่อนิสิตนักศึกษาเหล่านั้นสำเร็จการศึกษา และทำการวิจัยโดยใช้วิธีการทางสถิติเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนครั้งนี้ มุ่งแก้ปัญหา 2 ประการนั้น โดยมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ด้านรูปแบบการสอน มุ่งให้ได้รูปแบบการสอนวิชาสถิติสำหรับการวิจัยที่มี
ประสิทธิภาพในการสอนเป็นกลุ่มเป็นห้อง
2. ด้านการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนา จะครอบคลุม
3 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความคงทนในการเรียนรู้ และด้านเจตคติต่อวิชา
ที่เรียน และพิจารณาจุดที่ชี้ถึงประสิทธิภาพหลายทางประกอบกัน
ในการวิจัยครั้งนี้ คาดว่าจะให้ประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้ได้รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้สอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เป็นการพัฒนาการวิจัยอีกด้วย
2. เป็นแนวทางการนำไปทดลองใช้กับวิชาอื่น ๆ ที่มีลักษณะธรรมชาติ เนื้อหาคล้ายคลึงกัน เช่น วิชาสถิติ และคณิตศาสตร์สาขาต่าง ๆ
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบการสอนที่ให้ผลสูงทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนใน
การเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาที่เรียน
สมมุติฐานในการวิจัย
รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่ผู้วิจัยพัฒนา เป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ เมื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนนี้แล้วจะให้ผลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา ส่วนมากมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนหลังทดลองในระดับสูง กล่าวคือ
1.1.1 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา ร้อยละ 80 ขึ้นไป มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
1.1.2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป
1.2 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างเชื่อมั่นได้ในระดับสูง กล่าวคือ
1.2.1 ค่าขนาดของผล (Effect Size) เมื่อใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทดลองเป็นหลักในการเปรียบเทียบ มีค่ามากกว่า 2.97
1.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือสูงกว่า
1.3 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนมากกว่าผู้ที่เรียนตามวิธีสอนปกติ กล่าวคือ
1.3.1 ค่าขนาดของผล (Effect Size) เมื่อใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังทดลองของกลุ่มควบคุมเป็นหลักในการเปรียบเทียบ มีค่ามากกว่า 068
1.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองของกลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติอย่างมีนัสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือสูงกว่า
2. ด้านความคงทนในการเรียนรู้
กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา มีความคงทนในการเรียนรูมากกว่ากลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติ ตรวจสอบได้จาก
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือสูงกว่า
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือสูงกว่า
3. ด้านเจตคติต่อวิชาที่เรียน
3.1 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา ส่วนมากมีเจตคติต่อวิชาเรียนในระดับดีหรือดีหรือดีมาก ตรวจสอบได้จาก
3.1.1 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา ร้อยละ 80 ขึ้นไปมีคะแนนเจตคติต่อวิชาเรียนในระดับดีหรือดีมาก (ค่าเฉลี่ยของทุกข้อ ของแต่ละคนมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป โดยจะมีลักษณะแบบนี้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80)
3.1.2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาที่เรียนของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา อยู่ในระดับดีหรือดีมาก (ค่าเฉลี่ยทุกข้อของทุกคนในกลุ่มมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป)
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีวิธีดำเนินการสองขั้นตอน ขั้นแรกทำการพัฒนารูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเป็นรูปแบบที่มุ่งให้มีประสิทธิภาพ ขั้นที่สองทำการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
การพัฒนารูปแบบการสอน
ในขั้นนี้ได้ศึกษาทฤษฎี แนวความคิด รูปแบบ และผลการวิจัยเกี่ยวกับการสอนและ
รูปแบบการสอน แล้วสังเคราะห์รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ได้รูปแบบดังระบุไว้ในสรุปผลการวิจัย
การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนา
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จึงนำเอารูปแบบการสอนนี้ไปทดลองสอนเปรียบเทียบกับวิธีสอนปกติ ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน จากข้อมูลที่รวบรวมมาจากผลการทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง วิธีดำเนินการทดลองและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองสอน เป็นนิสิตปริญญาโทปีที่ 1 มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ปีการศึกษา 2530 จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนตาม
รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา 30 คน กลุ่มควบคุมที่เรียนตามวิธีสอนปกติ 30 คน สมาชิกแต่ละกลุ่มได้จากการสุ่มแบบเป็นชั้น (Stratified Random Sampling) จาก 8 วิชาเอก หลังจากได้สมาชิกแต่ละกลุ่มแล้ว ทำการสุ่มว่ากลุ่มใดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มใดเป็นกลุ่มควบคุม
เนื้อหาในการทดลอง
เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเนื้อหาในวิชาสถิติ 511 วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย ซึ่งเป็นวิชาเลือกในหมวดวิชาพื้นฐานทางศึกษา ระดับปริญญาโท หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวม 5 เรื่อง จัดเป็น 5 หน่วยการเรียน แต่ละหน่วยการเรียนใช้เวลาสอน 3 คาบ คาบละ 50 นาที หน่วยที่ 1 การวัดแนวโน้มเข้าสู่
ส่วนกลาง หน่วยที่ 2 การทดสอบสมมุติฐาน หน่วยที่ 3 ไคสแควร์ หน่วยที่ 4 สหสัมพันธ์
อย่างง่าย หน่วยที่ 5 การวิเคราะห์ความแปรปรวน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ
ใช้เครื่องมือ 5 ชุด ดังนี้
1. แบบทดสอบความรู้และทักษะพื้นฐาน วัดความรู้และทักษะพื้นฐานก่อนเรียนเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 35 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95
2. เอกสารประกอบการสอน เป็นเอกสารที่ผู้วิจัยทำขึ้นเพื่อประกอบการสอนมี 3 อย่างคือ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แบบฝึกหัดเฉพาะตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้อที่ใช้สอนทั้งสองกลุ่ม แต่ละอย่างจัดทำตามหน่วยการเรียนทั้ง 5 หน่วย
3. แบบทดสอบย่อย (Formative Tests) เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหน่วยการเรียน มี 5 ฉบับ ค่าความเชื่อมั่น .49-.87
4. แบบทดสอบรวม (Summative Test) เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตามวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มี 2 ฉบับ ฉบับละ 50 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .83 และ .86 ตามลำดับใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังทดลอง 3 สัปดาห์
5. แบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาที่เรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีจำนวน 25 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .86
วิธีดำเนินการทดลอง
ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ดังนี้
1. สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองทั้งสองกลุ่ม เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ ณ จุดเริ่มต้นก่อนสอน
2. กลุ่มทดลอง ใช้รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีลำดับขั้นดังนี้ ขั้นก่อนสอนเรื่องแรกมี 3 ขั้น ขั้นแรก ผู้สอนตรวจสอบพื้นฐานก่อนเรียนของผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนทราบผลการสอบโดยเปลี่ยนกันตรวจกระดาษคำตอบตามเฉลยคำตอบที่ผู้สอนเฉลยให้ฟังทีละข้อ ขั้นที่ 2 สอนทบทวนพื้นฐานก่อนเรียนสำหรับผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 80% ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
ผู้สอนและผู้เรียนทุกคนร่วมกันกำหนดเกณฑ์ความมุ่งหวังในระดับสูง คือมุ่งหวังให้ได้ 80% ของคะแนนเต็มในการสอบทุกครั้ง ขั้นสอนแต่ละครั้ง มี 3 ขั้น ขั้นแรก ผู้สอนมอบเอกสารที่เป็น
จุดประสงค์ของการเรียนรู้ในเรื่องที่จะเรียนให้ผู้เรียนแต่ละคนพิจารณาทำความเข้าใจ และย้ำเกณฑ์ความมุ่งหวังที่ตั้งไว้ ขั้นที่ 2 ทำการสอนเป็นกลุ่มทั้งห้อง ตามเนื้อหาในเอกสารประกอบการสอนส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยใช้วิธีบรรยายและอธิบาย ซักถามให้คิดค้นหาคำตอบเพื่อพบความรู้ ให้
การเสริมแรงเน้นข้อควรระวังในจุดที่มักผิดพลาด และทำแบบฝึกหัดจากแบบฝึกหัดเฉพาะ ขั้นที่ 3 ทดสอบย่อยแล้วตรวจตามเฉลยคำตอบที่ผู้สอน และผู้เรียนร่วมกันอภิปราย แล้วเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดำเนินการทั้ง 3 ขั้นนี้จนครบ 3 หน่วยการเรียนแรก คือ หน่วยที่ 1-3 แล้ว ทำการทบทวนจุดประสงค์การเรียน และสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบรวมฉบับที่ 1 และดำเนินการตามขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 3 ของขั้นสอนแต่ละครั้ง อีก 2 หน่วยการเรียน คือหน่วยที่ 4 และ 5 จึงทำการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบรวมฉบับที่ 2 แล้ววัดเจตคติต่อวิชาที่เรียน หลังจากสอบแบบทดสอบรวมแต่ละฉบับไปแล้ว 3 สัปดาห์ จะทำการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่งด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม โดยไม่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนว่าจะมีการสอบ เป็นการสอบเพื่อความคงทนในการเรียนรู้
3. กลุ่มควบคุม ใช้วิธีสอนปกติ สอนตามเนื้อหาในเอกสารประกอบการสอนส่วนที่เป็นเนื้อหา มีการบรรยายและอธิบาย ทำแบบฝึกหัดรายบุคคล ซักถามให้คิดค้นหาคำตอบ แต่ไม่ได้ทำแบบฝึกหัดเฉพาะเหมือนกลุ่มทดลอง ไม่ได้เน้นข้อควรระวัง และไม่มีการสอบย่อย ดำเนินการเช่นนี้จนครบ 3 หน่วยการเรียนแรก แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบรวมฉบับที่ 1 ดำเนินการสอนอีก 2 หน่วยการเรียนต่อมาด้วยวิธีเดิม แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนด้วยแบบทดสอบรวมฉบับที่ 2 วัดเจตคติต่อวิชาที่เรียน หลังจากสอบด้วยแบบทดสอบรวมแต่ละฉบับไปแล้ว 3 สัปดาห์ ทำการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องนั้นอีกรั้งหนึ่งด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม โดยไม่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนว่าจะมีการสอบ
ผู้วิจัย 2 คน สอนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยผู้วิจัยคนแรกสอนในหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 3 ผู้วิจัยคนที่สอง สอนในหน่วยที่ 2 หน่วยที่ 4 และหน่วยที่ 5
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ตามสมมุติฐาน
ที่ตั้งไว้โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าขนาดของผล (Effect Size)ตามสูตรของ Glass และดัดแปลง
แนวคิดของ Glass t-test แบบ Dependent Samples T-test แบบ Independent Samples และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพผ่านการทดสอบประสิทธิภาพหลายแง่มุม รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มี
ประสิทธิภาพ เป็นดังนี้
ขั้นก่อนสอนเรื่องแรก
2. สอนทบทวนพื้นฐานก่อนเรียนสำหรับผู้ได้คะแนนต่ำกว่า 80%
3. กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ และร่วมกันกำหนดเกณฑ์ความมุ่งหวังในระดับสูง (80%)
ขั้นสอนแต่ละครั้ง
(ดำเนินการจาก 1-3 จนครบทุกหน่วยการเรียน)
2. สอนเป็นกลุ่มทั้งห้อง ซึ่งประกอบด้วย
- การบรรยาย และอธิบาย
- การถามให้ค้นหาคำตอบเพื่อพบความรู้
- การให้การเสริมแรง
- การฝึกจากแบบฝึกหัดเฉพาะ 3. สอบย่อย เฉลยพร้อมอภิปราย และเทียบเกณฑ์
ขั้นก่อนสอบรวม
ทบทวนจุดประสงค์การเรียน
1. พิจารณาจุดประสงค์การเรียน และย้ำเกณฑ์ที่ตั้งไว้
1. ตรวจสอบพื้นฐานก่อนเรียนและให้ผู้เรียนทราบผลการสอบ
ภาพประกอบ 1 รูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน
จากการทดลองสอนด้วยรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา เปรียบเทียบกับการสอนปกติ พิจารณาผลในด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์ที่แสดงถึงความมีประสิทธิภาพ ตามสมมุติฐานของผู้วิจัย
ปรากฏผลดังนี้
1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัมนาเป้นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กล่าวคือ
1.1 กลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา มีผู้ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มขึ้นไป ร้อยละ 83.33 และมีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 81.60 ของคะแนนเต็ม เข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ
เมื่อแยกพิจารณาคะแนนในแบบทดสอบแต่ละฉบับ พิจารณาคะแนนในเนื้อหาที่สอนโดยผู้สอนแต่ละคน ล้วนพบว่าเข้าเกณฑ์ความมีประสิทธิภาพ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายหน่วย การเรียน พบว่า มีผู้ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ 3 ด้านและค่าเฉลี่ยสูงถึงเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน
1.2 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผุ้วิจัยพัฒนา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลอง อย่างเชื่อมั่นได้ในระดับสูง กล่าวคือ
1.2.1 ค่าขนาดของผล (Effect Size) เมื่อใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง เป็นหลักในการเปรียบเทียบ มีค่ามากกว่า 2.97 ซึ่งหมายถึงว่าถ้าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาแจกแจงเป้นแบบปกติ (Normal Distribution) กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาจะมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองไม่น้อยกว่า 999 ใน 1,000 คน
(ค่าขนาดของผลที่พบในการทดลองครั้งนี้ เท่ากับ 11.60)
ไม่ว่าจะแยกวิเคราะห์คะแนนเฉพาะในแบบทดสอบแต่ละฉบับ ในเนื้อหาที่สอนโดยผู้สอนแต่ละคน ในเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียน และในพฤติกรรมแต่ละด้าน ล้วนพบว่า
ค่าขนาดของผลเข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพทั้งหมด
1.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอน
ที่ผู้วิจัยพัฒนา สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เข้าเกณฑ์ของความมี
ประสิทธิภาพ
1.3 กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา เกิดการเรียนรู้มากกว่าผู้ที่เรียนตามวิธีสอนปกติ กล่าวคือ
1.3.1 ค่าขนาดของผล (Effect Size) เมื่อใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองของกลุ่มควบคุมเป็นหลักในการเปรียบเทียบ มีค่ามากกว่า .68 ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าคะแนน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองของกลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติ แจกแจงเป็นแบบปกติ กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาจะมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ของกลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติ ไม่น้อยกว่า 75 ใน 100 คน (ค่าขนาดของผลจากการทดลองครั้งนี้เท่ากับ .903)
เมื่อวิเคราะห์เฉพาะคะแนนในแบบทดสอบแต่ละฉบับ พบว่าล้วนมีค่าขนาดของผลเข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ เมื่อวิเคราะห์คะแนนในเนื้อหาส่วนที่สอนโดยผู้สอนแต่ละคน พบว่ามีค่าขนาดของผลเข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ 1 คน อีก 1 คน เกือบถึงเกณฑ์
เมื่อวิเคราะห์คะแนนในเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียน พบว่ามีค่าขนาดของผลเข้าเกณฑ์ของความมี
ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน 4 หน่วย จาก 5 หน่วย และเมื่อวิเคราะห์คะแนนในพฤติกรรมแต่ละด้าน พบว่า มีค่าขนาดของผลเข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ 2 ด้าน ต่ำกว่าเกณฑ์ 2 ด้าน (โดยเกือบถึงเกณฑ์ 1 ด้าน)
1.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง ของกลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ
เมื่อแยกวิเคราะห์คะแนนเฉพาะในแบบทดสอบแต่ละฉบับ ในเนื้อหาที่สอนโดยผู้สอนแต่ละคน และในพฤติกรรมแต่ละด้าน ล้วนพบผลเช่นเดียวกันกับที่วิเคราะห์คะแนน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งหมดที่กล่าวมา (เฉพาะด้านการวิเคราะห์มีนัยสำคัญที่ระดับ .05) และ
เมื่อวิเคราะห์คะแนนในเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียน พบผลเช่นเดียวกันกับที่วิเคราะห์คะแนนทั้งหมด 4 ใน 5 หน่วย
2. ด้านความคงทนในการเรียนรู้ รูปแบบการสอนที่ผุ้วิจัยพัมนาเป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในด้านความคงทนในการเรียนรู้ กล่าวคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ ของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .001 และสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ ของกลุ่มที่เรียนตามวิธีสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ด้านเจตคติต่อวิชาที่เรียน รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพในด้านเจตคติต่อวิชาที่เรียน กล่าวคือ
3.1 ผู้ที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา มีเจตคติต่อวิชาที่เรียนในระดับดีหรือดีมาก ร้อยละ 93.33 และค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิธีสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับดี เข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ
3.2 คะแนนเจตคติต่อวิชาที่เรียนของกลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าคะแนนเจตคติต่อวิชาที่เรียนของกลุ่มที่เรียนตามวิชาสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เข้าเกณฑ์ของความมีประสิทธิภาพ
อภิปรายผล
1. ในการทดลองสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา ผู้วิจัยทำการ
ควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เพื่อให้ผลการวิจัย มีความเที่ยงตรงมากที่สุด การควบคุมที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การสุ่มนิสิตในแต่ละวิชาเอก แยกออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อให้กลุ่มทั้งสอง ซึ่งจะเป็นกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันก่อนเริ่มทดลอง ผู้วิจัยสามารถควบคุมเรื่องนี้ได้ตามต้องการอย่างสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้จากผลการทดสอบความแตกต่าง ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง
ที่พบว่า สองกลุ่มนี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง ไม่แตกต่างกัน แต่การควบคุมด้วยวิธี
ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา เพราะผู้วิจัยไม่ได้ใช้รูปแบบการสอนอย่างสมบูรณ์ ตามรูปแบบการสอนที่สมบูรณ์นั้น หลังจากสอนเสร็จในแต่ละครั้งผู้เรียนจะได้แบบฝึกหัดเฉพาะตนทำกลับไปด้วย เพื่อที่จะได้ใช้ทบทวนให้เข้าใจแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเวลาจะสอบในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยไม่อาจดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เพราะเชื่อว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มควบคุมจะยืมแบบฝึกหัดจากเพื่อในกลุ่มทดลอง นำไปถ่ายเอกสาร และทำการศึกษาซึ่งจะทำให้ผลการวิจัยผิดพลาดได้ จึงเก็บแบบฝึกหัดเฉพาะไว้ทุกครั้งหลังการสอน และนัดให้กลุ่มทดลองมารับคืนไปใน
ตอนเย็นวันศุกร์ ก่อนที่จะมีการสอบรวมในวันจันทร์ถัดมาด้วยวิธีดังกล่าวมีกลุ่มทดลองร้อยละ 23.33 และอีกครั้ง ร้อยละ 40 ที่ไม่มารับแบบฝึกหัดไปทบทวน ถ้าทุกคนได้รับแบบฝึกหัดเฉพาะกลับไปหลังจากสอนเสร็จในแต่ละครั้งก็จะมีดอกาสทบทวน ถ้าทุกคนได้รับแบบฝึกหัดเฉพาะกลับไปหลังจากสอนเสร็จในแต่ละครั้งก็จะมีโอกาสทบทวน เพิ่มพูนความเข้าใจได้มากขึ้น อาจทำให้กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าที่พบในครั้งนี้
2. ในการสอบหลังทดลอง 3 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับความคงทนในการเรียนรู้นั้น มีผู้เรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 7 คน เดินทางไปศึกษางานต่างจังหวัดไม่สามารถสอบพร้อมกับคนอื่น ๆ ตามกำหนดได้ จึงต้องสอบกับบุคคลดังกล่าวในสัปดาห์ต่อมา การสอบครั้งหลังสุดนี้จึงเป็นการสอบหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ต่างจากคนอื่น ๆ ในกลุ่มอีก 23 คน ซึ่งสอบ
หลังทดลอง 3 สัปดาห์ตามกำหนด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางกาดรเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์กับก่อนทดลอง เป็นการวิเคราะห์โดยใช้คะแนนของทุกคน (ทั้ง 30 คน) ในแต่ละกลุ่ม เพื่อทราบว่าถ้าวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่สอบหลังทดลอง 3 สัปดาห์ซึ่งมีกลุ่มละ 23 คน จะได้ผลตรงกันกับวิเคราะห์ทั้งหมดหรือไม่ จึงทำการวิเคราะห์เฉพาะคะแนนของผู้สอบ 3 สัปดาห์หลังทดลองดังกล่าว ปรากฏว่าได้ผลตรงกัน กล่าวคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ของกลุ่มทดลองและของกลุ่มควบคุม สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
(ค่า t เท่ากับ 17.420 และ 14.800 ตามลำดับ) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลอง 3 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (ค่า t เท่ากับ 3.279)
3. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา พบว่ามีประสิทธิภาพทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาที่เรียน เพื่อทราบเพิ่มเติมอีกว่าผู้เรียนเห็นประโยชน์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบการสอนหรือไม่ในระดับใดจึงให้ผู้เรียนประเมินผลองค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบสรุปผลได้ว่า ผู้เรียนเห็นว่าองค์ประกอบต่าง ๆ
ในรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทราบและทบทวนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การทำแบบฝึกหัดเฉพาะ การทำแบบทดสอบระหว่างเรียน การตั้งเกณฑ์สำเร็จไว้ 80% การสอนของอาจารย์ ล้วนมีประโยชน์ต่อผู้เรียนในระดับมาก การทำแบบทดสอบระหว่างเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.47) เกือบถึงระดับมากที่สุดรองลงมาได้แก่ การทำแบบฝึกหัดเฉพาะ และการสอนของอาจารย์ ตามลำดับ
4. วิชาวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เป็นวิชาเลือกของหลักสูตรปริญญาโทของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดให้ทุกคนเรียนวิชานี้เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน จากการพิจารณาดูคะแนนสอบ การสังเกตในขณะสอน และสัมภาษณ์ผู้เรียนพบว่ามีผู้เรียนในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมจำนวนมากที่ไม่ถนัดในวิชานี้ โดยเฉพาะในวิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกไทยคดีที่เน้นมนุษย์ วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ถ้าเป็นวิชาหลักในกลุ่มวิชาเอก
ซึ่งโดยทั่วไปผู้เรียนมีความตั้งใจมากกว่าวิชาที่ไม่ถนัด หรือถ้าทดลองเฉพาะกับผู้เรียนที่มีความถนัดในวิชาสถิติและวิจัยแล้ว อาจพบประสิทธิภาพของรูปแบบในระดับที่สูงกว่าที่พบครั้งนี้
5. ในการสอนแต่ละครั้ง กลุ่มทดลองใช้เวลาเรียนมากกว่ากลุ่มควบคุมประมาณ 10-20 นาที ผู้วิจัยไม่อาจยุติการสอนตามเวลาได้ เพราะทำให้สอนไม่ตรงตามรูปแบบการสอนจึงต้องสอนเลยเวลาพักเที่ยง 10-20 นาที แต่ถ้าพิจารณาถึงผลที่เกิดกับผู้เรียนก็นับว่าเป็นการใช้เวลาที่คุ้มค่า

การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่นนอกเหนือจากแบบเลือกตอบ

การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่นนอกเหนือจากแบบเลือกตอบ
รศ.ดร. บุญชม ศรีสะอาด*
คำว่า การวิเคราะห์ข้อสอบ มาจากคำว่า Item Analysis หมายถึง การหาค่าสถิติที่แสดงคุณลักษณะของข้อสอบเป็นรายข้อ ซึ่งตามทฤษฎีดั้งเดิม (Classical Theory) นิยมหาคุณลักษณะข้อสอบ 2 ชนิด คือ ค่าความยาก (Difficulty) กับ ค่าอำนาจจำแนก (discrimination) การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นเทคนิคที่ทำให้ทราบว่าแต่ละข้อมีความยากเท่าใดและมีอำนาจจำแนกเท่าใด เพื่อพิจารณาคัดเลือกเอาข้อสอบที่มีคุณลักษณะเข้าเกณฑ์ไปใช้ต่อไป ในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะแนวคิดตามทฤษฎีดั้งเดิม
ค่าความยาก หรือ ความยากง่าย เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่าข้อนั้นยากเพียงใดโดยถือเอาจำนวนผู้ตอบถูกมากน้อยเป็นเกณฑ์ ถ้าถูกหลายคน จัดว่าเป็นข้อสอบที่ง่าย ถ้าถูกน้อยคนจัดว่าเป็นข้อที่ยาก ค่าความยากนิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ P มีค่า .00 ถึง +1.00 ค่าอำนาจจำแนก เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า ข้อนั้นจำแนกกลุ่มผู้สอบได้ดีเพียงใด (เช่นจำแนกระหว่างกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำ จำแนกระหว่างกลุ่มผู้สอบผ่านกับกลุ่มผู้สอบไม่ผ่าน จำแนกระหว่างกลุ่มเรียนแล้วกับกลุ่มยังไม่เรียน เป็นต้น) ค่าอำนาจจำแนกเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์หลายอย่างขึ้นกับว่าจะเป็นค่าอำนาจจำแนกชนิดใดหรือหาโดยวิธีของใคร ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (Test Item) มีค่า -1.00 ถึง +1.00
เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์ข้อสอบ โดยทั่วไปจะหมายถึงการวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบข้อสอบแบบอื่น ๆ ไม่นิยมนำมาวิเคราะห์ เนื่องจากข้อสอบแบบเลือกตอบมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดกับการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถทำการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่น ๆ ได้ทุกแบบ ดังจะแยกกล่าวเป็น 2 กรณี คือการวิเคราะห์ข้อสอบแบบปรนัยอื่น ๆ กับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย
1. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบปรนัยอื่น ๆ
เมื่อพูดถึงข้อสอบแบบปรนัย (Objective) มักหมายถึงข้อสอบแบบเลือกตอบแบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ ข้อสอบแบบปรนัยที่ไม่ใช่ข้อสอบแบบเลือกตอบสามารถนำมาวิเคราะห์หาค่าความยาก และอำนาจจำแนกได้โดยใช้วิธีการเช่นเกียวกันกับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบ (กรณีคำตอบถูก) เพราะข้อสอบแบบถูกผิด ก็คือข้อสอบแบบเลือกตอบที่มีตัวเลือก 2 ตัว คือ ถูกหรือผิด ข้อสอบแบบจับคู่ก็คือข้อสอบแบบเลือกตอบที่ตัวเลือกลดลงเรื่อย ๆ ตามจำนวนข้อที่ได้ตอบไปแล้ว ข้อสอบแบบเติมคำอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบชนิดหนึ่งที่มีตัวเลือกมากมายไม่จำกัดที่ผู้ตอบ ต้องเลือกคำตอบ (คิดตอบ) ออกมาเอง ในการวิเคราะห์จะถือเสมือน
2
ข้อสอบถูกผิด ถ้าเติมคำตอบถูกต้องก็เทียบได้กับที่ตอบข้อสอบถูกผิดได้ “ถูก” จะได้คะแนน 1 คะแนน และถ้าเติมคำตอบที่ไม่ถูกต้องก็เทียบได้กับที่ตอบข้อสอบถูกผิดได้ “ผิด” ซึ่งจะไม่ได้คะแนนของข้อนั้น จากลักษณะดังกล่าวเหล่านี้ ก็สามารถนำผลการสอบของข้อสอบแบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำมาวิเคราะห์หาค่าความยากและอำนาจจำแนก โดยใช้สูตรและวิธีเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหนังสือวัดผลการศึกษาโดยทั่วไป
2. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย
ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay) เป็นข้อสอบที่ให้ผู้สอบเขียนตอบตามความคิดของตนเอง แม้ว่าโดยทั่วไปจะได้รับการนำไปใช้น้อย แต่ก้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการวัดผลโดยเฉพาะในการวัดเกี่ยวกับความคิดเห็น เจตคติ ความสามารถในการคิดสังเคราะห์ (Synthesis) ความสามารถในการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ การวัดในลักษณะเหล่านี้ข้อสอบแบบอัตนัยจะวัดได้ดีมาก ข้อสอบข้อเขียนพิสดาร (Comprehensice) ซึ่งเป็นข้อสอบที่วัดความรู้ขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ก็ล้วนแต่เป็นข้อสอบแบบอัตนัย การที่จะตอบข้อสอบชนิดนี้ได้ต้องอาศัยความรอบรู้ ประสบการณ์ และความสามารถในการบูรณาการความรู้
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย ดำเนินการได้ดังนี้
1. ตรวจให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อ แล้วรวมคะแนนทุกข้อ
2. เรียงกระดาษคำตอบจากคะแนนสูงสุดลงมาหาต่ำสุด คัดเอาเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 25% ของทั้งหมด เป็นกลุ่มสูง และผู้ที่ได้คะแนนต่ำสุด 25% ของทั้งหมดเป็นกลุ่มต่ำ กลุ่มที่เหลือเป็นกลุ่มกลางมีจำนวน 50% ของทั้งหมด ในการวิเคราะห์จะใช้เฉพาะผลการสอบของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ไม่ได้ใช้ผลการสอบของกลุ่มกลาง
3. บันทึกคะแนนของแต่ละคนในแต่ละข้อ ลงในตาราง โดยแยกตามกลุ่ม อาจใช้แบบฟอร์มดังในตารางหน้าถัดไป รวมคะแนนแต่ละข้อของแต่ละกลุ่ม ในขั้นนี้จะยังไม่มีผลการวิเคราะห์ซึ่งเป็นผลของขั้นที่ 4
จากตารางจะเห็นว่าข้อสอบวิชาวัดผลการศึกษามีจำนวนทั้งหมด 5 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 10 คะแนน นิสิตวิชาเอกภาษาไทยที่สอบวิชาวัดผลการศึกษามีจำนวนทั้งหมด 16 คน จึงมีกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำกลุ่มละ 4 คน ซึ่งเท่ากับ 25% ของ 16
ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดทำได้ 42 คะแนน ตอบข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ได้คะแนนตามลำดับดังนี้ 9, 8, 7, 8, 10 ผู้ที่ได้คะแนนต่ำสุดทำได้ 16 คะแนน ตอบข้อ 1 ถึงข้อ 5 ได้คะแนนตามลำดับดังนี้ 2, 3, 2, 7, 2 ข้อ 1 มีกลุ่มสูงทำได้คะแนนรวมทั้งหมด 33 คะแนน กลุ่มต่ำทำได้ 16 คะแนน
3
ตารางวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัยวิชาวัดผลการศึกษา นิสิตปีที่ 3 วิชาเอกภาษาไทย
ข้อ
ผู้สอบ
1
2
3
4
5
รวม
1
2
3
4
9
8
8
8
8
8
7
7
7
6
6
6
8
7
7
6
10
10
9
9
42
38
37
36
กลุ่มสูง
รวม
33
30
25
28
38
1
2
3
4
5
5
4
2
5
5
6
3
5
3
3
2
7
8
6
7
5
4
3
2
27
25
22
16
กลุ่มต่ำ
รวม
16
19
13
28
14
P
.61
.61
.47
.70
.65
ผลการวิเคราะห์รวม
D
.42
.27
.30
.00
.60
หมายเหตุ ข้อมูลในตารางเป็นข้อมูลสมมุติ ซึ่งกำหนดจำนวนคนน้อยคนเพื่อให้สามารถเข้าใจวิธีการได้ง่าย ในการวิเคราะห์จริงควรมีจำนวนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 40 คน
4. หาค่าความยากและอำนาจจำแนก โดยใช้สูตรดังนี้
ค่าความยากหาจากสูตร
P = 2NMLHΣΣ+ …..(1)
ค่าอำนาจจำแนกหาจากสูตร
4
NMLHΣΣ+ …..(2) D =
เมื่อ P แทน ค่าความยาก
D แทน ค่าอำนาจจำแนก
ΣH แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มสูง
ΣL แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มต่ำ
N แทน จำนวนคนในแต่ละกลุ่ม
M แทน คะแนนเต็ม
หรือ เขียนในรูปข้อความได้ดังนี้
ค่าความยาก = คะแนนเต็ม งสองกลุ่มจำนวนคนทั้ำแนนกลุ่มต่ผลรวมของคะงแนนกลุ่มสูผลรวมของคะ×+
ค่าอำนาจจำแนก = คะแนนเต็ม ต่ละกลุ่มจำนวนคนในแำแนนกลุ่มต่ผลรวมของคะงแนนกลุ่มสูผลรวมของคะ×+
ตัวอย่างการหาค่าความยากของข้อ 1
P = .61804910x 81633==+
ความยากของข้อ 1 = .61
5
ตัวอย่างการหาค่าอำนาจจำแนกของข้อ 1
D = .42401710x 4 1633==+
อำนาจจำแนกของข้อ 1 = .42
นำค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก บันทึกลงในตาราง ผลจากการหาค่าความยากและอำนาจจำแนกของข้อสอบแต่ละข้อ ตามสูตร 1 และ 2 ตามลำดับ แสดงไว้ในตาราง แสดงว่าข้อ 1, 2, 3, ละ 5 มีคุณภาพเหมาะสม ข้อ 4 ถึงแม้ว่าค่าความยากจะใช้ได้ แต่ไม่มีอำนาจ จึงเป็นข้อที่ใช้ไม่ได้
หมายเหตุ ค่าความยากที่เหมาะสม = .20 ถึง .80
ค่าอำนาจจำแนกที่เหมาะสม = .20 ถึง 1.00

การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล แบบมาตราส่วนประมาณค่า

การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล
แบบมาตราส่วนประมาณค่า
รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด
ในการศึกษางานวิจัยทางการศึกษา พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะพบว่ามีงานวิจัยจำนวนมากที่ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเมื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วจะทำการวิเคราะห์และแปลผล โดยใช้สถิติและเกณฑ์ในการแปลผลหลายลักษณะ ดังนี้
1. การแปลผลโดยใช้ร้อยละ
วิธีนี้จะหาความถี่ (จำนวน) ในแต่ละคำตอบ แล้วแปลความถี่เหล่านั้นให้เป็นร้อยละดังตัวอย่าง ผลการสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาวิจัยการศึกษาของนิสิต 50 คน เมื่อหาความถี่ของแต่ละคำตอบ (แต่ละระดับ) และแปลงให้เป็นร้อยละ (แสดงไว้ในวงเล็บ) ผลปรากฏ
ดังตาราง 1
ตาราง 1 ผลการสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาวิจัยการศึกษาของนิสิต 50 คน
ระดับความคิดเห็น
พิจารณาเกี่ยวกับ
น้อยที่สุด
น้อย
ปานกลาง
มาก
มากที่สุด
วิชาวิจัยการศึกษาให้ประโยชน์เพียงใด
0
(0)
1
(2)
9
(18)
30
(60)
10
(20)
จากตาราง 1 ผู้ที่เห็นว่าวิชาวิจัยการศึกษาให้ประโยชน์ในระดับมากที่สุดมีร้อยละ 20 ระดับ มากมีร้อยละ 60 ระดับปานกลางมีร้อยละ 18 ระดับน้อยมีร้อยละ 2
ผู้สอนอาจถึงเกณฑ์ความพอใจในผลการสอนของตนโดยพิจารณาจากจำนวนร้อยละในระดับมากกับระดับมากที่สุด นั่นคือ 60 + 20 เท่ากับร้อยละ 80 ซึ่งสามารถทำให้สรุปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้สอนหรือผู้วิจัยบางคนอาจต้องการทราบว่า โดยสรุปแล้วความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างหรือแม้กระทั่งของประชากรอยู่ที่ระดับใด ซึ่งถ้าทราบได้ก็จะทำให้มีความชัดเจนกระชับ
2
มากขึ้น การแปลผลโดยใช้ร้อยละจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวนี้ได้จะต้องใช้วิธีการในลักษณะอื่น เช่น ใช้ค่าเฉลี่ย เป็นต้น
2. การแปลผลโดยใช้ค่าเฉลี่ย
วิธีจะกำหนดให้คะแนนประจำแต่ละระดับตามระดับของความเข้มข้นแล้วหาค่าเฉลี่ยและนำค่าเฉลี่ยไปเทียบเกณฑ์การแปลความหมาย การหาค่าเฉลี่ยมักใช้วิธีนำความถี่ (จำนวน) ของแต่ละระดับคูณกับคะแนนประจำของระดับนั้นได้ผลเท่าใดรวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคนทั้งหมดก็จะได้ค่าเฉลี่ยตามต้องการ ดังในตัวอย่างจากตาราง 1 ระดับน้อยที่สุดมีคะแนนประจำเท่ากับ 1 ระดับน้อยมีคะแนนประจำเท่ากับ 2 ระดับปานกลางมีคะแนนประจำเท่ากับ 3 ระดับมากมีคะแนนประจำเท่ากับ 4 และระดับมากที่สุดมีคะแนนประจำเท่ากับ 5 นำความถี่คูณคะแนนประจำ นำมารวมกันจะได้ ดังนี้
(0 x 1) + (1 x 2) + (9 x 3) + (30 x 4) +(10 x 5) = 199
เมื่อหารด้วนจำนวนคน (ในกรณีนี้เท่ากับ 50) ก็จะได้ค่าเฉลี่ย (x) ดังนี้
x = 3.9850199=
นำค่าเฉลี่ย 3.98 ไปแปลงให้เป็นระดับความเห็นโดยเทียบกับเกณฑ์แปลความหมายซึ่งจะพบว่าตรงกับระดับมาก ดังนั้นสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้เห็นว่าวิชาวิจัยการศึกษาให้ประโยชน์ในระดับมาก
วิธีการนี้นับว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้สรุปได้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในลักษณะนี้มาก
อย่างไรก็ตาม ได้มีการกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายแตกต่างกันหลายแบบ ทำให้การแปลผลแตกต่างกันไปบ้างในบางค่า ดังนี้
เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ย แบบที่ 1
ค่าเฉลี่ย ความหมาย
4.21 - 5.00 มากที่สุด
3.41 - 4.20 มาก
2.61 - 3.40 ปานกลาง
1.81 - 2.60 น้อย
1.00 - 1.80 น้อยที่สุด
3
การกำหนดเกณฑ์อย่างนี้ ถือหลักว่า จะต้องให้ทุกระดับมีช่วงคะแนนเท่ากัน จะเห็นได้ว่าคะแนนสูงสุดคือ 5 คะแนนต่ำสุดคือ 1 ช่วงห่าง (พิสัย) ของคะแนนทั้งหมด = 5 - 1 = 4 มี 5 ระดับ ดังนั้นแต่ละระดับจะมีช่วงห่าง = 54 = 0.8
การใช้เกณฑ์แปลความหมายแบบนี้จะมีปัญหาในความถูกต้องของการแปลความหมายค่าเฉลี่ยบางค่า อธิบายได้ดังนี้
ในการหาค่าเฉลี่ย ผู้วิจัยกำหนดไว้ว่า 1 แทน น้อยที่สุด 2 แทน น้อย 3 แทน ปานกลาง 4 แทน มาก 5 แทน มากที่สุด เมื่อหาค่าเฉลี่ยออกมาได้ค่าเป็นจำนวนเต็ม จะไม่มีปัญหาอะไร ก็แปลผลไปตามนั้น เช่น ถ้าได้ค่าเฉลี่ย 4 หมายถึง กลุ่มนั้นอยู่ในระดับมาก เป็นต้น แต่ถ้าไม่เป็นจำนวนเต็ม ค่าเฉลี่ยเป็นเลขทศนิยม ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าวอยู่ใกล้จำนวนเต็มใด ก็ปัดให้เป็นจำนวนนั้น เช่น 1.70 นับว่าอยู่ใกล้ 2 มากกว่า 1 ก็ปัดให้เป็น 2 ซึ่งหมายถึงอยู่ในระดับน้อย เป็นต้น นั่นคือ ใช้หลักการปัดทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็มนั่นเอง
การใช้เกณฑ์ในแบบให้ทุกระดับมีช่วงคะแนนเท่ากัน (0.8) ตามแบบที่ 1 จะขัดกับหลักที่กล่าวมาในบางช่วง เช่น ค่าเฉลี่ย 1.80 ตามเกณฑ์จะแปลว่าอยู่ในระดับน้อยที่สุด ทั้งที่ค่านี้ควรจะเป็นเสมือน 2 และแปลว่าอยู่ในระดับน้อย เนื่องด้วยมีค่าใกล้กับ 2 มากกว่าใกล้กับ 1 หรือค่าเฉลี่ย 4.25 ไปแปลว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นความหมายประจำของ 5 ที่จริงค่า 4.25 ใกล้กับ 4 มากกว่า ตามหลักการปัดทศนิยม จะต้องเป็นเสมือน 4 ซึ่งหมายถึงมาก ค่าเฉลี่ยที่มีปัญหาในการแปลความหมายโดยใช้เกณฑ์ตามแบบที่ 1 มีดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.21 ถึง 4.50 หมายถึง มากที่สุด เป็นการแปลความหมายสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ค่าดังกล่าวใกล้เคียงกับ 4.00 มากกว่า จึงควรหมายถึง มาก
ค่าเฉลี่ย 3.41 ถึง 3.50 หมายถึง มาก เป็นการแปลความหมายสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ค่าดังกล่าวใกล้เคียงกับ 3.00 มากกว่า จึงควรหมายถึง ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 2.51 ถึง 2.60 หมายถึง น้อย เป็นการแปลความหมายต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ค่าดังกล่าวใกล้เคียงกับ 3.00 มากกว่า จึงควรหมายถึง ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 ถึง 1.80 หมายถึง น้อยที่สุด เป็นการแปลความหมายต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ค่าดังกล่าวใกล้เคียงกับ 2.00 มากกว่า จึงควรหมายถึง น้อย
จากการยึดเงื่อนไขของการกำหนดคะแนนประจำแต่ละระดับร่วมกับหลักของการปัดทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็ม จึงมีผู้ใช้เกณฑ์แปลความหมาย ดังนี้
4
เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ย แบบที่ 2
ค่าเฉลี่ย ความหมาย
4.50 - 5.00 มากที่สุด
3.50 - 4.49 มาก
2.50 - 3.49 ปานกลาง
1.50 - 2.49 น้อย
1.00 - 1.49 น้อยที่สุด
เกณฑ์แปลความหมายแบบที่ 2 นี้ ช่วงของคะแนนมากที่สุดกับน้อยที่สุดจะมีน้อยกว่าระดับอื่น โดยช่วงของคะแนนมากที่สุดกับน้อยที่สุดมีครึ่งคะแนน (.50) หรือประมาณครึ่งคะแนนขณะที่ระดับอื่น ๆ มี 1 คะแนนหรือประมาณ 1 คะแนน ตามเกณฑ์ในแบบที่ 2 นี้ ค่าเฉลี่ย 4.25 แปลความหมายว่าอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 1.80 จะแปลความหมายว่าอยู่ในระดับน้อย
แม้ว่าการใช้เกณฑ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมถูกต้องมากกว่าแบบใช้ช่วงคะแนนที่เท่ากันแบบที่ 1 แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากในการใช้เกณฑ์แบบนี้มี 4 ค่าที่ปัดทศนิยมอย่างไม่เหมาะสม คือค่า 4.50, 3.50, 2.50 และ 1.50 ค่า 4.50 ถูกปัดเป็น 5.00 ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ 5.00 มากกว่า 4.00 ค่าที่จะปัดเป็น 5.00 ได้น่าจะเป็น 4.51 ถึง 4.99 ซึ่งมีค่าใกล้กับ 5.00 มากกว่า 4.00 ทำนองเดียวกันกับ 3.51 ถึง 3.99 ปัดเป็น 4.00, 2.51 ถึง 2.99 ปัดเป็น 3.00 และ 1.51 ถึง 1.99 ปัดเป็น 2.00 ดังนั้นเกณฑ์การแปลความหมายที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็น ดังนี้
เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ย แบบที่ 3
ค่าเฉลี่ย ความหมาย
4.51 - 5.00 มากที่สุด
3.51 - 4.50 มาก
2.51 - 3.50 ปานกลาง
1.51 - 2.50 น้อย
1.00 - 1.50 น้อยที่สุด
การแปลผลโดยนำค่าเฉลี่ยมาเทียบกับเกณฑ์ที่กล่าวมานี้ ถ้าค่าเฉลี่ยที่นำมาเทียบกับเกณฑ์ได้มาจากประชากร (เรียกค่าเฉลี่ยนั้นว่า μ) การแปลผลจะมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยต้องการอ้างผล หรือวางนัยทั่วไป (Generalized) ไปยังประชากร ก็ต้องเพิ่มกระบวนการอ้างอิงตามหลักวิชาอีก โดยใช้สถิติประเภทอ้างอิง (Inferential Statistics) เช่น ใช้ t-test กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว เข้ามาช่วย ซึ่งได้กล่าวถึงวิธีการโดยละเอียดในบทความเรื่อง “การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง” ใน
5
วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างการอ้างผลไปยังประชากร ดังนี้
ผู้เขียนได้พัฒนารูปแบบการควบคุมวิทยานิพนธ์ โดยกำหนดให้นิสิตที่ทำวิทยานิพนธ์ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การทำแผนปฏิบัติงานวิจัย การตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงการทำแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมาย สมมุติฐานในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ และงานวิจัยที่ใช้ผลสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานในการวิจัยนี้ การจำลองลักษณะของการเสนอผลการวิจัย และการตรวจสอบความพร้อมของการเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์กิจกรรมทั้ง 5 นี้ เป็นกิจกรรมที่กระทำก่อนเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการเพื่ออนุมัติการจัดทำ และในการเขียนรายงานการวิจัยให้นิสิตทำกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ การตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง และการทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย
จากการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่าง 15 คน พิจารณาประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมทั้ง 7 โดยพิจารณาว่าให้ประโยชน์ในระดับใด จากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด กำหนดให้คะแนนในแต่ละระดับเป็น 5 4 3 2 1 ตามลำดับ (กรณีเป็นข้อความเชิงนิเสธ (Negative) จะเป็นคะแนนกลับกัน) นำผลการตอบมาหาค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) นำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบ กับเกณฑ์การแปลความหมาย ก็จะได้ระดับความคิดเห็นกรณีกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นได้ทำการทดสอบโดยใช้ t-test เพื่อวางนัยทั่วไป (Generalized) ไปยังประชากร โดยใช้ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลพบว่ามี 4 ข้อที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (x) อยู่ในระดับ มากที่สุด และทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่า ค่า t มีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงว่า ความคิดเห็นของประชากรอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน มี 9 ข้อ มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด แต่เมื่อทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่า ค่า t ไม่มีนัยสำคัญหมายถึงว่าความคิดเห็นของประชากรอยู่ในระดับมาก ไม่ถึงระดับมากที่สุด มี 4 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก และทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่าค่า t มีนัยสำคัญ หมายถึงว่า ความคิดเห็นของประชากรอยู่ในระดับมากเช่นกัน มี 2 ข้อที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อยที่สุด และเมื่อทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่า t มีนัยสำคัญ หมายถึงว่า ความคิดเห็นของประชากรอยู่ในระดับน้อยที่สุด มี 1 ข้อ ที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อยที่สุด แต่เมื่อทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่าค่า t ไม่มีนัยสำคัญ หมายถึงว่าความคิดเห็นของประชากรอยู่ในระดับน้อย (สามด้านหลังเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นแบบนิเสธ (Negative) เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าการสรุปงานวิจัยควรเป็นการสรุปคุณลักษณะของประชากร ซึ่งเป็นผลที่มีความกว้างขวางสามารถอ้างอิงได้ครอบคลุมประชากร มิใช่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประชากรผลที่พบจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอาจจะแตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ศึกาาก็ได้ จากแนวคิดดังกล่าวจึงทำการแปลผลโดยพิจารณากรณี
6
ประชากรเป็นหลัก ดังนั้นจากตัวอย่างนี้สรุปได้ว่า มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อ ระดับมาก 13 ข้อ (9 ข้อรวมกับ 4 ข้อ) ระดับน้อยที่สุด 2 ข้อ และระดับน้อย มี 1 ข้อ
ตัวอย่างวิธีทดสอบด้วย t-test
ตัวอย่างที่ 1 จากประโยชน์ของการทำกิจกรรมทั้ง 7 ในด้านช่วยให้เกิดความรอบคอบ ละเอียดละออ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (x) เท่ากับ 4.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เท่ากับ 0.248 หา t-test จากสูตร t = ns/μx− เมื่อ μเท่ากับ 4.51 ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของระดับมากที่สุด ได้ค่า t = 6.573 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น สามารถอ้างอิงไปยังประชากรได้ว่า มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
ตัวอย่างที่ 2 จากประโยชน์ของการทำกิจกรรมทั้ง 7 ด้านช่วยให้สามารถจบการศึกษาได้เร็วค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (x) เท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เท่ากับ 0.618 หา
t-test ได้ t = 0.164 ค่า t นี้ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ความคิดเห็นของประชากรจึงอยู่ในระดับมาก ไม่ถึงระดับมากที่สุด
การแปลผลมาตราส่วนประมาณค่าโดยใช้ค่าเฉลี่ย มีข้อสังเกต ดังนี้
1. ภาษาที่ใช้ในเกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ยอาจแตกต่างออกไป ขึ้นกับผู้วิจัยกำหนดในมาตราส่วนประมาณค่าไว้เช่นไร เช่น อาจกำหนดเป็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. การกำหนดคะแนนประจำแต่ละคำตอบ (แต่ละระดับ) ขึ้นกับว่าเป็นข้อความเชิงนิมาน (Positive) หรือเชิงนิเสธ (Negative) ตัวอย่างในบทความนี้เป็นข้อความเชิงนิมานซึ่งให้คะแนนประจำคำตอบ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็น 5 4 3 2 1 ตามลำดับ ถ้าเป็นประโยคนิเสธจะให้คะแนนกลับกัน คือ 1 2 3 4 5 ตามลำดับ
3. ระบบให้คะแนนอาจเปลี่ยนไป เช่น ค่าต่ำสุดเริ่มจาก ศูนย์ (0) ซึ่งจะทำให้การให้คะแนนข้อความเชิงนิมานสำหรับคำตอบ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เป็น 4 3 2 1 0 ตามลำดับ กรณีดังกล่าวนี้ ค่าเกณฑ์แปลความหมายก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบเดียวกัน นั่นคือ ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.00 หมายถึงระดับมากที่สุด 2.51 - 3.50 หมายถึง ระดับมาก 1.51 - 2.50
หมายถึงระดับปานกลาง 0.51 - 1.50 หมายถึงระดับน้อย 0.00 - 0.50 หมายถึงระดับน้อยที่สุด เป็นต้น
4. กรณีที่ระดับมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 ระดับ ก็ใช้เกณฑ์การเดียวกัน เกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยควรใช้แนวเดียวกันกับแบบที่ 3 ในการกำหนดช่วงค่าเฉลี่ยของแต่ละระดับ
7
เอกสารอ้างอิง
บุญชม ศรีสะอาด. รูปแบบการควบคุมวิทยานิพน์. โครงการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียน
การสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2533.
บุญชม ศรีสะอาด และ บุญส่ง นิลแก้ว. “การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วน
ประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง,” วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม. 3(1) :
22-25 กรกฎาคม 2535.
วิเชียร เกตุสิงห์. “ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็ผิดพลาดได้,” ข่าวสารการ
วิจัยการศึกษา. 18(3) : 8 – 11 กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2538.
Ferguson George F. Statistical Analysis in Psychology and Education. 4th. ed. Tokyo : McGraw-Hill Kogakusha, 1976.