วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ห้องเรียนคุณภาพ

ห้องเรียนคุณภาพ
ห้องเรียนคุณภาพ
องค์ประกอบของห้องเรียนคุณภาพประกอบด้วย
ครู
1. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ( BWD )
3. การใช้ ICT เพื่อการสอนและการสนับสนุนการสอน
4. การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
5. สร้างวินัยเชิงบวก ( Positive Discipline
ผู้บริหารสถานศึกษา
1. ผู้บริหารผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. หลักสูตร
3. ICT โรงเรียน
4. การวางแผนพัฒนาตนเอง( ID Plan)
5. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ในระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ
2. Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้๔ที่มีประสิทธิภาพ
3. Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
4. Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างวินัยเชิงบวก
การสร้างวินัยเชิงบวก คือ การปฏิบัติต่อเด็กในฐานะผู้ที่กำลังเรียนรู้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงและ เคารพในศักดิ์ศรีเป็นแนวทางในการสอนที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จให้ความ รู้แก่เด็ก และสนับสนุนการเติบโต
สรุปได้ว่าการสร้างวินัยเชิงบวก คือต้อง ปราศจากความรุนแรง มุ่งที่การแก้ปัญหา เคารพในศักดิ์ศรี และอยู่บนหลักของการพัฒนาเด็ก
หลัก 7 ประการของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. เคารพศักดิ์ศรีของเด็ก
2. พยายามพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเอง และบุคลิกลักษณะที่ดี
3. พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด
4. คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก
5. คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก
6. พยายามให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติ
7. เสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม
ขั้นตอนของการสร้างวินัยเชิงบวก
1. มีการบรรยายถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ตอนนี้ครูขอให้ทุกคนเงียบก่อนนะ
2. มีการให้เหตุผลที่ชัดเจน เช่น เราจะเริ่มเรียนคณิตศาสตร์บทใหม่แล้ว ทุกคนต้องตั้งใจฟังนะ ซึ่งหมายความว่าการเงียบโดยเร็วเป็นการเคารพสิทธิผู้อื่น เป็นตัวอย่างของการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อ เรา
3. ขอให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้ เช่น เธอเห็นรึยังว่าทำไมการเงียบก่อนเริ่มเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วคอยให้นักเรียนแสดงอาการรับรู้และเห็นชอบด้วยก่อนทำอย่างอื่นต่อไป
4. มีการให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น โดยการสบตา พยักหน้า ยิ้มหรือให้เวลาพักเล่นอีกห้านาที การให้คะแนนเพิ่ม ( การได้รับการยอมรับและชื่นชมจากสังคมเป็นรางวัลที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
การวิจัยในชั้นเรียน ( CAR )
CAR : Classroom Action Research
CAR มีขั้นตอนการปฏิบัติอยู่ 4 ขั้นตอน
CAR1 : การวิเคราะห์ผู้เรียน
CAR2 : การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง
CAR3 : การแก้ปัญหานักเรียน
CAR4 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และ ID Plan
การวางแผนพัฒนาตนเอง ( ID Plan )
ID Plan : Individual Development Plan
ID Plan ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ( ทั่วไป )
ส่วนที่ 2 ข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนที่ 3 การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะ
สมรรถนะ ( Competency ) แบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะ
1. สมรรถนะหลัก ได้แก่
1.1 การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
1.2 การบริการที่ดี
1.3 การพัฒนาตนเอง
1.4 การทำงานเป็นทีม
2. สมรรถนะประจำสายงาน ได้แก่
2.1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์
2.2 การสื่อสารและการจูงใจ
2.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2.4 การมีวิสัยทัศน์
การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค BWD
การออกแบบ BWD มี 3 ขั้นตอน
1. ต้องการให้เด็กเกิดการเรียนรู้อะไร ( เป้าหมาย )
2. เด็กต้องแสดงความสามารถออกมาในลักษณะใด/มีชิ้นงานอะไร
3. จะมีวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร
ICT : Information Communication Technology
การสร้างเครือข่าย
เครือ ข่าย ( Network ) หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆโดยยึดหลักการทำงานร่วมกัน บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกันมากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการ ศึกษาปฐมวัย กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา และกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยสามารถยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับอำเภอ
ภารกิจงาน
1. ส่งเสริมการพัฒนาครูปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ
2. ส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมให้มีพัฒนาการครบทุก ด้าน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา
3. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างหลากหลาย
4. ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย
5. ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยและพัฒนาฐาน ข้อมูลสารสนเทศ การจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ส่งเสริมสนับสนุนยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
7. พัฒนาระบบติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาปฐมวัย ให้มีความต่อเนื่องทั่วถึงและมีคุณภาพ


คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลจังหวัด
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด
2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนผู้เป็นกรรมการตามข้อ 3 ที่ได้รับคัดเลือกกันเอง 2 คน
3. กรรมการ
3.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนศูนย์ต้นแบบปฐมวัย
3.2 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศูนย์ปฐมวัยประจำอำเภอ
3.3 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลในจังหวัด เขตละ 1 คน
3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลทุกเขต
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลจังหวัด
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. กำกับ ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ
4. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่และอำเภอ
5. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด

3. ที่ปรึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัด ประกอบด้วย ผุ้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตในจังหวัด ไม่เกิน 10 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
1. ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ และเชื่อมโยงนโยบายของ สพฐ. ต่อคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการ เรียนรู้ต่างๆ
2. เสนอแนะการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายและร่วมประสานการดำเนินงานพัฒนางานวิชาการ
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลของประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่ เกินอย่างละ 2 คน
2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก
2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก 2 คน
2.3 กรรมการ
2.3.1 ผอ.โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบทุกคน
2.3.2 ผอ.โรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอทุกอำเภอ
2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ปฐมวัย 1 คน
2.3.4 หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯของ สทท.
2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับเขตพื้นที่

ระดับอำเภอ
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ
1. สถานที่ตั้งกลุ่ม โรงเรียนอนุบาลอำเภอ
2. คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย อำเภอ ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน ไม่เกิน 15 คน โดยประธานกรรมการอาจแต่งตั้งรองประธานกรรมการหรือผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่ เกินอย่างละ 2 คน
2.1 ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลต้นแบบ
2.2 รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปฐมวัยที่ได้รับการคัดเลือก ไม่เกิน 2 คน
2.3 กรรมการ
2.3.1 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยประจำอำเภอ
2.3.2 ผอ.โรงเรียนปฐมวัยทั่วไป
2.3.3 ศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบพื้นที่นิเทศในอำเภอ
2.4 กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าการศึกษาปฐมวัยของ ร.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯมีหน้าที่
1. กำหนดนโยบายแนวทางการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2. กำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายฯระดับอำเภอ
กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด
คณะกรรมการบริหารกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการประถมศึกษา จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมที่ได้รับเลือกตั้ง( จากผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนั้น สำหรับวาระแรกที่เริ่มจัดตั้งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการเพื่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบก่อนโดยไม่ต้อง เลือกตั้ง )
2. รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้ง ( ไม่น้อยกว่า 2 คน )
3. กรรมการ
3.1 ผู้บริหารโรงเรียนตัวแทนโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดละ 1 คน จากทุกเขต โดยขนาดของโรงเรียนใช้ใช้เกณฑ์จำนวนนักเรียนเฉพาะชั้นประถมศึกษา ( ช่วงชั้นที่ 1 – 2 ) ในแต่ละโรงเรียนเป็นหลักการกำหนดขนาด กล่าวคือ นักเรียนประถมศึกษา 500 – 1,000 คน จัดเป็นขนาดกลาง ( กรณีที่จังหวัดนั้นมีโรงเรียนไม่ครบทุกขนาดให้อนุโลมพิจารณาจากโรงเรียนที่ มีความเหมาะสมแทนขนาดที่ขาดและกรณีที่จังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทน โรงเรียนขนาดละ 2 คน )
3.2 หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ทุกเขตและตัวแทนครูเขตละ 1 คน ( กรณีจังหวัดที่มี 1 เขต ให้มีตัวแทนครู 2 คน )
4. กรรมการและเลขานุการ
4.1 ผู้บริหารโรงเรียนที่ประธานเลือก กรรมการและเลขานุการ
4.2 รองผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
4.3 ศึกษานิเทศก์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
** กรรมการมีวาระคราวละ 2 ปีงบประมาณ ติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระแต่งตั้งโดยท่านเลขาธิการ กพฐ.
คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................จังหวัด
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนที่เป็นศูนย์ของเขตและไม่ได้อยู่ในเขตของประธานศูนย์ ( ถ้ามี 1 เขต ผอ.โรงเรียน 2 คน )
3. กรรมการ
3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน
3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระ เขตละ 3 คน
3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
คณะกรรมการศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้.....................เขตพื้นที่การศึกษา
ประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
2. รองประธานกรรมการ ผอ.โรงเรียนประถมศึกษาในเขต
3. กรรมการ
3.1 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของโรงเรียนที่เป็นประธาน
3.2 หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนในเขตฯที่มีความเหมาะสม
3.3 ตัวแทนศึกษานิเทศก์เขตละ 1 คน ( หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากเขต )
4. กรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
5. กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ครูในกลุ่มสาระของโรงเรียนที่เป็นประธาน
** คณะกรรมการศูนย์พัฒนา ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ + 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน + ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ + อื่นๆตามความเหมาะสมโดยประธานคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ประถมศึกษาจังหวัด

ศักดิ์ของกฎหมายและเศรษฐกิจพอเพียง
รัฐ ธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง การใช้อำนาจของผู้ปกครอง การสืบต่ออำนาจ ขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การบัญญัติกฎหมาย
กฎหมายคือ ข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม
พระ ราชบัญญัติ คือกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและอนุมัติ โดยรัฐสภาหรือองค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ และเมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ถือว่ามีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์
พระ ราชกำหนด คือกฏหมายที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับตามคำ แนะนำของคณะรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติ พระราชกำหนดก็คือกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี พระราชกำหนดจะออกได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
พระราชกฤษฏีกา คือกฎหมายลำดับรองที่พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารทรงตราขึ้นใช้ บังคับตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในทางพฤตินัย พระราชกฤษฏีกาก็คือกฎหมายแม่บทภายในขอบเขตที่กฏหมายแม่บทได้ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฏีกาจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสภาไม่ว่าก่อนหรือหลังการประกาศใช้
ศักดิ์ของกฎหมาย ( Hierarchy of Low ) โดยมีลำดับชั้นจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้คือ
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
3. พระราชกฤษฏีกา
4. กฎกระทรวง
5. ข้อบัญญัติหรือข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวพระราชดำริ
การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรทั่วไป โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา โดยมีโครงการต่างๆมากมาย
1. โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการซึ่งทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นส่วนพระองค์ ทรงศึกษา หารือกับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆทรงแสวงหาวิธีทดลอง ปฏิบัติ ทรงพัฒนาส่งเสริมและแก้ไขดัดแปลงวิธีการ ในช่วงระยะหนึ่งเพื่อพัฒนาดูแลผลผลิตทั้งในและนอกพระราชฐาน
2. โครงการหลวง เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาชาวไทยภูเขาให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากลำเค็ญได้ด้วย วิธีการปลูกพืชทดแทนฝิ่น และให้ละเลิกการตัดไม้ทำลายป่า มาสู่วิถีเกษตรรูปแบบใหม่ที่ทำให้มีรายได้ยิ่งขึ้น
3. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง โครงการที่พระองค์ได้พระราชทานข้อแนะนำแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการ ด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญาและกำลังแรงงาน พร้อมทั้งการติดตามผลงานให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชน
4. โครงการตามพระราชดำริ หมายถึงโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาลในแนวทาง ปัจจุบันเรียกว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy )
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ถึงระดับประเทศ โดยเน้นการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
ความหมายของคำว่าพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข
3 ห่วง
1. ความพอประมาณ ความพอดีที่ไม่น้อยและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการที่เกี่ยวข้อง ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา
2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และความอดทนมีความเพียรใช้สติปัญญา
ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีงานหลักคือ ทำการค้นคว้าทดลองและสาธิตเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้น ค้นสภาพและใช้ทำมาหากินได้
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี ทำการศึกษาพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการประมง
3. ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี ทำการศึกษาการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและการ ประมง
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาและค้นคว้าวิจัยเรื่องป่าไม้เสื่อมโทรม และการพัฒนาพื้นที่ต้นนำลำธารเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมและการสร้างความชุ่ม ชื้นให้แก่พื้นผิวดิน
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส ทำการศึกษาวิจัยดินพรุในภาคใต้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้าน เกษตรกรรมได้
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯจังหวัดสกลนคร ศึกษาพัฒนาการอาชีพทั้งทางเกษตรกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการพัฒนาหมู่ บ้านตัวอย่าง
ตอนนี้เจออะไร ก็นำมาให้หมด อ่านให้หมด จำให้ได้ก็แล้วกันนะขอรับ..........ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน...ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น..........

ไม่มีความคิดเห็น: