วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ได้อะไร จากการอ่าน.. WINNING WITH PEOPLE

หนังสือ WINNING WITH PEOPLE

จอห์น ซี แมกซเวลล์ (1947- ) มีภูมิหลังมาจากบาทหลวง ปัจจุบันเป็นนักเขียนหนังสือและผู้นำสัมมนาการฝึกอบรมเรื่องภาวะผู้นำคน สำคัญ หนังสือเรื่อง THE 21 IRREFUTABLE LAWS OF LEADERSHIP (1999) – กฎแห่งภาวะการนำที่ปฏิเสธไม่ได้ 21 ข้อ เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่ม

ในบรรดากฎเหล่านี้ รวมทั้งกฎเช่น การเชื่อถือไว้วางใจ คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะการนำ; ภาวะผู้นำต้องใช้เวลาพัฒนาทุกวัน, ไม่ใช่จะพัฒนาได้ในวันเดียว; การนับถือคนอื่น; การมีการหยั่งรู้แบบญาณสังหรณ์; การเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดคน; การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น; การรู้จักเลือกว่าอะไรสำคัญ; การทำงานแบบเสียสละ และการรู้จักมอบหมายงานความรับผิดชอบให้คนอื่น

เขาเขียนหนังสือ เรื่องภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงอีกหลายเล่ม รวมทั้งเดินทางไปเป็นผู้นำสัมมนาให้ผู้นำองค์กรทั้งโลก(รวมทั้งเมืองไทย) มากกว่า 1 ล้านคนมาแล้ว

หนังสือเรื่อง WINNING WITH PEOPLE ของเขาอธิบายหลักการ 25 ข้อ ในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีขึ้นและพัฒนาความสามารถของเราไปพร้อมกับเครือ ข่ายความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น เขาได้ศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเปิดเผยถึงเคล็ดลับของคนที่มีทักษะ ด้านการเข้ากับผู้คนได้ดีที่สุด

แกนกลางที่แมกซเวลล์ เสนอคือ ผู้คนและองค์กรทำงานได้ดีขึ้น ถ้าผู้นำตระหนักและฟูมฟักดูแลเรื่องของความเป็นมนุษย์ (HUMAN ELEMENT) อย่างเอาใจใส่

ในหนังสือ WINNING WITH PEOPLE เขาย้ำความสำคัญของการพัฒนาคุณสมบัติในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีและสร้าง ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง เขามองว่าในชีวิตส่วนใหญ่ของทุกคน ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ประเภทที่จะฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น (RESILIENT) ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน จึงเป็นการให้เครื่องมือกับเราในการที่จะสร้างองค์กรให้ดีขึ้นได้

หนังสือ WINNING WITH PEOPLE มีชื่อรองว่า DISCOVER THE PEOPLE PRINCIPLES THAT WORK FOR YOU EVERY TIME (ค้นพบหลักการเรื่องคนที่จะใช้ได้ผลทุกเวลา) เนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือ

1. ประเด็นเรื่องความพร้อม: เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?

2. ประเด็นเรื่องการเชื่อมโยง: เราเต็มใจที่จะเพ่งความสนใจไปที่คนอื่นหรือไม่?

3. ประเด็นเรื่องความเชื่อถือไว้วางใจ: เราจะสามารถสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกันและกัน (MUTUAL TRUST) ได้หรือไม่?

4. ประเด็นการลงทุนลงแรง: เราเต็มใจจะลงทุนเพื่อการพัฒนาคนอื่นหรือไม่?

5. ประเด็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันแบบทวีคูณ (SYNERGY) : เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบทุกฝ่ายต่างได้ชัยชนะไปด้วยกัน (WIN – WIN RELATIONSHIP) ได้หรือไม่?

ประเด็นเรื่องความพร้อม : เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?

บางคนสรุปอย่างง่าย ๆ ว่า เรื่องการเข้ากับคนเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ไม่เห็นจะมีความสำคัญอะไรเป็น พิเศษ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะในการริเริ่ม, สร้าง และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีแบบพออกพอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้เสมอไป คนหลายคนมีภูมิหลังที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีปัญหา ไม่มีแบบอย่างของความสัมพันธ์ในทางบวกให้เขาเรียนรู้, คนหลายคนพัฒนาเป็นคนที่สนใจแต่ตัวเองและความต้องการของตนเอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงคนอื่นและความต้องการของคนอื่นเลย, คนบางคนมีอดีตที่ขมขื่นที่ทำให้เขามองโลกในแง่ร้ายจากกรอบแว่นของประสบการณ์ ความเจ็บปวดของเขา และมีคนจำนวนมากที่มีจุดบอดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี พวกเขาไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง และไม่รู้วิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบมีสุขภาพจิตที่ดีกับคนอื่น, คนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้จะต้องเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีและ มีวุฒิภาวะมากพอสมควร

การสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีนั้นเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่คนเราเรียนรู้ได้, ต้องเรียนรู้และพัฒนาให้ได้ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราเข้ากับอาณาบริเวณอื่น ๆ ของชีวิตได้ในทุกเรื่อง การมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีชีวิตและการงานที่ประสบ ความสำเร็จและมีความหมาย สิ่งที่แมกซเวลล์พยายามอธิบายคือ เราจะปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีอยู่และพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ที่เข้มแข็งและ น่าตื่นเต้นได้อย่างไร

หลักการเรื่องแว่นที่เราใช้มองคนอื่น

เรามองและตัดสินคน อื่นผ่านแว่นความเป็นตัวตนของเราเอง ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่บวก เชื่อถือไว้วางใจคนอื่น เราจะมองว่าคนอื่นเป็นคนน่าเชื่อถือไว้วางใจ แต่ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ มองคนอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เราจะมองคนอื่นแบบวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจที่เมตตาอารี เราจะมองคนอื่นว่าเป็นคนมีเมตตาด้วย

ดังนั้น เราต้องตระหนักว่า ทัศนะของเราต่อคนอื่นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการที่เรามองและตีความว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร มากกว่าสิ่งที่คน ๆ นั้นเป็นจริง ๆ ถ้าคุณไม่ชอบคนบางคนเลย เพราะคุณคิดว่าเขามีจุดบกพร่องอย่างโน้นอย่างนี้ นี่คือเรื่องของตัวคุณและวิธีที่คุณมองคนอื่น มากกว่าเป็นเพราะคน ๆ นั้นมีจุดบกพร่องจริง ๆ วิธีการมองของคุณคือตัวปัญหา

ถ้าหากว่านี่คือปัญหา จริง อย่าพยายามไปเปลี่ยนคนอื่น อย่าเพิ่งไปเพ่งความสนใจที่คนอื่น ควรกลับมาเพ่งความสนใจที่ตัวคุณเอง วิเคราะห์ตัวคุณเองว่าคุณมองคนอื่นอย่างมีข้อมูลยืนยันและอย่างเป็นธรรมหรือ ไม่ ถ้าหากคุณเปลี่ยนตัวคุณเองและกลายเป็นคนที่คุณปรารถนาจะได้เป็น คุณจะเริ่มมองคนอื่นในแง่มุมมุมใหม่ และการมองคนในแง่ดีขึ้น ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น จะเปลี่ยนวิธีที่คุณมีปฏิกริยาและสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ

หลักการเรื่องกระจกเงาส่องตัวเอง

คนทั่วไปมักไม่ ตระหนักว่าเขาคือใคร และสิ่งที่พวกเขาทำบ่อยครั้งทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบทำลายล้างนี้ได้ คือ เราควรจะกลับมาส่องกระจกเงา เพื่อหาความจริงด้วยการเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง

การตระหนักถึงตนเอง (SELF AWARENESS) การรู้จักเข้าใจหยั่งรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในตนเอง เช่นเจตคติ แรงจูงใจ ปฏิกริยา การป้องกันตนเองในทางจิตวิทยา จุดแข็ง จุดอ่อน คนเรามักวิเคราะห์คนอื่นไม่ว่าใครต่อใครได้หมด แต่มักจะไม่วิเคราะห์ตนเอง

การมองภาพพจน์ตนเอง (SELF – IMAGE) การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือในแง่ร้าย คือการคาดหมายเกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่งมักจะนำเราไปสู่สิ่งที่เราคาดหมายไว้ การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือแง่บวก จะทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น และทำให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ ได้มากกว่าการมองภาพพจน์ตนเองในแง่ร้ายหรือแง่ลบ

การซื่อสัตย์ต่อตนเอง (SELF HONESTY) การเต็มใจที่จะซื่อสัตย์เกี่ยวกับเรื่องจุดอ่อน, ความผิดพลาดและปัญหาของตัวเราเอง จะช่วยให้เราเรียนรู้และก้าวข้ามอุปสรรคได้ดีกว่าการไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกตน เอง เพราะการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองทำให้เราไม่รู้ความจริง และทำให้ตัวเราเองคืออุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดโดยที่เราไม่รู้ตัว และได้แต่โทษคนหรือสิ่งอื่น ๆ

การปรับปรุงตนเอง (SELF IMPROVEMENT) การรู้จักตนเองและการหาทางปรับปรุงตัวเอง ไม่ว่าในเรื่องบุคลิกอุปนิสัย คุณสมบัติ วิธีคิด วิธีควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ฯลฯ เป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตัวเราเองไปสู่ความสำเร็จได้อย่าง สำคัญ คนที่ไม่รู้จักตัวเองและพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่น โดยไม่คิดเรื่องเปลี่ยนแปลงตัวเอง นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วย

การรับผิดชอบต่อตนเอง (SELF RESPONSIBILITY) แม้ว่าการประสบความสำเร็จที่สำคัญในทุกเรื่องจะเป็นผลมาจากการทำงานของคน ร่วมกันหลายคน แต่มักจะเริ่มจากวิสัยทัศน์ (VISION) ของคนใดคนหนึ่งเสมอ หากเรามีวิสัยทัศน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะต้องรับผิดชอบด้วยการนำวิสัยทัศน์นั้นไปขยายต่อให้คนอื่น ๆ เห็นด้วย เพื่อที่คนทั้งหลายจะได้ช่วยกันทำวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

Module 5 คือ การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ Strategy Implementation

Module 5 คือ การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ Strategy Implementation
วิทยากร ดร.พิกุล,ดร.จีรศักดิ์

การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับสถานศึกษา เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา
2.การวินิจฉัยองค์การ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์สถานศึกษา
4.การประเมินผลและให้ข้อมูลป้อนกลับ
การบริหารเชิงกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน
หน่วยงานในที่นี้หมายถึง การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา เช่น การแบ่งตามโรงเรียนนิติบุคคล ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป โดยเริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายระดับหน่วยงาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ
2.การสำรวจสภาพปัจจุบัน หรือ การวินิจฉัยของฝ่ายแต่ละฝ่าย โดยนำเครื่องมือ SWOT Analysis มาเป็นเครื่องมือ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานด้วยแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ระดับหน่วยงาน
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับหน่วยงาน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับบุคคล
ถือเป็นเรื่องใหม่ของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานและบุคคลเป็นไปในทิศทางเดียว กัน พร้อมกับขับเคลื่อนให้องค์การดำเนินสู่วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายการทำงานบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายระดับหน่วยงาน
2.การทบทวนบทบาทและหน้าที่ของบุคลากร โดยพิจารณาจากรายละเอียดหน้าที่งาน
3.กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลและการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

Module ที่ 4 เรื่อง การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Formulating)

Module ที่ 4 เรื่อง การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Formulating)
วิทยากร ผศ.ประมวล ตันยะ

การพัฒนาองค์การ หรือ OD : Organization Development หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบด้วยการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรม ศาสตร์เข้ามาช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนองค์การตั้งแต่ระดับกลยุทธ์องค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่องค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์และกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารยุทธศาสตร์ สามารถทำความเข้าใจง่าย ๆ ด้วยการตอบคำถาม 4 คำถามสำคัญดังนี้
๑. ในอนาคต เราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to be?)
๒. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๓. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. เราจะต้องทำหรือปรับเปลี่ยน อะไรบ้าง เพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change in order to get there?)
กระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะประกอบด้วย
๑. การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) การวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ทั้งภายในและภายนอกด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสม เป็นการตอบคำถาม ว่า ปัจจุบันองค์การของเราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๒. การกำหนดทิศทางขององค์การ (Strategic Direction Setting) เป็นการกำหนดทิศทางที่องค์การต้องการไปสู่ ได้แก่ การกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวขององค์การ เป็นการตอบคำถามว่า องค์การของเราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to go?)
๓. การกำหนดยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Formulation) คือ การนำข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการกำหนดทิศทางขององค์การและการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน องค์การมาจัดทำเป็นยุทธ์ศาสตร์ในระดับและรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการประเมินและคัดเลือกว่ายุทธศาสตร์ใดที่มีความเหมาะสมกับองค์การมาก ที่สุด เป็นการตอบคำถามว่า เราจะไปสู่การบรรลุทิศทางขององค์การได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแต่เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากในการบริหารเชิง ยุทธศาสตร์ เมื่อองค์การได้กำหนดทิศทางขององค์การ วิเคราะห์ปัจจัยด้านต่าง ๆ และจัดทำยุทธศาสตร์แล้ว จะต้องนำยุทธศาสตร์ที่ได้วางแผน จัดทำและคัดเลือกไว้มาดำเนินการประยุกต์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ เสมือนการตอบคำถามว่า เราจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อนำยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ไปสู่การปฏิบัติ (What do we have to do or change?)
การจัดทำยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน ได้แก่วิสัยทัศน์ที่องค์การต้องการบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) แผนที่ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบอกเล่าและสื่อสารถึงยุทธศาสตร์ขององค์การ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทั้งผู้บริหารและบุคลากรมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการผ่านมุมมองในมิติต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึง การนำหลักการของ Balanced Scorecard
2. ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
2.1 การบริหารและจัดทำยุทธศาสตร์ในภาคการศึกษา การวางแผนในระดับสถานศึกษานั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ก. แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ นโยบาย มาตรการที่ใช้อยู่ในขณะนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วยความมุ่งหมายของการศึกษา นั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
ข. ความมุ่งหมายของการศึกษาตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ รวมทั้งในระดับก่อนและหลังด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนในระยะยาวสอดคล้องกันทุกระดับการศึกษา
ค. จุดประสงค์ของหลักสูตรตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบ
ง. จำนวนนักเรียนและห้องเรียนที่จะต้องเปิดสอนทั้งที่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือเป็นนโยบายของทางการ เช่น ทางการสั่งให้เปิดรับนักเรียนเพิ่ม
จ. ทรัพยากรที่มีอยู่และที่คาดว่าจะได้มาทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ
ฉ. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ค่านิยม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในสังคมอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน
ช.ภาวะความเป็นไปของประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ซ. นโยบาย ระเบียบ และขนบธรรมเนียมของทางราชการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดและให้การศึกษา
ฌ. ความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น แนวโน้มในการจัดการศึกษา งานวิจัยทางการศึกษาหรือการติดตามความคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่มีผู้ แสดงออกทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดแนวคิดในการวางแผนจัดการศึกษาหรือบริหารจัดการโรงเรียนให้ดี ขึ้น
2.2 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารราชการ ในส่วนนี้นั้น แนวคิดที่มาเกี่ยวข้องก็คือ Balanced Scorecard ซึ่งจะมีมุมมอง ตามกรอบดังนี้
มิติด้านประสิทธิผล หรือ ผลลัพธ์ที่สำคัญจากประเด็นยุทธศาสตร์นั้นคืออะไร อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญว่าประเด็นยุทธศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไร คือสิ่งที่ผู้รับบริการของยุทธศาสตร์นั้นต้องการ และจะทราบได้อย่างไรว่าสามารถนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ในการที่จะนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ และหรือการก่อให้เกิดประสิทธิผล องค์การต้องทรัพยากรอะไรบ้าง (นอกเหนือจากบุคลากร) รวมถึงต้องมีกระบวนการ หรือ กิจกรรมใดบ้าง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ หรือเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผล
มิติด้านการพัฒนาองค์การ จะต้องมีการพัฒนาองค์การในด้านใดบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานยุทธศาสตร์

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

Module ที่ 3 เรื่อง การนำองค์การ และเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
เป็นเครื่องมือที่ชี้นำ และกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม และความคาดหวัง ในผลการดำเนินงานขององค์การโดยอาศัย
oการสื่อสาร
oการสร้างบรรยากาศ
oระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี
oความรับผิดชอบต่อสังคม
oการสนับสนุนชุมชน
oการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
การนำองค์การ
เพื่อปรับปรุง
1.กระบวนการนำองค์การ
2.กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
กระบวนการนำองค์การ
เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การ
- วิสัยทัศน์
- เป้าประสงค์
- ผลการดำเนินการที่คาดหวัง
- ค่านิยมขององค์การ
กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
•การดำเนินงานที่มีผลกระทบ
•การสร้างจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ
•การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน
การนำองค์การ สามารถดำเนินการได้โดย
•กำหนดทิศทางขององค์การ
•สื่อสารสร้างความเข้าใจ
•สร้างบรรยากาศ
•เป็นตัวอย่างที่ดีในการกำกับดูแลตนเอง
•ใช้ผลประโยชน์จากการที่ได้ประเมินการปรับปรุง
•ประเมินผลงานผู้บริหารเพื่อปรับปรุงระบบการนำองค์การ
ทักษะการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
•มีความคิดเชิงวิเคราะห์
•การคิดนอกกรอบ
•การคิดสร้างสรรค์
•การสื่อสารให้เข้าใจ
•มีทักษะ ICT

เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึงการนำเอาหลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยมาพัฒนาหรือประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเกิดปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
1.เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process)
2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
3.เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)

เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาวัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น

เทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอน หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค วิธีการ ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงขึ้น

สาเหตุที่ต้องนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
1.จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจรวดเร็วมาก
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
1.ทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2.สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.ทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น
5.ทำให้เรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
1. ประสิทธิผล (Productivity)
2. ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน (Efficiency)
3. ประหยัด (Economy)
เทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในการศึกษา
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสาน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
•ประโยชน์ต่อระบบการศึกษา
•ประโยชน์ต่อคุณภาพทางการเรียนการสอน
•ประโยชน์ต่อตัวนักเรียน
•ประโยชน์ต่อตัวครู
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน 2.ชุดสื่อการสอน
3.การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน 4.ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ
5.การผลิตสื่อจากท้องถิ่น 6.การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์
7.การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานจะมีมากขึ้น
8.สื่อประเภทรายบุคคล 9.เน้นเครือข่ายการเรียนรู้
10.เน้นการเรียนรู้แบบออนไลน์ และการสอนบนเว็บ
11.รูปแบบของการเรียน 12.บทบาทของครูผู้สอน
ธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
•เรียนสิ่งที่ตนสนใจหรืออยากรู้
•ด้วยวิธีการที่ตนถนัด
•ในเวลาที่ตนพอใจ
•ณ สถานที่ที่ตนสะดวก
•มีแหล่งความรู้หลากหลาย
•ทราบและมีความก้าวหน้าในการเรียน
แนวการเรียนแบบยืดหยุ่น
*สื่อ *นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี *สถานที่
*เวลา *วิธีการเรียน *ผลการเรียน

Module 2 : การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมภิบาล Good Governance

บทสรุป
การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไป สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา สำหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลนั้น มีหลักการสำคัญ 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานภายในสถานศึกษาเกิดความสมดุลระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความสุขและความ สำเร็จในการทำงานภายในองค์การของตน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา เพราะยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้

ความหมาย : วิธีการที่ดีที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรหรือประเทศให้ดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของสังคม นำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล
1.เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2.ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเสถียรภาพ
3.ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหา ความรุนแรงในสังคม
4.ช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้าน
5.จะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง
6.เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย
7.จะช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรม
8.จะช่วยให้การยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
9.ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
10.สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9
11.เป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยากจน
12.เป็นหลักการสำคัญที่องค์การระหว่างประเทศใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา
13.เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
14.เป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็นธรรมต่อคนในสังคม

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
1.หลักนิติธรรม 2.หลักคุณธรรม 3.หลักความโปร่งใส
4.หลักการมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า

กลไกที่ช่วยสร้างธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล คือ สภาพอุดมคติ (Ideology) ที่คนและองค์การสามารถธำรงรักษาสมดุลระหว่างความสุข ความสำเร็จ ของตนเอง และผู้อื่น การสร้างธรรมาภิบาล คือการจัดระเบียบสังคม (Social Orders) เพื่อให้มีค่านิยม บรรทัดฐาน กฎระเบียบและการจัดโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ธรรมาภิบาล

Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต The Challenge of the Future Education Administration

Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต
(Context Analysis : The Challenge of the Future Education Administration)


การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
มีกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือมีเทคนิคที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 เทคนิค คือ
1.การวิเคราะห์บริบทใช้เทคนิคการวินิจฉัยองค์การ
2.การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
3.แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา
โดยที่มีเป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคต

1.การวินิจฉัยองค์การ(Organization Diagnosis)
การวินิจฉัยองค์การ คือ กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร โดยการใช้ SWOT Analysis โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่ สองประเด็นคือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ C-PEST
C : Custumer,Competitors คือ ลูกค้าหรือผู้รับบริการ , คู่แข่ง
P : Politics คือ สถานการทางการเมือง และยังร่วมถึงนโยบายต่าง ๆ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
E : Environment, Economics คือ สภาพแวดล้อม หรือสภาพเศรษฐกิจ
S : Society คือ สภาพสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ของประชาชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษาเป็นอย่างไร
T : Technology คือ เทคโนโลยีรวมถึงระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นในเรื่อง โอกาส และปัญหาอุปสรรค
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนิยมมาใช้ ได้แก่ 7Ss ตามแนวคิดของ McKinsey 7-S Framework ประกอบด้วย
S – Strategy : ยุทธศาสตร์
S – Structure : โครงสร้างขององค์การ
S – Systems : ระบบงาน
S – Skill : ทักษะ หรือความสามารถ ซึงปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่า สมรรถนะ (Competency)
S – Shared Values : ค่านิยมร่วม
S – Staff : ทีมงาน หรือ บุคลากรในองค์การ
S – Style : รูปแบบการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การ
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
2.การวิเคราะห์เชิงระบบ
การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการ องค์การแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ เป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าคิดวิเคราะห์แยกแยะ มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุผล เชิงเส้นตรง คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (Pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (Events)
3.การใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)
จิตตปัญญาศึกษา เป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ โดยภาพรวมจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความ ตระหนักรู้ การเรียนรู้และการรู้ทัน มิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก) ของตนเองให้คุณค่าการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงการสังเกตอย่างมีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองที่เกิดขึ้นจาก การเผชิญกับผู้อื่นและโลกภายนอก ผ่านกระบวนการ/วิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การสงบนิ่งอยู่กับตนเอง/การเจริญสติ ภาวนา การสะท้อนการเรียนรู้ตนและกลุ่ม เป็นต้น