Module ที่ 4 เรื่อง การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Formulating)
วิทยากร ผศ.ประมวล ตันยะ
การพัฒนาองค์การ หรือ OD : Organization Development หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบด้วยการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรม ศาสตร์เข้ามาช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนองค์การตั้งแต่ระดับกลยุทธ์องค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่องค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์และกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารยุทธศาสตร์ สามารถทำความเข้าใจง่าย ๆ ด้วยการตอบคำถาม 4 คำถามสำคัญดังนี้
๑. ในอนาคต เราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to be?)
๒. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๓. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. เราจะต้องทำหรือปรับเปลี่ยน อะไรบ้าง เพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change in order to get there?)
กระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะประกอบด้วย
๑. การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) การวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ทั้งภายในและภายนอกด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสม เป็นการตอบคำถาม ว่า ปัจจุบันองค์การของเราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๒. การกำหนดทิศทางขององค์การ (Strategic Direction Setting) เป็นการกำหนดทิศทางที่องค์การต้องการไปสู่ ได้แก่ การกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวขององค์การ เป็นการตอบคำถามว่า องค์การของเราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to go?)
๓. การกำหนดยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Formulation) คือ การนำข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการกำหนดทิศทางขององค์การและการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน องค์การมาจัดทำเป็นยุทธ์ศาสตร์ในระดับและรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการประเมินและคัดเลือกว่ายุทธศาสตร์ใดที่มีความเหมาะสมกับองค์การมาก ที่สุด เป็นการตอบคำถามว่า เราจะไปสู่การบรรลุทิศทางขององค์การได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแต่เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากในการบริหารเชิง ยุทธศาสตร์ เมื่อองค์การได้กำหนดทิศทางขององค์การ วิเคราะห์ปัจจัยด้านต่าง ๆ และจัดทำยุทธศาสตร์แล้ว จะต้องนำยุทธศาสตร์ที่ได้วางแผน จัดทำและคัดเลือกไว้มาดำเนินการประยุกต์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ เสมือนการตอบคำถามว่า เราจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อนำยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ไปสู่การปฏิบัติ (What do we have to do or change?)
การจัดทำยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน ได้แก่วิสัยทัศน์ที่องค์การต้องการบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) แผนที่ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบอกเล่าและสื่อสารถึงยุทธศาสตร์ขององค์การ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทั้งผู้บริหารและบุคลากรมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการผ่านมุมมองในมิติต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึง การนำหลักการของ Balanced Scorecard
2. ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
2.1 การบริหารและจัดทำยุทธศาสตร์ในภาคการศึกษา การวางแผนในระดับสถานศึกษานั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ก. แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ นโยบาย มาตรการที่ใช้อยู่ในขณะนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วยความมุ่งหมายของการศึกษา นั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
ข. ความมุ่งหมายของการศึกษาตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ รวมทั้งในระดับก่อนและหลังด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนในระยะยาวสอดคล้องกันทุกระดับการศึกษา
ค. จุดประสงค์ของหลักสูตรตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบ
ง. จำนวนนักเรียนและห้องเรียนที่จะต้องเปิดสอนทั้งที่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือเป็นนโยบายของทางการ เช่น ทางการสั่งให้เปิดรับนักเรียนเพิ่ม
จ. ทรัพยากรที่มีอยู่และที่คาดว่าจะได้มาทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ
ฉ. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ค่านิยม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในสังคมอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน
ช.ภาวะความเป็นไปของประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ซ. นโยบาย ระเบียบ และขนบธรรมเนียมของทางราชการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดและให้การศึกษา
ฌ. ความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น แนวโน้มในการจัดการศึกษา งานวิจัยทางการศึกษาหรือการติดตามความคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่มีผู้ แสดงออกทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดแนวคิดในการวางแผนจัดการศึกษาหรือบริหารจัดการโรงเรียนให้ดี ขึ้น
2.2 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารราชการ ในส่วนนี้นั้น แนวคิดที่มาเกี่ยวข้องก็คือ Balanced Scorecard ซึ่งจะมีมุมมอง ตามกรอบดังนี้
มิติด้านประสิทธิผล หรือ ผลลัพธ์ที่สำคัญจากประเด็นยุทธศาสตร์นั้นคืออะไร อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญว่าประเด็นยุทธศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไร คือสิ่งที่ผู้รับบริการของยุทธศาสตร์นั้นต้องการ และจะทราบได้อย่างไรว่าสามารถนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ในการที่จะนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ และหรือการก่อให้เกิดประสิทธิผล องค์การต้องทรัพยากรอะไรบ้าง (นอกเหนือจากบุคลากร) รวมถึงต้องมีกระบวนการ หรือ กิจกรรมใดบ้าง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ หรือเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผล
มิติด้านการพัฒนาองค์การ จะต้องมีการพัฒนาองค์การในด้านใดบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานยุทธศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น