วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต The Challenge of the Future Education Administration

Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต
(Context Analysis : The Challenge of the Future Education Administration)


การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
มีกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือมีเทคนิคที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 เทคนิค คือ
1.การวิเคราะห์บริบทใช้เทคนิคการวินิจฉัยองค์การ
2.การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
3.แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา
โดยที่มีเป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคต

1.การวินิจฉัยองค์การ(Organization Diagnosis)
การวินิจฉัยองค์การ คือ กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร โดยการใช้ SWOT Analysis โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่ สองประเด็นคือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ C-PEST
C : Custumer,Competitors คือ ลูกค้าหรือผู้รับบริการ , คู่แข่ง
P : Politics คือ สถานการทางการเมือง และยังร่วมถึงนโยบายต่าง ๆ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
E : Environment, Economics คือ สภาพแวดล้อม หรือสภาพเศรษฐกิจ
S : Society คือ สภาพสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ของประชาชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษาเป็นอย่างไร
T : Technology คือ เทคโนโลยีรวมถึงระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นในเรื่อง โอกาส และปัญหาอุปสรรค
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนิยมมาใช้ ได้แก่ 7Ss ตามแนวคิดของ McKinsey 7-S Framework ประกอบด้วย
S – Strategy : ยุทธศาสตร์
S – Structure : โครงสร้างขององค์การ
S – Systems : ระบบงาน
S – Skill : ทักษะ หรือความสามารถ ซึงปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่า สมรรถนะ (Competency)
S – Shared Values : ค่านิยมร่วม
S – Staff : ทีมงาน หรือ บุคลากรในองค์การ
S – Style : รูปแบบการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การ
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
2.การวิเคราะห์เชิงระบบ
การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการ องค์การแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ เป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าคิดวิเคราะห์แยกแยะ มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุผล เชิงเส้นตรง คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (Pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (Events)
3.การใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)
จิตตปัญญาศึกษา เป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ โดยภาพรวมจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความ ตระหนักรู้ การเรียนรู้และการรู้ทัน มิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก) ของตนเองให้คุณค่าการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงการสังเกตอย่างมีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองที่เกิดขึ้นจาก การเผชิญกับผู้อื่นและโลกภายนอก ผ่านกระบวนการ/วิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การสงบนิ่งอยู่กับตนเอง/การเจริญสติ ภาวนา การสะท้อนการเรียนรู้ตนและกลุ่ม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: