บทสรุป
การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไป สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา สำหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลนั้น มีหลักการสำคัญ 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานภายในสถานศึกษาเกิดความสมดุลระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความสุขและความ สำเร็จในการทำงานภายในองค์การของตน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา เพราะยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้
ความหมาย : วิธีการที่ดีที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรหรือประเทศให้ดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของสังคม นำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล
1.เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2.ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเสถียรภาพ
3.ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหา ความรุนแรงในสังคม
4.ช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้าน
5.จะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง
6.เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย
7.จะช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรม
8.จะช่วยให้การยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
9.ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
10.สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9
11.เป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยากจน
12.เป็นหลักการสำคัญที่องค์การระหว่างประเทศใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา
13.เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
14.เป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็นธรรมต่อคนในสังคม
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
1.หลักนิติธรรม 2.หลักคุณธรรม 3.หลักความโปร่งใส
4.หลักการมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า
กลไกที่ช่วยสร้างธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล คือ สภาพอุดมคติ (Ideology) ที่คนและองค์การสามารถธำรงรักษาสมดุลระหว่างความสุข ความสำเร็จ ของตนเอง และผู้อื่น การสร้างธรรมาภิบาล คือการจัดระเบียบสังคม (Social Orders) เพื่อให้มีค่านิยม บรรทัดฐาน กฎระเบียบและการจัดโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ธรรมาภิบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น