…ญึ่ปุ่นได้กำหนดหนังสือประเภทคลาสสิกของจีน 4 เล่มให้เป็นหนังสือที่จำเป็นต้องศึกษาให้ถ่องแท้ไว้ในการฝึกอบรมพนักงานของตน คือ
1. สามก๊ก
2. ซุนวู
3. ไซอิ๋ว
4. คัมภีร์รากผัก
…หนังสือแต่ละเล่มผู้อ่านจะได้รับความรู้แง่คิดในด้านที่ต่างกัน คือ สามก๊กในด้านของการปฏิบัติ, ซุนวูในด้านของกลยุทธ์, ไซอิ๋วในด้านของจินตนาการ และ คัมภีร์รากผักในด้านของปรัชญา …
…ผู้ประพันธ์คัมภีร์รากผักคือ หง ยิ่งหมิง มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการแปลเป็นไทยโดยคุณ วิทยา โสภณดิเรกรัตน์ คัมภีร์รากผักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการบริหารจัดการของญี่ปุ่นถึง ขนาดมีคำกล่าวที่ว่า “ตำราบริหารธุรกิจ นั้นยังไม่อ่านก็ได้ แต่ ‘คัมภีร์รากผัก’ นั้นไม่อ่านไม่ได้เลย” เหมาเจ๋อตุงเคยกล่าวว่า “คนที่เคี้ยวกินรากผักได้ ย่อมสามารถทำงานอะไรก็ได้”
โบราณท่านว่า “แท้จริงแล้วรากผักมีรสหอมหวาน ลองปล่อยใจดื่มด่ำย่อมได้รสชาติที่แท้จริง” วันนี้เราลองมาทานรากผักกันดูนะครับ
“รักษาคุณธรรม ไม่พึ่งอำนาจวาสนา”
คนที่เอาแต่พึ่งอำนาจวาสนาสุดท้ายแล้วจะต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะุเหตุด้วยความเสื่อมแห่งอำนาจวาสนานั่นเอง
“ความฉลาดมากเล่ห์ มิสู้ความสัตย์ซื่อตรง”
คนฉลาดแต่มากด้วยเล่ห์ไม่ยั่งยืน เกิดเป็นคนควรมีใจสัตย์ซื่อ โอบอ้อมอารี ตรงไปตรงมา
“จิตใจต้องเปิดเผย ปัญญาความสามารถต้องปิดบัง”
ใช้ปัญญาความสามารถอย่างมีสติ มิเช่นนั้นภัยอาจถึงตัว
“ไม่แปดเปื้อนความโสโครก ไม่ยอมใช้เล่ห์เพทุบาย”
ท่ามกลางการใช่เล่ห์เหลี่ยมกลโกง คนที่ยังคงความดีของตัวเองไว้ไม่ยอมเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมถือว่าเป็นคนที่สูงส่งยิ่ง
“รู้จักฟังคำระรายหู ฝึกตนด้วยเรื่องไม่สบายใจ”
เรื่องไม่สบายใจและคำระคายหูถือเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจชั้นดี เพื่อยกระดับคุณธรรมในตัวเราให้สูงขึ้น
“ความสงบสุขสันต์ ธรรมชาติกับมนุษย์หมายปอง”
ทะเลไม่เคยหยุดนิ่ง จิตใจคนเราก็เช่นกันมิอาจไร้ความสุขสบายได้แม้แต่วันเดียว
“รสจืดคือรสแท้ มนุษย์ที่แท้คือคนสามัญ”
คนดีที่แท้นั้น คือคนที่ปฏิบัติตนเยี่ยงคนธรรมดาสามัญ
“ยามว่างอย่าเย็นใจ ยามยุ่งอย่าร้อนใจ”
ยามว่างควรกระตือรือร้นขวนขวาย ยามยุ่งควรหัดรู้จักทำความสงบและปล่อยวาง
“นั่งสมาธิดูใจ ปรากฏทั้งความสว่างและความฟุ้งซ่าน”
นั่งสมาธิส่องดูใจของตัวเอง เพื่อความเข้าใจในสัจธรรมชีวิตและขจัดความฟุ้งซ่าน
“เมื่อสมหวังต้องรู้พอ เมื่อผิดหวังต้องไม่ท้อ”
เมื่อได้รับสมหวังตามที่ต้องการแล้วต้องรู้จักพอ แต่เมื่อเจอกับความผิดหวังก็ไม่ควรเลิกล้มความพยายามง่ายๆ
"จิตโอบอ้อมอารี คุณความดียืนยาว"
คนเราควรมีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น และควรสะสมคุณความดีเอาไว้ให้มาก ๆ เพราะตายแล้วก็ยังมีนระลึกถึงมิเสื่อมคลาย
"เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเพียงพอ"
แม้ยามมีหรือไม่มีก็ตามต้องรู้จักเผื่อแผ่แบ่งปันให้คนอื่นเสมอ
"สำเร็จได้เพราะไม่ใฝ่ต่ำ สู่แดนธรรมเพราะลดกิเลส"
คนเรกหากสามารถละทิ้งจิตใจใฝ่ต่ำได้ก็ถือว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จแล้ว และหากสามารถลดละความผูกพันที่มีต่อลภาพยศสรรเสริญได้ก็นับได้ว่าได้เข้าสู แดนธรรมอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว
"ใจกว้างคบเพื่อน สุจริตใจคบคน"
การคบเพื่อนต้องมีใจนักเลงไม่กลัวเสียเปรียบ คนเราต้องรู้จักคงความบริสุทธิใจไว้บ้าง
"เวลาได้รับไม่นำหน้า เวลาเสียสละไม่รั้งหลัง"
เวลาได้รับความดีความชอบก็ไม่ควรแย่งแซงหน้าผู้อื่น เมื่อจำเป็นต้องเสียสละก็อย่ามัวช้าอยู่หลังผู้อื่น และเมื่อได้รับผลประโยชน์ตามควรแล้วให้รู้จักพอ
"ความอดกลั้นคือศิลปะชั้นสูง ดีต่อเขาคือดีต่อตนเอง"
การรู้จักถอยหลีกสักก้าวย่อมนำมาซึ่งจังหวะก้าวหน้าที่ดีกว่า การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นคือารวางรากฐานอันนำกลับมาซึ่งประโยชน์สู่ตนเอง คุยโวทำให้ผลงานด้อยค่า สำนึกบาปช่วยลดทอนความผิด
การคุยโวโอ้อวดจะทำให้ผลงานสร้างมาหมดคุณค่าลงอย่างรวดเร็ว การสำนึกบาปกลับเนื้อกลับตัวได้ก็เปรียบเสมือนโจรกลับใจ
"เรื่องดีไม่เอาใส่ตัวผู้เดียว เรื่องชั่วไม่ผลักให้ผู้อื่น"
เรื่องความดีความชอบนั้นไม่ควรครอบครองเอาไว้แต่ผู้เดียว ควรรู้จักยกย่องคนอื่นบ้าง ส่วนเรื่องอัปยศอดสูก็ไม่ควรผลักให้ผู้อื่นทั้งหมด ควรรู้จักรับเองบ้ง
"ความดีความชอบไม่ขอให้ปรี่ล้น เป็นคนต้องรู้จักพอ"
กระทำสิ่งใดอย่าหวังเอาแต่ได้ ควรมีใจเอื้อเฟื้อเผือแผ่ต่อผู้อื่น จะได้ไม่นำภัยมาสู่ตนในภายหลัง
เนื้อหาภายในเล
- หลงอำนาจชั่วเวลาหนึ่ง จักเศร้าสลดไปชั่วนิรันดร์
- นิทานปาท่องโก๋
- ความในใจควรเปิด ความปราดเปรื่องพึงซ่อน
- คนขายสีกับคนขายวัว
- ยาดีย่อมขมปาก คำเตือนมักขัดหู
- เรื่องของผีเสื้อ
- จางจืดจึ่งรู้รสแท้ สามัญจึ่งเป็นยอดคน
- ลิงสวมหมวก
- หนทางแคบควรถอยหนึ่งก้าว อาหารดีควรแบ่งสามส่วน
- ปากสองปาก
- คบเพื่อนควรมีมิตรจิต เป็นคนพึงต้องจริงใจ
- สร้างสะพานให้ดี
- สะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน
- จักจั่นกับหิ่งห้อย
- คนมั่งมีควรทำทานให้มาก ผู้ฉลาดพึงละการโอ้อวด
- ตาเฒ่าหมู่บ้านเผิง
- คนชั่วเล่าเรียน ยิ่งเสริมความชั่ว
- ซุนปินกับพังจวน
- อ่านบทประพันธ์ดีเยี่ยมในใจตน ฟังดนตรีเสนาะโสตจริงแท้
- สุภาษิตของหนอนขาเดียว
- คนตายชื่อยัง เสือตายหนังอยู่
- ความฝันของมหาเศรษฐี
- ถ่อมตัวจักได้ เย่อหยิ่งจักเสีย
- โอ่งเอียงกับกระบอกเงิน
- ป้องกันก่อนฝนตก เตรียมไว้ไม่มีภัย
- กันไว้ดีกว่าแก้
- ลมอุ่นละลายความหนาวเย็น ความอ่อนโยนละลายน้ำแข็ง
- หลิวควนเลี้ยงแขก
- บทประพันธ์ดีเยี่ยมไม่พิสดาร คุณธรรมสุดยอดคือธรรมชาติ
- จิตรกรวาดวงกลม
- ทำสิ่งใดควรเว้นที่ว่าง แค่ห้าส่วนก็จะไม่เสียใจ
- เป่าสื้อหัวเราะ
- มองที่เรื่องใหญ่ ทำที่เรื่องเล็ก
- รังมดเล็ก ๆ
- ไม่โอ้อวดความสวยงามและความบริสุทธิ์ ก็ไม่ขายหน้าในความอัปลักษณ์สกปรก
- สี่อิ๋วล้างหู
- ประจบประแจงยกยอปอปั้น คือปกติวิสัยของมนุษย์
- ผู้พึ่งเมิ่งฉางจุน
- ความวิเศษแห่งการเนรมิตของธรรมชาติ ยากที่สติปัญญาความสามารถใดจะทัดเทียม
- ชาวประมงจับปลา
- อย่าหมิ่นตนเองอย่างเบาปัญญา อย่าโอ้อวดเย่อหยิ่งทะนงตน
- คุณชายบ้านลู่กับขอทาน
- ลมอุ่นให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง หิมะไม่เอื้ออาทรผู้ใด
- ลมใบไม้ผลิกับหิมะน้ำแข็ง
- ความดีเติบโตเงียบ ๆ ความชั่วสูญหายนานช้า
- เจ้าสาวสองคน
- คุณธรรมความประพฤติธรรมดาสามัญ คือรากฐานแห่งสันติสุข
- นายอำเภอลากเรือ
- ทองคำต้องหลอมร้อยครั้ง ลูกธนูอย่ายิงง่ายนัก
- ทองแท้กับหน้าไม้พันชั่ง
- ซ่อนความสามารถเก็บสติปัญญา เพื่อแบกภาระหนักฝ่าทางไกล
- บังทองคนอัปลักษณ์
- มุทะลุมักเสียการ สุขุมจักนำโชค
- อู๋กังกับนกแก้วน้อย
- เคร่งครัดจักเสียคนดี หย่อนยานจักได้เพื่อนชั่ว
- คนอย่างเฝิงฮวน
- อ่านหนังสือควรอ่านจนดื่มด่ำ สังเกตสรรพสิ่งควรทำจนซาบซึ้ง
- ลูกเขยโง่ซื้อห่าน
- เข้มข้นทนทานมิเท่าอ่อนจาง ความสำเร็จจักบังเกิดในบั้นปลาย
- ของเล่นของเสี่ยวจู้จื่อ
- โลกกว้างหรือแคบ อุปโลกน์ขึ้นเอง
- สามีภรรยาผู้แปลกหน้า
- ความหรรษามีคุณค่าที่เป็นธรรมชาติทิวทัศมิได้ดีที่มีมากหรืออยู่ไกล
- หนึ่งบุปผาคือหนึ่งวิมาน
- ใจไร้ความปรารถนาฟ้าดินก็สงบ มีหนังสือและพิษในมือก็คือผู้วิเศษ
- ฮุ่นตุ้นตายแล้ว
- ชีวิตดั่งหนึ่งฟองอากาศ ไยต้องชิงชื่อเสียงลาภยศ
- รบกันบนยอดเขาหอยทาก
- เลี้ยงต้นไม้ปลูกต้นไผ่ ใจไร้ซึ่งตัวเรา
- ประวัติซินแสอู่หลิ่ว
- ได้มรรคไร้พันธนาการ จะเงียบหรืออึกทึกล้วนไม่เกี่ยว
- เทวดาผู้วิเศษในโลกมนุษย์
- เคลื่อนหรือนิ่งแต่พอเหมาะ จะเข้าหรือออกก็ไร้สิ่งกีดขวาง
- พิณไร้สายของเถาหยวนหมิง
- นอนเมฆชมเดือน ตัดกิเลสพ้นโลก
- จีคังเก็บสมุนไพร
- โลกในเมฆหมอก ฟ้าดินในความเงียบ
- กวีบนหลังลา
- ความสะพรั่งของฤดูใบไม้ผลิ มิสู้ความสดชื่นในฤดูใบไม้ร่วง
- ตู้ฝู่ใหลหลง
- ภาพลักษณ์เกิดจากใจ ดับหายไปตามจิต
- ผีเงา
- อารมณ์แห่งความวิตกยินดีจะชังหรือชอบ ล้วนเพราะเห็นคล้อย
- ไปตามรูปลักษณ์
- ทัศนะของเจ้าของโรงเตี๊ยม
- คนมั่งมีมากทุกข์ ผู้สูงศักดิ์มากภัย
- เศรษฐีกับผู้สูงศักดิ์
- สรรพสิ่งไร้ชีวิตชีวาเพราะมนุษย์ พลังชีวิตอยู่ในธรรมชาติ
- แสงดาวที่ร่วงลงมาจากท้องฟ้า
- สัตว์ร้ายปราบง่าย ใจคนสยบยาก
- วาระสุดท้ายของฮ่องเต้
- ได้ดีหรือตกต่ำไม่ตระหนก จะอยู่หรือจะไปไม่กังวล
- เทวดาในจอกเหล้า
- ทะเลทุกข์เวิ้งว้าง หันหลังกลับคือฝั่ง
- แมลงเม่าโฉบไฟ
- ไม่อวดฝีมือ ถือความเรียบง่าย
- ฝักถั่วไต้แสงอาทิตย์
- ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
- วาจาของก่วนจ้ง
- ชนะแพ้หรือสวยงามอัปลักษณ์ คือภาพลวงชั่วเวลาหนึ่ง
- บนเวทีและนอกเวที
- ธรรมชาติบริสุทธิ์ย่อมปรารถนาแต่ความเรียบง่าย แม้จะธรรมดาสามัญ ก็ดังหนึ่งผู้วิเศษ
- เต่าเทวดาสามพันปี
- ยามเราประสานกับผู้อื่นเป็นหนึ่งเดียว เมฆจะหยุดลอยนกจะลงมาเป็นเพื่อน
- ซูตงพอเปลือยเท้า
- แม้หวังจะเก่งกล้า จงฝนทั่งให้เป็นเข็ม
- หลวงจีนจนกับหลวงจีนรวย
- ใบไม้ร่วงแอบบ่มเพาะหน่ออ่อน พลังชีวิตซ่อนอยู่ในความร่วงโรย
- แผ่นดินแห่งชีวิต
- หลังฝนภูเขาเขียวสด กลางดึกเสียงระฆังฟังชัด
- ชะล้างฝุ่นละอองในดวงใจให้สะอาด
- อย่าเหนื่อยกายเหนื่อยใจไร้ประโยชน์ พึงรื่นเริงบันเทิงใจตามสมควร
- คุณชายของเศรษฐีจาง
- มองความราบรื่นและอุปสรรคไม่ต่างกัน ก็จักลืมทั้งความดีใจและเสียใจขึ้น ๆ ลง ๆ
- เดือนเต็มแล้วจักแหว่ง สมหวังแล้วพึงตระหนัก
- ชั่วชีวิตหนึ่งของสาวไห่ถัง
- ปล่อยกายตามธรรมชาติ ไม่ข้องแวะในโลกวิสัย
- เพลงเศร้าของนกทะเล
- จับจุดสำคัญ ตึงหย่อนตามสบาย
- ไปดูเขาเชิดหุ่นกันเถิด
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ใช้เป้าหมายช่วยให้คุณโต...
ใช้เป้าหมายช่วยให้คุณโต...
ภาพพจน์ของฉัน 10 ปี นับจากนี้ คือแนวทางการวางแผน 10 ปี
ก.ด้านงาน 10 ปีนับจากนี้
1.รายได้ระดับไหนที่ฉันดับไหนที่ผมมองหา ?
3.อำนาจในการสั่งการแค่ไหนที่ฉันต้องการ ?
4.ชื่อเสียงระดับไหนที่ฉันจะได้รับจากงาน ?
ข.ด้านครอบครัว 10 ปีนับจากนี้
1.มาตรฐานความเป็นอยู่แบบไหนที่ฉันมต้องการที่จะจัดหาให้ครอบครัว และตัวเอง?
2.บ้านแบบไหนที่ฉันต้องการจะอยู่ ?
3.การพักผ่อนในวันหยุดประเภทไหนที่ฉันจะทำ?
4.การสนับสนุนทางด้านการเงินอะไรที่ฉันต้องการที่จะให้แก่ลูกๆในช่วงก่อนที่เขาจะช่วยเหลือตัวเองได้ ?
ค.ด้านสังคม 10 ปีนับจากนี้
1.เพื่อนประเภทที่ฉันอยากจะมี ?
2.สังคมกลุ่มไหนที่ฉันอยากจะร่วม ?
3.ตำแหน่งผู้นำระดับไหนในท้องถิ่นที่ฉันอยู่ที่ฉันต้องการจะเป็น ?
4.ปณิธานอะไรที่ฉันต้องการจะส่งเสริมอย่างจริงจัง ?
แนวทางปรับปรุงตัวเองภายใน 30 วัน
ก.เลิกนิสัยต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.การผัดวันประกันพรุ่ง
2.การใช้ภาษาที่เป็นลบ
3.ดูโทรทัศน์มากกว่า 60 นาทีต่อวัน
4.นินทา
ข.สร้างนิสัยเหล่านี้ ( ข้อแนะนำ )
1.ตรวจสอบรูปร่างหน้าตาอย่างถี่ถ้วนทุกเช้า
2.วางแผนการทำงานในแต่ละวัน
3.สรรเสริญเยินยอคนอื่นในทุกโอกาสที่ทำได้
ค.เพิ่มคุณค่าของตัวเองต่อนายจ้างโดยวิธีต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.พัฒนาลูกน้องของตนเองให้ทำงานได้ดีขึ้น
2.เรียนรู้บริษัทที่ตนทำงานอยู่ให้มากขึ้น ดูว่าบริษัททำอะไรและลูกค้าที่บริษัทให้บริการเป็นอย่างไร
3.ให้คำแนะนำเฉพาะ 3 ข้อที่จะช่วยบริษัทมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ง.เพิ่มคุณค่าของตัวเองต่อครอบครัวโดยวิธีต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.แสดงความขอบคุณต่อสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่ภรรยา(สามี)ทำ ซึ่งตนเคยถือเอาว่าเป็นหน้าที่ต้องทำ
2.สัปดาห์ละครั้ง ทำอะไรพิเศษให้กับครอบครัว
3.ให้เวลาวันละชั่วโมงโดยปราศจากการรบกวนต่อ ครอบครัว
จ.ลับสมองตัวเองโดยวิธีการต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.ลงทุนอ่านวารสารวิชาชีพในวงการของตนเองอาทิตย์ละ 2 ชั่วโมง
2.อ่านหนังสือการพัฒนาตนเอง 1 เล่ม
3.สร้างเพื่อนใหม่ 4 คน
4.ใช้เวลาวันละ 30 นาทีทุกวันในการคิดโดยปราศจากการ รบกวน
สรุป เป้าหมายการสร้างความสำเร็จ นำหลักการสร้างความสำเร็จมาใช้
1.กำหนดให้ชัดเจนว่าคุณต้องการไปทางไหน สร้างภาพพจน์ของตัวคุณเอง 10 ปีนับจากวันนี้
2.เขียนแผน 10 ปีของคุณ ชีวิตของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นไปตามดวง เขียนลงในกระดาษ ในสิ่งที่คุณต้องการทำให้สำเร็จในงานของคุณ ครอบครัว และชีวิตในสังคม
3.ยอมจำนนต่อความปรารถนาของคุณ ตั้งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับพลังงาน ตั้งเป้าหมายเพื่อให้สิ่งต่างๆ ได้รับการปฏิบัติจนสำเร็จ ตั้งเป้าหมายและพบความสนุกสนานและเพลิดเพลินในการใช้ชีวิต
4.ปล่อยให้เป้าหมายหลักของคุณเป็นตัวชี้นำชีวิตโดยอัตโนมัติของคุณ เมื่อคุณปล่อยให้เป้าหมายครอบจิตใจของคุณ คุณจะพบว่าคุณตัดสินใจอย่างถูกต้องที่จะบรรลุสู่เป้าหมายนั้นเสมอ
5.ทำงานสู่เป้าหมายทีละขั้น ถือว่าแต่ละก้าวที่คุณทำเป็นอีกก้าวหนึ่งสู่เป้าหมาย ไม่ว่าก้าวนั้นจะดูเหมือนก้าวเล็กแค่ไหนก็ตาม
6.สร้างเป้าหมาย 30 วัน ความพยายามในแต่ละวันในที่สุดจะให้ผลที่ต้องการตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
7.เดินอ้อมในการก้าวย่างของคุณ ทางอ้อมมีความหมายเป็นเพียงอีกทางหนึ่ง มันไม่ควรจะหมายถึง การยอมจำนน ในเป้าหมายของคุณ
8.ลงทุนในตัวเอง ซื้อสิ่งที่สร้างพลังทางจิตใจและประสิทธิภาพลงทุนในการศึกษา ลงทุนในสิ่งที่สร้างความคิด
ภาพพจน์ของฉัน 10 ปี นับจากนี้ คือแนวทางการวางแผน 10 ปี
ก.ด้านงาน 10 ปีนับจากนี้
1.รายได้ระดับไหนที่ฉันดับไหนที่ผมมองหา ?
3.อำนาจในการสั่งการแค่ไหนที่ฉันต้องการ ?
4.ชื่อเสียงระดับไหนที่ฉันจะได้รับจากงาน ?
ข.ด้านครอบครัว 10 ปีนับจากนี้
1.มาตรฐานความเป็นอยู่แบบไหนที่ฉันมต้องการที่จะจัดหาให้ครอบครัว และตัวเอง?
2.บ้านแบบไหนที่ฉันต้องการจะอยู่ ?
3.การพักผ่อนในวันหยุดประเภทไหนที่ฉันจะทำ?
4.การสนับสนุนทางด้านการเงินอะไรที่ฉันต้องการที่จะให้แก่ลูกๆในช่วงก่อนที่เขาจะช่วยเหลือตัวเองได้ ?
ค.ด้านสังคม 10 ปีนับจากนี้
1.เพื่อนประเภทที่ฉันอยากจะมี ?
2.สังคมกลุ่มไหนที่ฉันอยากจะร่วม ?
3.ตำแหน่งผู้นำระดับไหนในท้องถิ่นที่ฉันอยู่ที่ฉันต้องการจะเป็น ?
4.ปณิธานอะไรที่ฉันต้องการจะส่งเสริมอย่างจริงจัง ?
แนวทางปรับปรุงตัวเองภายใน 30 วัน
ก.เลิกนิสัยต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.การผัดวันประกันพรุ่ง
2.การใช้ภาษาที่เป็นลบ
3.ดูโทรทัศน์มากกว่า 60 นาทีต่อวัน
4.นินทา
ข.สร้างนิสัยเหล่านี้ ( ข้อแนะนำ )
1.ตรวจสอบรูปร่างหน้าตาอย่างถี่ถ้วนทุกเช้า
2.วางแผนการทำงานในแต่ละวัน
3.สรรเสริญเยินยอคนอื่นในทุกโอกาสที่ทำได้
ค.เพิ่มคุณค่าของตัวเองต่อนายจ้างโดยวิธีต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.พัฒนาลูกน้องของตนเองให้ทำงานได้ดีขึ้น
2.เรียนรู้บริษัทที่ตนทำงานอยู่ให้มากขึ้น ดูว่าบริษัททำอะไรและลูกค้าที่บริษัทให้บริการเป็นอย่างไร
3.ให้คำแนะนำเฉพาะ 3 ข้อที่จะช่วยบริษัทมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ง.เพิ่มคุณค่าของตัวเองต่อครอบครัวโดยวิธีต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.แสดงความขอบคุณต่อสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่ภรรยา(สามี)ทำ ซึ่งตนเคยถือเอาว่าเป็นหน้าที่ต้องทำ
2.สัปดาห์ละครั้ง ทำอะไรพิเศษให้กับครอบครัว
3.ให้เวลาวันละชั่วโมงโดยปราศจากการรบกวนต่อ ครอบครัว
จ.ลับสมองตัวเองโดยวิธีการต่อไปนี้ ( ข้อแนะนำ )
1.ลงทุนอ่านวารสารวิชาชีพในวงการของตนเองอาทิตย์ละ 2 ชั่วโมง
2.อ่านหนังสือการพัฒนาตนเอง 1 เล่ม
3.สร้างเพื่อนใหม่ 4 คน
4.ใช้เวลาวันละ 30 นาทีทุกวันในการคิดโดยปราศจากการ รบกวน
สรุป เป้าหมายการสร้างความสำเร็จ นำหลักการสร้างความสำเร็จมาใช้
1.กำหนดให้ชัดเจนว่าคุณต้องการไปทางไหน สร้างภาพพจน์ของตัวคุณเอง 10 ปีนับจากวันนี้
2.เขียนแผน 10 ปีของคุณ ชีวิตของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นไปตามดวง เขียนลงในกระดาษ ในสิ่งที่คุณต้องการทำให้สำเร็จในงานของคุณ ครอบครัว และชีวิตในสังคม
3.ยอมจำนนต่อความปรารถนาของคุณ ตั้งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับพลังงาน ตั้งเป้าหมายเพื่อให้สิ่งต่างๆ ได้รับการปฏิบัติจนสำเร็จ ตั้งเป้าหมายและพบความสนุกสนานและเพลิดเพลินในการใช้ชีวิต
4.ปล่อยให้เป้าหมายหลักของคุณเป็นตัวชี้นำชีวิตโดยอัตโนมัติของคุณ เมื่อคุณปล่อยให้เป้าหมายครอบจิตใจของคุณ คุณจะพบว่าคุณตัดสินใจอย่างถูกต้องที่จะบรรลุสู่เป้าหมายนั้นเสมอ
5.ทำงานสู่เป้าหมายทีละขั้น ถือว่าแต่ละก้าวที่คุณทำเป็นอีกก้าวหนึ่งสู่เป้าหมาย ไม่ว่าก้าวนั้นจะดูเหมือนก้าวเล็กแค่ไหนก็ตาม
6.สร้างเป้าหมาย 30 วัน ความพยายามในแต่ละวันในที่สุดจะให้ผลที่ต้องการตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
7.เดินอ้อมในการก้าวย่างของคุณ ทางอ้อมมีความหมายเป็นเพียงอีกทางหนึ่ง มันไม่ควรจะหมายถึง การยอมจำนน ในเป้าหมายของคุณ
8.ลงทุนในตัวเอง ซื้อสิ่งที่สร้างพลังทางจิตใจและประสิทธิภาพลงทุนในการศึกษา ลงทุนในสิ่งที่สร้างความคิด
วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
30 สิ่งน่าทำ ตอนยังมีชีวิต
30 สิ่งน่าทำ ตอนยังมีชีวิต
•1.ทำอะไรที่น่าตื่นเต้นในแต่ละวัน
•2.ไปเที่ยวที่ที่คุณไม่เคยไป กับคนที่คุณไม่เคยคิดจะลืม
•3.ซื้อความสุข ด้วยรอยยิ้ม
•4.คุยกับคนแปลกหน้า เพื่อหาเพื่อนใหม่
•5.ช่วยคนอื่น เมื่อคุณสามารถช่วยได้
•6.สังเกตสิ่งรอบๆตัว อาจพบความสุขเล็กๆ เข้ามาในชีวิต
•7.อยู่เงียบๆ กับตัวเองวันละ 5 นาที... เพื่อคิด
•8.ทุ่มตัวเองเต็มที่ กับการหาทางแก้ปัญหา ที่คุณกำลังเผชิญอยู่
•9.คบคนที่มองโลกในแง่ดี
•10.เข้าคอร์สเรียนเพิ่มเติม ในเรื่องที่คุณสนใจ
•11.จัดเวลา นัดเจอ เพื่อนสนิท ในแต่ละเดือน ไป กิน เที่ยว เล่น
•12.มองพระอาทิตย์ขึ้น สัปดาห์ละครั้ง
•13.ดูพระอาทิตย์ตกดิน สัปดาห์ละครั้ง
•14.ปลูกผักเอง เอาไว้ทานเอง
•15.ไปหาเพื่อน ที่ไม่ได้เจอกันมานานนับปี
•16.หยุดตามกระแสสักนิด และทำตามแนวคิดที่เหมาะสำหรับตัวเอง
•17.บอกตัวเองว่า ไม่มีอะไรสายเกินไป
•18.ค้นหาประสบการณ์ดีๆ แปลกใหม่ ให้กับชีวิต
•19.เลิกกังวลกับสิ่งที่คุณไม่มี และมีความสุขในสิ่งที่คุณมี
•20.โรแมนติก ทำเซอร์ไพรซ์คนที่คุณรัก
•21.หยุดเสียเวลา กับเรื่องหยุมหยิมที่ไม่จำเป็น
•22.รับประทานอาหารให้ช้าลง ลิ้มรสความอร่อย
•23.ขอความช่วยเหลือ เมื่อต้องการ เพราะคุณจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หากไม่เอ่ยปาก
•24.ถามคำถาม เมื่อสงสัย... ช่วยประหยัดเวลา และลดความยุ่งยากใจ
•25.เล่นสนุกบ้าง ชีวิตมีแค่ครั้งเดียว
•26.ทำอะไรทีละอย่าง จะได้ทำออกมาได้ดี
•27.ฝึกความพอเพียง – พอดี เมื่อมันเกิดขึ้นกับคุณ จะไม่มีใคร เอาไปจากคุณได้
•28.รักษาสัญญา
•29.ดูตลก ฟังเรื่องตลก และแบ่งปันกับคนอื่น
•30.เปิดโลกความคิดสร้างสรรค์ของคุณ กับงานศิลปะ เช่นดนตรี ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ฯลฯ
•1.ทำอะไรที่น่าตื่นเต้นในแต่ละวัน
•2.ไปเที่ยวที่ที่คุณไม่เคยไป กับคนที่คุณไม่เคยคิดจะลืม
•3.ซื้อความสุข ด้วยรอยยิ้ม
•4.คุยกับคนแปลกหน้า เพื่อหาเพื่อนใหม่
•5.ช่วยคนอื่น เมื่อคุณสามารถช่วยได้
•6.สังเกตสิ่งรอบๆตัว อาจพบความสุขเล็กๆ เข้ามาในชีวิต
•7.อยู่เงียบๆ กับตัวเองวันละ 5 นาที... เพื่อคิด
•8.ทุ่มตัวเองเต็มที่ กับการหาทางแก้ปัญหา ที่คุณกำลังเผชิญอยู่
•9.คบคนที่มองโลกในแง่ดี
•10.เข้าคอร์สเรียนเพิ่มเติม ในเรื่องที่คุณสนใจ
•11.จัดเวลา นัดเจอ เพื่อนสนิท ในแต่ละเดือน ไป กิน เที่ยว เล่น
•12.มองพระอาทิตย์ขึ้น สัปดาห์ละครั้ง
•13.ดูพระอาทิตย์ตกดิน สัปดาห์ละครั้ง
•14.ปลูกผักเอง เอาไว้ทานเอง
•15.ไปหาเพื่อน ที่ไม่ได้เจอกันมานานนับปี
•16.หยุดตามกระแสสักนิด และทำตามแนวคิดที่เหมาะสำหรับตัวเอง
•17.บอกตัวเองว่า ไม่มีอะไรสายเกินไป
•18.ค้นหาประสบการณ์ดีๆ แปลกใหม่ ให้กับชีวิต
•19.เลิกกังวลกับสิ่งที่คุณไม่มี และมีความสุขในสิ่งที่คุณมี
•20.โรแมนติก ทำเซอร์ไพรซ์คนที่คุณรัก
•21.หยุดเสียเวลา กับเรื่องหยุมหยิมที่ไม่จำเป็น
•22.รับประทานอาหารให้ช้าลง ลิ้มรสความอร่อย
•23.ขอความช่วยเหลือ เมื่อต้องการ เพราะคุณจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ หากไม่เอ่ยปาก
•24.ถามคำถาม เมื่อสงสัย... ช่วยประหยัดเวลา และลดความยุ่งยากใจ
•25.เล่นสนุกบ้าง ชีวิตมีแค่ครั้งเดียว
•26.ทำอะไรทีละอย่าง จะได้ทำออกมาได้ดี
•27.ฝึกความพอเพียง – พอดี เมื่อมันเกิดขึ้นกับคุณ จะไม่มีใคร เอาไปจากคุณได้
•28.รักษาสัญญา
•29.ดูตลก ฟังเรื่องตลก และแบ่งปันกับคนอื่น
•30.เปิดโลกความคิดสร้างสรรค์ของคุณ กับงานศิลปะ เช่นดนตรี ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ฯลฯ
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
บทความ เรื่อง
“ผู้บริหารสถานศึกษา : ประเด็นท้าทายผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา”
โดย นายสุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์มหาสารคาม
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในรอบแรก(พ.ศ.2542) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาทั้งทางด้านหลักสูตร การสอน เทคโนโลยีการศึกษา และการบริหารจัดการ ซึ่งความพึงพอใจน่าจะอยู่ในระดับพอใช้ แต่ถ้าจะเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศในแถบอาเซียนไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียตนาม ประเทศไทยพัฒนาช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง นับว่ายังห่างไกลกับประเทศเหล่านี้ ปัญหาที่พบจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาที่ต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด คือ คุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านคุณภาพผู้เรียน ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ จากรายงานสภาวะการศึกษาไทย 25512/2552 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 และม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 น่าจะสะท้อนให้เห็นคุณภาพการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2553-2561) ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ด้วยการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา 4 ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาครูยุคใหม่ การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นคนหรือแม้แต่สถานศึกษาก็ได้รับผลกระทบด้วย สถานศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเป็นแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จ คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change management) ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับครู ผู้เรียนและชุมชนมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีสมรรถนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบรรลุเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2452 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 คือ “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ผู้บริหารสถานศึกษากับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพ
Transform คือ “การเปลี่ยนแปลง” ไปสู่อีก “บริบท” หนึ่งที่ดีขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนบริบทสถานศึกษาให้สอดรับกับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Context Analysis : The Challenge of the future Education Administration) ซึ่งเป็นความท้าทายการบริหารการศึกษาอย่างยิ่ง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง Reform สิ่งที่เป็น “จุดอ่อน” (Weakness) ให้เป็น “จุดแข็ง” (Strength) โดยบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็น “สถานศึกษาแห่งคุณภาพ” ที่มีผลสำคัญยิ่งต่อคุณภาพผู้บริหาร คุณภาพครู และคุณภาพนักเรียน
หลักการบริหารคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร
ผู้เขียนได้ศึกษาหลักการบริหารคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Education Principal : A Transformed Leader) ของ Richard Sagor & Bruce G. Barnett สรุปได้ 7 ประการ ดังนี้
“มีแผนยุทธศาสตร์ ฉลาดใช้TQM เติมเต็มศักยภาพ รับปรึกษา กล้าตัดสินใจ ใฝ่เรียนรู้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
1.มีแผนยุทธศาสตร์ หมายถึง ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการทำงานให้ประสบ
ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา (Understanding How the Work of Group Fit Into the School’s Vision) โดยอาศัยกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์(The Strategic Planning Process) ให้ทุกคนตระหนักถึงพันธกิจ(Commitment) และสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Creating a Shared Vision)
2.ฉลาดใช้ TQM หมายถึง ผู้บริหารต้องมีการนำแนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างถูกต้อง (bring the key concepts of TQM right into the modern schoolhouse) จะต้องรู้จักว่า ลูกค้าคือใคร (Who Is the Customer) จะสนับสนุน ส่งเสริมภารกิจและบุคลากรอย่างไร (How can principal Organize the Suppliers)
3.เติมเต็มศักยภาพ หมายถึง ผู้บริหารจะต้องพัฒนาประสิทธิภาพความสามารถพิเศษของบุคลากรให้เต็มศักยภาพ (Optimizing the Talents of All Staff Members)โดยใช้วงจรพัฒนาของ เดมมิ่ง(Deming) ผู้บริหารจะต้องเข้าใจหลักการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult Learning) วัฒนธรรมขององค์กร(Organizational Culture) และภาวะผู้นำของครู (Cultivation of teacher Leadership)
4.รับปรึกษา หมายถึง ผู้บริหารจะต้องมีแสดงบทบาทเป็นผู้ฝึกสอนและให้คำปรึกษาไม่ใช่ ผู้ตัดสิน (Being Coaching and Counselor not Judges) จะต้องสนับสนุนครูหลากหลายวิธีในการจัดการเรียนการสอน
5.กล้าตัดสินใจ หมายถึง ผู้บริหารต้องมีข้อมูลในการตัดสินใจในการบริหารจัดการคุณภาพ (Making Quality Decision Base on data) โดยอาศัยวิจัยปฏิบัติการแบบความร่วมมือ(Collaborative Action Research) เพื่อให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ บรรลุตามเป้าหมาย
6.ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Building a Professional Learning Community) โดยต้องนำหลักการสู่การปฏิบัติในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเทคนิคและทักษะการบริหาร เช่น การบริหารแบบ MBWA (Management By Walking Around ) หมายถึง การบริหารโดยการเดินดูรอบๆ โดยเดินไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานหลายประการ คือ จะได้เห็นและรู้จักหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เป็นการแสดงถึงความสนใจในการทำงานของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน เป็นการให้ความสำคัญแก่บุคลากร ช่วยในการติดตามและประเมินผลการทำงานของบุคลากรได้อย่างใกล้ชิด ช่วยในการประสานงานและอำนวยการ
7.ผู้นำการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการนำรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษามาบูรณาการใช้ (A TOE Model of Instructional Leadership) ดังแผนภาพ
Influences
The Transformed Principal
Influences
A TOE Instructional Leadership Model
ในฐานะผู้เขียนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ได้มองเห็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยเปรียบเทียบกับการพัฒนา 4 ใหม่ คือ
1.Customer (Student, Parent) คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ เด็กไทยและคนไทยยุคใหม่ เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข ดำรงรักษาความเป็นไทยและรู้เท่าทันโลก
2.Collegial Work Group คือ การพัฒนาครูยุคใหม่ จะต้องจัดอบรมการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยในชั้นเรียน การนิเทศแบบมีส่วนร่วม การอบรมสัมมนาทางวิชาการ พัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูและเป็นครูมืออาชีพ
3.School Profile คือ การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ สถานศึกษาต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาที่มีความเข้มแข็ง โดยพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
4. Strategic Planning คือ การพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ สร้างแนวทางการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จและมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง การบริหารคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนจะไม่น่าเบื่อ ถ้าทุกคนให้ความร่วมมือและคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า(ผู้เรียน) เป็นสำคัญ ต้องนำหลักการไปสู่การปฏิบัติ ต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างที่ชัดเจน ส่งเสริมจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริง และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แสวงหาความร่วมมือกับชุมชนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ถ้าหากการปฏิรูปการศึกษารอบสองไม่ติดกับดักทางการเมือง ครูและผู้บริหารไม่ติดกับดักทางปัญญา ทุกภาคส่วนร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดคุณภาพผู้เรียนเป็นตัวตั้งและเป็น“หัวใจ” ในการพัฒนา ทำให้การศึกษาไม่แยกออกจากสังคมหรือชีวิตจริง
เชื่อว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต้องสูงขึ้น สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีความรู้(เก่ง) มีคุณธรรม จริยธรรม(ดี) และมีความสุข เป็นคุณภาพของเด็กไทยในอนาคต เป็นผู้ที่มีความสามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ มีคุณลักษณะนิสัยตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ได้แก่ ใฝ่ดี ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน นั่นคือ การเปลี่ยนโฉมคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย
น่าจะถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง Transform...
It’s time that the principal must be Transform…
“ผู้บริหารสถานศึกษา : ประเด็นท้าทายผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา”
โดย นายสุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์มหาสารคาม
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในรอบแรก(พ.ศ.2542) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาทั้งทางด้านหลักสูตร การสอน เทคโนโลยีการศึกษา และการบริหารจัดการ ซึ่งความพึงพอใจน่าจะอยู่ในระดับพอใช้ แต่ถ้าจะเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศในแถบอาเซียนไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียตนาม ประเทศไทยพัฒนาช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง นับว่ายังห่างไกลกับประเทศเหล่านี้ ปัญหาที่พบจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาที่ต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด คือ คุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านคุณภาพผู้เรียน ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ จากรายงานสภาวะการศึกษาไทย 25512/2552 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 และม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 น่าจะสะท้อนให้เห็นคุณภาพการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2553-2561) ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ด้วยการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา 4 ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาครูยุคใหม่ การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นคนหรือแม้แต่สถานศึกษาก็ได้รับผลกระทบด้วย สถานศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเป็นแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จ คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change management) ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับครู ผู้เรียนและชุมชนมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีสมรรถนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบรรลุเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2452 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 คือ “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ผู้บริหารสถานศึกษากับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพ
Transform คือ “การเปลี่ยนแปลง” ไปสู่อีก “บริบท” หนึ่งที่ดีขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนบริบทสถานศึกษาให้สอดรับกับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Context Analysis : The Challenge of the future Education Administration) ซึ่งเป็นความท้าทายการบริหารการศึกษาอย่างยิ่ง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง Reform สิ่งที่เป็น “จุดอ่อน” (Weakness) ให้เป็น “จุดแข็ง” (Strength) โดยบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็น “สถานศึกษาแห่งคุณภาพ” ที่มีผลสำคัญยิ่งต่อคุณภาพผู้บริหาร คุณภาพครู และคุณภาพนักเรียน
หลักการบริหารคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร
ผู้เขียนได้ศึกษาหลักการบริหารคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Education Principal : A Transformed Leader) ของ Richard Sagor & Bruce G. Barnett สรุปได้ 7 ประการ ดังนี้
“มีแผนยุทธศาสตร์ ฉลาดใช้TQM เติมเต็มศักยภาพ รับปรึกษา กล้าตัดสินใจ ใฝ่เรียนรู้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
1.มีแผนยุทธศาสตร์ หมายถึง ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการทำงานให้ประสบ
ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา (Understanding How the Work of Group Fit Into the School’s Vision) โดยอาศัยกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์(The Strategic Planning Process) ให้ทุกคนตระหนักถึงพันธกิจ(Commitment) และสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Creating a Shared Vision)
2.ฉลาดใช้ TQM หมายถึง ผู้บริหารต้องมีการนำแนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างถูกต้อง (bring the key concepts of TQM right into the modern schoolhouse) จะต้องรู้จักว่า ลูกค้าคือใคร (Who Is the Customer) จะสนับสนุน ส่งเสริมภารกิจและบุคลากรอย่างไร (How can principal Organize the Suppliers)
3.เติมเต็มศักยภาพ หมายถึง ผู้บริหารจะต้องพัฒนาประสิทธิภาพความสามารถพิเศษของบุคลากรให้เต็มศักยภาพ (Optimizing the Talents of All Staff Members)โดยใช้วงจรพัฒนาของ เดมมิ่ง(Deming) ผู้บริหารจะต้องเข้าใจหลักการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult Learning) วัฒนธรรมขององค์กร(Organizational Culture) และภาวะผู้นำของครู (Cultivation of teacher Leadership)
4.รับปรึกษา หมายถึง ผู้บริหารจะต้องมีแสดงบทบาทเป็นผู้ฝึกสอนและให้คำปรึกษาไม่ใช่ ผู้ตัดสิน (Being Coaching and Counselor not Judges) จะต้องสนับสนุนครูหลากหลายวิธีในการจัดการเรียนการสอน
5.กล้าตัดสินใจ หมายถึง ผู้บริหารต้องมีข้อมูลในการตัดสินใจในการบริหารจัดการคุณภาพ (Making Quality Decision Base on data) โดยอาศัยวิจัยปฏิบัติการแบบความร่วมมือ(Collaborative Action Research) เพื่อให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ บรรลุตามเป้าหมาย
6.ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Building a Professional Learning Community) โดยต้องนำหลักการสู่การปฏิบัติในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเทคนิคและทักษะการบริหาร เช่น การบริหารแบบ MBWA (Management By Walking Around ) หมายถึง การบริหารโดยการเดินดูรอบๆ โดยเดินไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานหลายประการ คือ จะได้เห็นและรู้จักหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เป็นการแสดงถึงความสนใจในการทำงานของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน เป็นการให้ความสำคัญแก่บุคลากร ช่วยในการติดตามและประเมินผลการทำงานของบุคลากรได้อย่างใกล้ชิด ช่วยในการประสานงานและอำนวยการ
7.ผู้นำการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการนำรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษามาบูรณาการใช้ (A TOE Model of Instructional Leadership) ดังแผนภาพ
Influences
The Transformed Principal
Influences
A TOE Instructional Leadership Model
ในฐานะผู้เขียนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ได้มองเห็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยเปรียบเทียบกับการพัฒนา 4 ใหม่ คือ
1.Customer (Student, Parent) คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ เด็กไทยและคนไทยยุคใหม่ เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข ดำรงรักษาความเป็นไทยและรู้เท่าทันโลก
2.Collegial Work Group คือ การพัฒนาครูยุคใหม่ จะต้องจัดอบรมการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยในชั้นเรียน การนิเทศแบบมีส่วนร่วม การอบรมสัมมนาทางวิชาการ พัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูและเป็นครูมืออาชีพ
3.School Profile คือ การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ สถานศึกษาต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาที่มีความเข้มแข็ง โดยพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
4. Strategic Planning คือ การพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ สร้างแนวทางการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จและมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง การบริหารคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนจะไม่น่าเบื่อ ถ้าทุกคนให้ความร่วมมือและคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า(ผู้เรียน) เป็นสำคัญ ต้องนำหลักการไปสู่การปฏิบัติ ต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างที่ชัดเจน ส่งเสริมจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นการปฏิบัติจริง และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แสวงหาความร่วมมือกับชุมชนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ถ้าหากการปฏิรูปการศึกษารอบสองไม่ติดกับดักทางการเมือง ครูและผู้บริหารไม่ติดกับดักทางปัญญา ทุกภาคส่วนร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดคุณภาพผู้เรียนเป็นตัวตั้งและเป็น“หัวใจ” ในการพัฒนา ทำให้การศึกษาไม่แยกออกจากสังคมหรือชีวิตจริง
เชื่อว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต้องสูงขึ้น สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีความรู้(เก่ง) มีคุณธรรม จริยธรรม(ดี) และมีความสุข เป็นคุณภาพของเด็กไทยในอนาคต เป็นผู้ที่มีความสามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ มีคุณลักษณะนิสัยตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ได้แก่ ใฝ่ดี ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน นั่นคือ การเปลี่ยนโฉมคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย
น่าจะถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง Transform...
It’s time that the principal must be Transform…
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
บทความ เรื่อง “การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา”
บทความ เรื่อง
“การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา”
โดย นายสุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การสร้างคุณภาพหรือการประกันคุณภาพมีความสำคัญมาก เพราะการประกันคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบคุณภาพทุกระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจสินค้าหรือบริการ และบรรลุถึงความต้องการด้านคุณภาพที่กำหนดให้น่าพอใจการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งในปัจจุบันคุณภาพของผลผลิต คือ ผู้เรียน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ สะท้อนให้เห็นคุณภาพสถานศึกษาที่บริหารจัดการศึกษาล้มเหลว จึงจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จากการรายงานสภาวะการศึกษาไทย 2551/2552 โดยรองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล ในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) พบว่าสถานศึกษาคุณภาพดีมีน้อย คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับมีความแตกต่างกันสูง คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่น คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 และม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 และส่วนใหญ่ตกต่ำจาก 5 ปีก่อน ผมอ่านรายงานแล้วรู้สึกเป็นห่วงและเกิดความกังวลขึ้นในใจเป็นอย่างมาก เกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย
1.การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึงอะไร
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การรับประกันคุณภาพของกระบวนการบริหารของโรงเรียนว่า ได้มีการวางแผนการทำงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตของโรงเรียน มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานทางการศึกษาและตรงความต้องการของผู้รับบริการได้ตลอดเวลา
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา คือ ระบบการบริหารงานของสถานศึกษาที่ทำให้สามารถบรรลุถึงมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในคุณภาพของสถานศึกษา ระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ระบบย่อย คือ ระบบการวางแผน ระบบการควบคุมคุณภาพ และระบบการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา มีขั้นตอนและวิธีการไม่ต่างจากระบบประกันคุณภาพ(QA) ระบบบริหารคุณภาพ(QM) หรือระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ(TQM)
2.ระบบการประกันคุณภาพภายใน มีกระบวนการอย่างไร
ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553
ข้อ 3 ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ต้องประกอบด้วย
(1)การประเมินคุณภาพภายใน
(2)การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(3)การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.ระบบการประกันคุณภาพภายใน ดำเนินการอย่างไร
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(2)จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(3)จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
(4)ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
(5)จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(6)จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(7)จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
(8)จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเตรียมการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากองค์กรภายนอก(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.) สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงมีแนวทางในการดำเนินงานในการประกันคุณภาพด้วยกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานศึกษา เช่น ยึดหลักการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพตามวงจรของ เดมมิ่ง อันได้แก่ การวางแผน (Plan)การปฏิบัติตามแผน(Do)การตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน(Check) และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา(Action)
4.กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประจวบ พิมพะนิตย์ได้กล่าวถึงกรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ
1.การพัฒนาหลักสูตร
2.การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
3.การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย
1.ยุทธศาสตร์ มีการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง(TQM)มีกระบวนการเรียนรู้(พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้)
2.คน คือมีการจัดคน จูงใจและสร้างพลังสู่ความสำเร็จ
3.เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินการ
4.กระบวนการจัดการ โดยควบคุมคุณภาพ (PDCA) ทำงานเป็นมาตรฐาน ทุกคนมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม (ตัดสินใจด้วยตนเอง) และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ผมเห็นด้วยที่ว่า หัวใจระบบประกันคุณภาพอยู่ที่ระบบพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเราไม่ได้ส่งเสริม ไม่ได้ให้กำลังใจอย่างจริงจังกับเรื่องเหล่านี้ ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการนำแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงให้รอบด้าน โดย “ปรับยุทธศาสตร์ ฉลาดสร้างคน ค้นเทคโนโลยี มีกระบวนการ”
5.แนวคิดการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา บรรยายพิเศษ ให้ข้อคิดในการดำเนินงานว่า ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยให้ข้อคิดในการทำงานให้สำเร็จ 3ประการ ได้แก่ 1)ปลุกให้ตื่น : หมายถึงให้คนอื่นรับทราบ และมีส่วนร่วม มีฐานข้อมูล รู้บทบาทหน้าที่ 2)ยืนให้มั่น : หมายถึง มีวิธีการทำงาน ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูล กลับกลุ่มคุณภาพและดำเนินการพัฒนาในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3)ลงลึกให้เป็นวัฒนธรรม: หมายถึงหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรมีการชื่นชม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และให้ขวัญกำลังใจ
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิทยานุวัฒน์บรรยายพิเศษ “ผลการประเมินภายนอกรอบสอง และทิศทางการประเมินภายนอกรอบสาม” โดยกล่าวว่า 1)มาตรฐานสถานศึกษาให้ใช้เกณฑ์ของสมศ.และสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง รัฐบาลต้องช่วยพัฒนา 2)โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 3)นโยบายเรียนฟรี 15 อย่างมีคุณภาพ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโรงเรียน 4)การประเมินเพื่อพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งนำร่องก่อน 5)สถานศึกษาที่มีคุณภาพ คือ สถานศึกษาที่ทำประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.)บรรยายพิเศษ “การส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา”กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป้าหมายที่ 1: เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ โดยสะท้อนผลสำเร็จไปที่หน้าที่สำคัญของงานประกันคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษา(1)สพท. ต้องรู้ว่าสถานศึกษามีผลการประเมินเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือลดลงกี่โรงเรียน (2) จะเร่งรัดส่งเสริมสถานศึกษาอย่างไร(3) มีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยเหลือหรือไม่ อย่างไร เป้าหมายที่ 2 : พัฒนาโรงเรียนที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานภายนอก รอบสองให้ได้ โดยให้แต่ละเขตพื้นที่กำหนดจำนวน เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนในการพัฒนาเอง แนวดำเนินการ (1) จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน(2) จัดระบบการเข้าถึงข้อมูลโรงเรียน (3)จัดโรงเรียนพี่เลี้ยง(4)สร้างความตระหนักให้ผู้บริหาร : ให้กระตือรือร้นและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา(5)เสริมสร้างประสิทธิภาพครู : ให้ รู้จักเด็ก มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสามารถจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรของตนเองได้(6)จัดการเรียนรู้ให้นักเรียน : แจ่มใส อ่านได้ คิดเลขได้ ฯลฯ (7) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม : ยอมรับ ศรัทธา (8) มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : มีการประเมินตนเอง ต่อเนื่อง และมีความสอดคล้องกับทุกระดับ
ผมเห็นด้วยที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องจริงจังในการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ พัฒนาโรงเรียนที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานภายนอกรอบสอง โดยให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามคำชี้แนะของสมศ.หรืออาจจะร่วมกันพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรอง โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการรับรอง โดยเฉพาะมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยเนื่องจากขาดแคลนครูสาขา ปฐมวัย ต้องหาทางช่วยกันอย่างเร่งด่วน สถานการณ์โรงเรียนขนาดเล็กขณะนี้มีสองอย่าง คือ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต จึงต้องเร่งการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมของสถานศึกษาให้ได้
ผมได้ยินผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่าการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหลงทาง เพราะว่าผู้บริหารไม่มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ไม่คำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนมัวแต่ทำงานรองมากกว่างานหลัก กล่าวคือ พัฒนาด้านบริบท สภาพแวดล้อม ปรับปรุงอาคารสถานที่ แต่ไม่พัฒนางานวิชาการที่จะส่งผลถึงคุณภาพผู้เรียน
ผมไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนั้น ผมเห็นว่าการทำงานต้องพัฒนาสภาพบริบทควบคู่กับการพัฒนาวิชาการ ถ้าหากพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เมื่อเข้าไปในโรงเรียนแล้วพบว่า โรงเรียนน่าดู น่าอยู่ ครูจิตใจใฝ่คุณภาพ น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรืออาจเป็นเพราะว่างานพัฒนาด้านกายภาพเป็นรูปธรรมเห็นผลทันตา แต่งานพัฒนาวิชาการนั้นเห็นผลช้าไม่เป็นรูปธรรมดังที่หลายคนคิดก็ได้
6.แนวทางการสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพ
แนวทางการสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพ ประกอบด้วย
1.การวิเคราะห์บริบท (Context Analysis)โดยใช้หลักการ SWOT ทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือสถานศึกษา สามารถจัดวางยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)ทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ทำให้การบริหารงานเกิดความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกฝ่ายได้รับความสุขและความสำเร็จในการทำงาน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา
3.การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา (Leading Organization and Education Management Technology) ทำให้ผู้บริหารทราบถึงวิธีการที่ผู้บริหารจะชี้นำองค์กรโดยอาศัยการสื่อสาร การสร้างบรรยากาศ ความรับผิดชอบต่อสังคม และเข้าถึงเทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาและทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์(Strategy Planning and Formulation) ทำให้เห็นแผนภาพที่แสดงถึงแนวทางการวางแผนและการกำหนยุทธศาสตร์ในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จและมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ(Strategy Implementation)เป็นแนวทางในการนำแผนยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนมีความยั่งยืน
6.การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เนื่องจากบริบทของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีส่วนที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา สถานศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
7.การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เนื่องจากกระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนและส่งเสริมให้สถานศึกษามีพลังในการพัฒนา จึงต้องสร้างระบบการดำเนินงานทางการศึกษาร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน
8.การควบคุม การวัดประเมิน และการจัดการความรู้ (Control , Measurement, Evaluation and Knowledge Management) เป็นการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษา จากแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติครบวงจร ทำให้สถานศึกษามีความพร้อมในการรับข้อมูลที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ การจัดการความรู้เป็นการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ให้อยู่กับสถานศึกษา โดยพัฒนาอย่างเป็นระบบให้องค์ความรู้ถูกถ่ายทอดและเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา
9.การปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน โดยนำหลักทางการบริหารมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ
ผมมีความคิดเห็นว่า คุณภาพสถานศึกษา หมายถึง คุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร และคุณภาพโรงเรียนนั่นเอง ถ้าทุกคนมองภาพใหญ่(Big Picture) ร่วมกัน คงจะเห็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา โดยเอาคุณภาพนักเรียนเป็นตัวตั้ง การสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการส่งเสริมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา มีความสำคัญยิ่ง คุณภาพการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจและห่วงใย สถานศึกษาจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมว่า มีความสามารถในการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีคุณธรรม(ดี)มีความรู้(เก่ง) และอยู่ในสังคมได้อย่างความสุข ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานที่สูงขึ้น ผู้บริหารเป็นมืออาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำทางวิชาการ มีจิตอาสา ประชาชนได้รับความสุขจากการจัดการศึกษาตามที่คาดหวัง สถานศึกษามีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่กำหนดว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ภายใต้การขับเคลื่อนแนวทาง 4 ใหม่ คือ คุณภาพคนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารและการจัดการยุคใหม่
“การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา”
โดย นายสุวิทย์ ยอดสละ
นิสิตปริญญาเอก สาขา การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การสร้างคุณภาพหรือการประกันคุณภาพมีความสำคัญมาก เพราะการประกันคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบคุณภาพทุกระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจสินค้าหรือบริการ และบรรลุถึงความต้องการด้านคุณภาพที่กำหนดให้น่าพอใจการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งในปัจจุบันคุณภาพของผลผลิต คือ ผู้เรียน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ สะท้อนให้เห็นคุณภาพสถานศึกษาที่บริหารจัดการศึกษาล้มเหลว จึงจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จากการรายงานสภาวะการศึกษาไทย 2551/2552 โดยรองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล ในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) พบว่าสถานศึกษาคุณภาพดีมีน้อย คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับมีความแตกต่างกันสูง คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่น คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 และม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 และส่วนใหญ่ตกต่ำจาก 5 ปีก่อน ผมอ่านรายงานแล้วรู้สึกเป็นห่วงและเกิดความกังวลขึ้นในใจเป็นอย่างมาก เกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย
1.การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึงอะไร
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การรับประกันคุณภาพของกระบวนการบริหารของโรงเรียนว่า ได้มีการวางแผนการทำงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตของโรงเรียน มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานทางการศึกษาและตรงความต้องการของผู้รับบริการได้ตลอดเวลา
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา คือ ระบบการบริหารงานของสถานศึกษาที่ทำให้สามารถบรรลุถึงมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในคุณภาพของสถานศึกษา ระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ระบบย่อย คือ ระบบการวางแผน ระบบการควบคุมคุณภาพ และระบบการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน
ระบบประกันคุณภาพการศึกษา มีขั้นตอนและวิธีการไม่ต่างจากระบบประกันคุณภาพ(QA) ระบบบริหารคุณภาพ(QM) หรือระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ(TQM)
2.ระบบการประกันคุณภาพภายใน มีกระบวนการอย่างไร
ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553
ข้อ 3 ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ต้องประกอบด้วย
(1)การประเมินคุณภาพภายใน
(2)การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(3)การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.ระบบการประกันคุณภาพภายใน ดำเนินการอย่างไร
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(2)จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(3)จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
(4)ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
(5)จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(6)จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(7)จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
(8)จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเตรียมการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากองค์กรภายนอก(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.) สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงมีแนวทางในการดำเนินงานในการประกันคุณภาพด้วยกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานศึกษา เช่น ยึดหลักการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพตามวงจรของ เดมมิ่ง อันได้แก่ การวางแผน (Plan)การปฏิบัติตามแผน(Do)การตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน(Check) และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา(Action)
4.กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ประจวบ พิมพะนิตย์ได้กล่าวถึงกรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ
1.การพัฒนาหลักสูตร
2.การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
3.การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย
1.ยุทธศาสตร์ มีการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง(TQM)มีกระบวนการเรียนรู้(พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้)
2.คน คือมีการจัดคน จูงใจและสร้างพลังสู่ความสำเร็จ
3.เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินการ
4.กระบวนการจัดการ โดยควบคุมคุณภาพ (PDCA) ทำงานเป็นมาตรฐาน ทุกคนมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม (ตัดสินใจด้วยตนเอง) และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ผมเห็นด้วยที่ว่า หัวใจระบบประกันคุณภาพอยู่ที่ระบบพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเราไม่ได้ส่งเสริม ไม่ได้ให้กำลังใจอย่างจริงจังกับเรื่องเหล่านี้ ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการนำแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงให้รอบด้าน โดย “ปรับยุทธศาสตร์ ฉลาดสร้างคน ค้นเทคโนโลยี มีกระบวนการ”
5.แนวคิดการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา บรรยายพิเศษ ให้ข้อคิดในการดำเนินงานว่า ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยให้ข้อคิดในการทำงานให้สำเร็จ 3ประการ ได้แก่ 1)ปลุกให้ตื่น : หมายถึงให้คนอื่นรับทราบ และมีส่วนร่วม มีฐานข้อมูล รู้บทบาทหน้าที่ 2)ยืนให้มั่น : หมายถึง มีวิธีการทำงาน ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูล กลับกลุ่มคุณภาพและดำเนินการพัฒนาในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3)ลงลึกให้เป็นวัฒนธรรม: หมายถึงหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรมีการชื่นชม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และให้ขวัญกำลังใจ
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิทยานุวัฒน์บรรยายพิเศษ “ผลการประเมินภายนอกรอบสอง และทิศทางการประเมินภายนอกรอบสาม” โดยกล่าวว่า 1)มาตรฐานสถานศึกษาให้ใช้เกณฑ์ของสมศ.และสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง รัฐบาลต้องช่วยพัฒนา 2)โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 3)นโยบายเรียนฟรี 15 อย่างมีคุณภาพ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโรงเรียน 4)การประเมินเพื่อพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งนำร่องก่อน 5)สถานศึกษาที่มีคุณภาพ คือ สถานศึกษาที่ทำประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.)บรรยายพิเศษ “การส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา”กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป้าหมายที่ 1: เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ โดยสะท้อนผลสำเร็จไปที่หน้าที่สำคัญของงานประกันคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษา(1)สพท. ต้องรู้ว่าสถานศึกษามีผลการประเมินเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือลดลงกี่โรงเรียน (2) จะเร่งรัดส่งเสริมสถานศึกษาอย่างไร(3) มีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยเหลือหรือไม่ อย่างไร เป้าหมายที่ 2 : พัฒนาโรงเรียนที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานภายนอก รอบสองให้ได้ โดยให้แต่ละเขตพื้นที่กำหนดจำนวน เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนในการพัฒนาเอง แนวดำเนินการ (1) จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน(2) จัดระบบการเข้าถึงข้อมูลโรงเรียน (3)จัดโรงเรียนพี่เลี้ยง(4)สร้างความตระหนักให้ผู้บริหาร : ให้กระตือรือร้นและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา(5)เสริมสร้างประสิทธิภาพครู : ให้ รู้จักเด็ก มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสามารถจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรของตนเองได้(6)จัดการเรียนรู้ให้นักเรียน : แจ่มใส อ่านได้ คิดเลขได้ ฯลฯ (7) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม : ยอมรับ ศรัทธา (8) มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : มีการประเมินตนเอง ต่อเนื่อง และมีความสอดคล้องกับทุกระดับ
ผมเห็นด้วยที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องจริงจังในการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ พัฒนาโรงเรียนที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานภายนอกรอบสอง โดยให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามคำชี้แนะของสมศ.หรืออาจจะร่วมกันพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรอง โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการรับรอง โดยเฉพาะมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยเนื่องจากขาดแคลนครูสาขา ปฐมวัย ต้องหาทางช่วยกันอย่างเร่งด่วน สถานการณ์โรงเรียนขนาดเล็กขณะนี้มีสองอย่าง คือ ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต จึงต้องเร่งการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมของสถานศึกษาให้ได้
ผมได้ยินผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่าการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหลงทาง เพราะว่าผู้บริหารไม่มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ไม่คำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนมัวแต่ทำงานรองมากกว่างานหลัก กล่าวคือ พัฒนาด้านบริบท สภาพแวดล้อม ปรับปรุงอาคารสถานที่ แต่ไม่พัฒนางานวิชาการที่จะส่งผลถึงคุณภาพผู้เรียน
ผมไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนั้น ผมเห็นว่าการทำงานต้องพัฒนาสภาพบริบทควบคู่กับการพัฒนาวิชาการ ถ้าหากพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เมื่อเข้าไปในโรงเรียนแล้วพบว่า โรงเรียนน่าดู น่าอยู่ ครูจิตใจใฝ่คุณภาพ น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรืออาจเป็นเพราะว่างานพัฒนาด้านกายภาพเป็นรูปธรรมเห็นผลทันตา แต่งานพัฒนาวิชาการนั้นเห็นผลช้าไม่เป็นรูปธรรมดังที่หลายคนคิดก็ได้
6.แนวทางการสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพ
แนวทางการสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพ ประกอบด้วย
1.การวิเคราะห์บริบท (Context Analysis)โดยใช้หลักการ SWOT ทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือสถานศึกษา สามารถจัดวางยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)ทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ทำให้การบริหารงานเกิดความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกฝ่ายได้รับความสุขและความสำเร็จในการทำงาน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา
3.การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา (Leading Organization and Education Management Technology) ทำให้ผู้บริหารทราบถึงวิธีการที่ผู้บริหารจะชี้นำองค์กรโดยอาศัยการสื่อสาร การสร้างบรรยากาศ ความรับผิดชอบต่อสังคม และเข้าถึงเทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาและทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์(Strategy Planning and Formulation) ทำให้เห็นแผนภาพที่แสดงถึงแนวทางการวางแผนและการกำหนยุทธศาสตร์ในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จและมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ(Strategy Implementation)เป็นแนวทางในการนำแผนยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนมีความยั่งยืน
6.การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เนื่องจากบริบทของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีส่วนที่มีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา สถานศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
7.การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เนื่องจากกระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนและส่งเสริมให้สถานศึกษามีพลังในการพัฒนา จึงต้องสร้างระบบการดำเนินงานทางการศึกษาร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน
8.การควบคุม การวัดประเมิน และการจัดการความรู้ (Control , Measurement, Evaluation and Knowledge Management) เป็นการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษา จากแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติครบวงจร ทำให้สถานศึกษามีความพร้อมในการรับข้อมูลที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ การจัดการความรู้เป็นการสร้างสินทรัพย์ทางความรู้ให้อยู่กับสถานศึกษา โดยพัฒนาอย่างเป็นระบบให้องค์ความรู้ถูกถ่ายทอดและเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา
9.การปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน โดยนำหลักทางการบริหารมาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ
ผมมีความคิดเห็นว่า คุณภาพสถานศึกษา หมายถึง คุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร และคุณภาพโรงเรียนนั่นเอง ถ้าทุกคนมองภาพใหญ่(Big Picture) ร่วมกัน คงจะเห็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา โดยเอาคุณภาพนักเรียนเป็นตัวตั้ง การสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการส่งเสริมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา มีความสำคัญยิ่ง คุณภาพการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจและห่วงใย สถานศึกษาจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมว่า มีความสามารถในการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนมีคุณธรรม(ดี)มีความรู้(เก่ง) และอยู่ในสังคมได้อย่างความสุข ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานที่สูงขึ้น ผู้บริหารเป็นมืออาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำทางวิชาการ มีจิตอาสา ประชาชนได้รับความสุขจากการจัดการศึกษาตามที่คาดหวัง สถานศึกษามีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่กำหนดว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” ภายใต้การขับเคลื่อนแนวทาง 4 ใหม่ คือ คุณภาพคนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารและการจัดการยุคใหม่
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553
the current educational administration
the current educational administration : ได้อะไรจากการสัมมนา.
14 ตุลาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยากร : Bruce Jeans.
ผู้เข้าร่วมสัมมนา นิสิตปริญาเอก 3 ศูนย์ คือ มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา (42 คน)
สิ่งที่ผมยังค้างคาใจ..และต้องการคำอธิบายและหาคำตอบ
Bruce Jeans.บอกว่า การวิจัยไม่ใช่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ แต่เป็นการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับบริบทนั้น..
อาจเป็นเพราะผมฟังภาษาอังกฤษและแปลความผิดก็ได้ แต่ผมจับประเด็นได้แบบนี้ ใครรู้ช่วยตอบผมที...
เนื้อหาที่ Bruce Jeans. กล่าวถึง
3 simple of school
1.A linear industria model
2.A human capital model
3.A human potential model
Venn diagram
1.What processes
2.What kind of decisions
3.What kind of administrators
3 dimentional model
1.dimension A Power distribution and/or flexibility
2.dimension B Accountability
3.dimension C Human relation and/or communication
F = ma
Bruce Jeans ท่านสอนและอธิบายเนื้อเรื่องได้ดีมาก มีความสุขในการให้ความรู้
เดี๋ยวผมจะนำเสนอเนื้อหาต่อ...ผู้รู้ช่วยอธิบายความสงสัยที่ผมตั้งประเด้นไว้ที
14 ตุลาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยากร : Bruce Jeans.
ผู้เข้าร่วมสัมมนา นิสิตปริญาเอก 3 ศูนย์ คือ มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา (42 คน)
สิ่งที่ผมยังค้างคาใจ..และต้องการคำอธิบายและหาคำตอบ
Bruce Jeans.บอกว่า การวิจัยไม่ใช่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ แต่เป็นการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับบริบทนั้น..
อาจเป็นเพราะผมฟังภาษาอังกฤษและแปลความผิดก็ได้ แต่ผมจับประเด็นได้แบบนี้ ใครรู้ช่วยตอบผมที...
เนื้อหาที่ Bruce Jeans. กล่าวถึง
3 simple of school
1.A linear industria model
2.A human capital model
3.A human potential model
Venn diagram
1.What processes
2.What kind of decisions
3.What kind of administrators
3 dimentional model
1.dimension A Power distribution and/or flexibility
2.dimension B Accountability
3.dimension C Human relation and/or communication
F = ma
Bruce Jeans ท่านสอนและอธิบายเนื้อเรื่องได้ดีมาก มีความสุขในการให้ความรู้
เดี๋ยวผมจะนำเสนอเนื้อหาต่อ...ผู้รู้ช่วยอธิบายความสงสัยที่ผมตั้งประเด้นไว้ที
วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553
“ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต”
“ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต”
โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่างๆ ถึงปัจจุบัน
จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น
-sustainability+
-wisdom+
-creativity+
-Innovation+
-intellectual capital.
การบริหารการศึกษาในวันนี้..เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจภาพใหญ่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทของระบบการศึกษาไทย ผมขอเสนอทฤษฎี HR Architecture
ผมคิดว่าปัจจัยที่ท้าทายของการบริหารการศึกษาในวันนี้..ขอยกเพียง 3 เรื่องใหญ่และสำคัญเพื่อการทำงานในระดับองค์กร (Micro) คือ
1.ความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิดเป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ
2.ความท้ายทายเรื่องการสร้างและบริหารเครือข่ายและแนวร่วม(Networking) เพื่อสร้างพลัง สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษา
3.ความท้าทายเรื่องการบริหารจัดการ(Management)โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ+แรงบันดาลใจให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ
สำหรับความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิด เป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ ผมขอเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้
•ทฤษฎี 4 L’s
•ทฤษฎี 2 R’s
•ทฤษฎี 2 I’s
•กฎของ Peter Senge
4 L’s
•Learning Methodology
•Learning Environment
•Learning Opportunities
•Learning Communities
2 R’s
•Reality
•Relevance
2 i’s
•Inspiration
•Imagination
โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่างๆ ถึงปัจจุบัน
จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น
-sustainability+
-wisdom+
-creativity+
-Innovation+
-intellectual capital.
การบริหารการศึกษาในวันนี้..เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจภาพใหญ่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทของระบบการศึกษาไทย ผมขอเสนอทฤษฎี HR Architecture
ผมคิดว่าปัจจัยที่ท้าทายของการบริหารการศึกษาในวันนี้..ขอยกเพียง 3 เรื่องใหญ่และสำคัญเพื่อการทำงานในระดับองค์กร (Micro) คือ
1.ความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิดเป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ
2.ความท้ายทายเรื่องการสร้างและบริหารเครือข่ายและแนวร่วม(Networking) เพื่อสร้างพลัง สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษา
3.ความท้าทายเรื่องการบริหารจัดการ(Management)โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ+แรงบันดาลใจให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ
สำหรับความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิด เป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ ผมขอเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้
•ทฤษฎี 4 L’s
•ทฤษฎี 2 R’s
•ทฤษฎี 2 I’s
•กฎของ Peter Senge
4 L’s
•Learning Methodology
•Learning Environment
•Learning Opportunities
•Learning Communities
2 R’s
•Reality
•Relevance
2 i’s
•Inspiration
•Imagination
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
ได้อะไร จากการอ่าน.. WINNING WITH PEOPLE
หนังสือ WINNING WITH PEOPLE
จอห์น ซี แมกซเวลล์ (1947- ) มีภูมิหลังมาจากบาทหลวง ปัจจุบันเป็นนักเขียนหนังสือและผู้นำสัมมนาการฝึกอบรมเรื่องภาวะผู้นำคน สำคัญ หนังสือเรื่อง THE 21 IRREFUTABLE LAWS OF LEADERSHIP (1999) – กฎแห่งภาวะการนำที่ปฏิเสธไม่ได้ 21 ข้อ เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่ม
ในบรรดากฎเหล่านี้ รวมทั้งกฎเช่น การเชื่อถือไว้วางใจ คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะการนำ; ภาวะผู้นำต้องใช้เวลาพัฒนาทุกวัน, ไม่ใช่จะพัฒนาได้ในวันเดียว; การนับถือคนอื่น; การมีการหยั่งรู้แบบญาณสังหรณ์; การเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดคน; การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น; การรู้จักเลือกว่าอะไรสำคัญ; การทำงานแบบเสียสละ และการรู้จักมอบหมายงานความรับผิดชอบให้คนอื่น
เขาเขียนหนังสือ เรื่องภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงอีกหลายเล่ม รวมทั้งเดินทางไปเป็นผู้นำสัมมนาให้ผู้นำองค์กรทั้งโลก(รวมทั้งเมืองไทย) มากกว่า 1 ล้านคนมาแล้ว
หนังสือเรื่อง WINNING WITH PEOPLE ของเขาอธิบายหลักการ 25 ข้อ ในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีขึ้นและพัฒนาความสามารถของเราไปพร้อมกับเครือ ข่ายความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น เขาได้ศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเปิดเผยถึงเคล็ดลับของคนที่มีทักษะ ด้านการเข้ากับผู้คนได้ดีที่สุด
แกนกลางที่แมกซเวลล์ เสนอคือ ผู้คนและองค์กรทำงานได้ดีขึ้น ถ้าผู้นำตระหนักและฟูมฟักดูแลเรื่องของความเป็นมนุษย์ (HUMAN ELEMENT) อย่างเอาใจใส่
ในหนังสือ WINNING WITH PEOPLE เขาย้ำความสำคัญของการพัฒนาคุณสมบัติในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีและสร้าง ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง เขามองว่าในชีวิตส่วนใหญ่ของทุกคน ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ประเภทที่จะฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น (RESILIENT) ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน จึงเป็นการให้เครื่องมือกับเราในการที่จะสร้างองค์กรให้ดีขึ้นได้
หนังสือ WINNING WITH PEOPLE มีชื่อรองว่า DISCOVER THE PEOPLE PRINCIPLES THAT WORK FOR YOU EVERY TIME (ค้นพบหลักการเรื่องคนที่จะใช้ได้ผลทุกเวลา) เนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือ
1. ประเด็นเรื่องความพร้อม: เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?
2. ประเด็นเรื่องการเชื่อมโยง: เราเต็มใจที่จะเพ่งความสนใจไปที่คนอื่นหรือไม่?
3. ประเด็นเรื่องความเชื่อถือไว้วางใจ: เราจะสามารถสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกันและกัน (MUTUAL TRUST) ได้หรือไม่?
4. ประเด็นการลงทุนลงแรง: เราเต็มใจจะลงทุนเพื่อการพัฒนาคนอื่นหรือไม่?
5. ประเด็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันแบบทวีคูณ (SYNERGY) : เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบทุกฝ่ายต่างได้ชัยชนะไปด้วยกัน (WIN – WIN RELATIONSHIP) ได้หรือไม่?
ประเด็นเรื่องความพร้อม : เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?
บางคนสรุปอย่างง่าย ๆ ว่า เรื่องการเข้ากับคนเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ไม่เห็นจะมีความสำคัญอะไรเป็น พิเศษ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะในการริเริ่ม, สร้าง และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีแบบพออกพอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้เสมอไป คนหลายคนมีภูมิหลังที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีปัญหา ไม่มีแบบอย่างของความสัมพันธ์ในทางบวกให้เขาเรียนรู้, คนหลายคนพัฒนาเป็นคนที่สนใจแต่ตัวเองและความต้องการของตนเอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงคนอื่นและความต้องการของคนอื่นเลย, คนบางคนมีอดีตที่ขมขื่นที่ทำให้เขามองโลกในแง่ร้ายจากกรอบแว่นของประสบการณ์ ความเจ็บปวดของเขา และมีคนจำนวนมากที่มีจุดบอดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี พวกเขาไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง และไม่รู้วิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบมีสุขภาพจิตที่ดีกับคนอื่น, คนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้จะต้องเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีและ มีวุฒิภาวะมากพอสมควร
การสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีนั้นเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่คนเราเรียนรู้ได้, ต้องเรียนรู้และพัฒนาให้ได้ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราเข้ากับอาณาบริเวณอื่น ๆ ของชีวิตได้ในทุกเรื่อง การมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีชีวิตและการงานที่ประสบ ความสำเร็จและมีความหมาย สิ่งที่แมกซเวลล์พยายามอธิบายคือ เราจะปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีอยู่และพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ที่เข้มแข็งและ น่าตื่นเต้นได้อย่างไร
หลักการเรื่องแว่นที่เราใช้มองคนอื่น
เรามองและตัดสินคน อื่นผ่านแว่นความเป็นตัวตนของเราเอง ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่บวก เชื่อถือไว้วางใจคนอื่น เราจะมองว่าคนอื่นเป็นคนน่าเชื่อถือไว้วางใจ แต่ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ มองคนอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เราจะมองคนอื่นแบบวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจที่เมตตาอารี เราจะมองคนอื่นว่าเป็นคนมีเมตตาด้วย
ดังนั้น เราต้องตระหนักว่า ทัศนะของเราต่อคนอื่นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการที่เรามองและตีความว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร มากกว่าสิ่งที่คน ๆ นั้นเป็นจริง ๆ ถ้าคุณไม่ชอบคนบางคนเลย เพราะคุณคิดว่าเขามีจุดบกพร่องอย่างโน้นอย่างนี้ นี่คือเรื่องของตัวคุณและวิธีที่คุณมองคนอื่น มากกว่าเป็นเพราะคน ๆ นั้นมีจุดบกพร่องจริง ๆ วิธีการมองของคุณคือตัวปัญหา
ถ้าหากว่านี่คือปัญหา จริง อย่าพยายามไปเปลี่ยนคนอื่น อย่าเพิ่งไปเพ่งความสนใจที่คนอื่น ควรกลับมาเพ่งความสนใจที่ตัวคุณเอง วิเคราะห์ตัวคุณเองว่าคุณมองคนอื่นอย่างมีข้อมูลยืนยันและอย่างเป็นธรรมหรือ ไม่ ถ้าหากคุณเปลี่ยนตัวคุณเองและกลายเป็นคนที่คุณปรารถนาจะได้เป็น คุณจะเริ่มมองคนอื่นในแง่มุมมุมใหม่ และการมองคนในแง่ดีขึ้น ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น จะเปลี่ยนวิธีที่คุณมีปฏิกริยาและสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
หลักการเรื่องกระจกเงาส่องตัวเอง
คนทั่วไปมักไม่ ตระหนักว่าเขาคือใคร และสิ่งที่พวกเขาทำบ่อยครั้งทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบทำลายล้างนี้ได้ คือ เราควรจะกลับมาส่องกระจกเงา เพื่อหาความจริงด้วยการเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง
การตระหนักถึงตนเอง (SELF AWARENESS) การรู้จักเข้าใจหยั่งรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในตนเอง เช่นเจตคติ แรงจูงใจ ปฏิกริยา การป้องกันตนเองในทางจิตวิทยา จุดแข็ง จุดอ่อน คนเรามักวิเคราะห์คนอื่นไม่ว่าใครต่อใครได้หมด แต่มักจะไม่วิเคราะห์ตนเอง
การมองภาพพจน์ตนเอง (SELF – IMAGE) การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือในแง่ร้าย คือการคาดหมายเกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่งมักจะนำเราไปสู่สิ่งที่เราคาดหมายไว้ การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือแง่บวก จะทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น และทำให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ ได้มากกว่าการมองภาพพจน์ตนเองในแง่ร้ายหรือแง่ลบ
การซื่อสัตย์ต่อตนเอง (SELF HONESTY) การเต็มใจที่จะซื่อสัตย์เกี่ยวกับเรื่องจุดอ่อน, ความผิดพลาดและปัญหาของตัวเราเอง จะช่วยให้เราเรียนรู้และก้าวข้ามอุปสรรคได้ดีกว่าการไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกตน เอง เพราะการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองทำให้เราไม่รู้ความจริง และทำให้ตัวเราเองคืออุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดโดยที่เราไม่รู้ตัว และได้แต่โทษคนหรือสิ่งอื่น ๆ
การปรับปรุงตนเอง (SELF IMPROVEMENT) การรู้จักตนเองและการหาทางปรับปรุงตัวเอง ไม่ว่าในเรื่องบุคลิกอุปนิสัย คุณสมบัติ วิธีคิด วิธีควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ฯลฯ เป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตัวเราเองไปสู่ความสำเร็จได้อย่าง สำคัญ คนที่ไม่รู้จักตัวเองและพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่น โดยไม่คิดเรื่องเปลี่ยนแปลงตัวเอง นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วย
การรับผิดชอบต่อตนเอง (SELF RESPONSIBILITY) แม้ว่าการประสบความสำเร็จที่สำคัญในทุกเรื่องจะเป็นผลมาจากการทำงานของคน ร่วมกันหลายคน แต่มักจะเริ่มจากวิสัยทัศน์ (VISION) ของคนใดคนหนึ่งเสมอ หากเรามีวิสัยทัศน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะต้องรับผิดชอบด้วยการนำวิสัยทัศน์นั้นไปขยายต่อให้คนอื่น ๆ เห็นด้วย เพื่อที่คนทั้งหลายจะได้ช่วยกันทำวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง
จอห์น ซี แมกซเวลล์ (1947- ) มีภูมิหลังมาจากบาทหลวง ปัจจุบันเป็นนักเขียนหนังสือและผู้นำสัมมนาการฝึกอบรมเรื่องภาวะผู้นำคน สำคัญ หนังสือเรื่อง THE 21 IRREFUTABLE LAWS OF LEADERSHIP (1999) – กฎแห่งภาวะการนำที่ปฏิเสธไม่ได้ 21 ข้อ เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่ม
ในบรรดากฎเหล่านี้ รวมทั้งกฎเช่น การเชื่อถือไว้วางใจ คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะการนำ; ภาวะผู้นำต้องใช้เวลาพัฒนาทุกวัน, ไม่ใช่จะพัฒนาได้ในวันเดียว; การนับถือคนอื่น; การมีการหยั่งรู้แบบญาณสังหรณ์; การเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดคน; การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น; การรู้จักเลือกว่าอะไรสำคัญ; การทำงานแบบเสียสละ และการรู้จักมอบหมายงานความรับผิดชอบให้คนอื่น
เขาเขียนหนังสือ เรื่องภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงอีกหลายเล่ม รวมทั้งเดินทางไปเป็นผู้นำสัมมนาให้ผู้นำองค์กรทั้งโลก(รวมทั้งเมืองไทย) มากกว่า 1 ล้านคนมาแล้ว
หนังสือเรื่อง WINNING WITH PEOPLE ของเขาอธิบายหลักการ 25 ข้อ ในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีขึ้นและพัฒนาความสามารถของเราไปพร้อมกับเครือ ข่ายความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น เขาได้ศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเปิดเผยถึงเคล็ดลับของคนที่มีทักษะ ด้านการเข้ากับผู้คนได้ดีที่สุด
แกนกลางที่แมกซเวลล์ เสนอคือ ผู้คนและองค์กรทำงานได้ดีขึ้น ถ้าผู้นำตระหนักและฟูมฟักดูแลเรื่องของความเป็นมนุษย์ (HUMAN ELEMENT) อย่างเอาใจใส่
ในหนังสือ WINNING WITH PEOPLE เขาย้ำความสำคัญของการพัฒนาคุณสมบัติในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีและสร้าง ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง เขามองว่าในชีวิตส่วนใหญ่ของทุกคน ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ประเภทที่จะฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น (RESILIENT) ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน จึงเป็นการให้เครื่องมือกับเราในการที่จะสร้างองค์กรให้ดีขึ้นได้
หนังสือ WINNING WITH PEOPLE มีชื่อรองว่า DISCOVER THE PEOPLE PRINCIPLES THAT WORK FOR YOU EVERY TIME (ค้นพบหลักการเรื่องคนที่จะใช้ได้ผลทุกเวลา) เนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือ
1. ประเด็นเรื่องความพร้อม: เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?
2. ประเด็นเรื่องการเชื่อมโยง: เราเต็มใจที่จะเพ่งความสนใจไปที่คนอื่นหรือไม่?
3. ประเด็นเรื่องความเชื่อถือไว้วางใจ: เราจะสามารถสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกันและกัน (MUTUAL TRUST) ได้หรือไม่?
4. ประเด็นการลงทุนลงแรง: เราเต็มใจจะลงทุนเพื่อการพัฒนาคนอื่นหรือไม่?
5. ประเด็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันแบบทวีคูณ (SYNERGY) : เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบทุกฝ่ายต่างได้ชัยชนะไปด้วยกัน (WIN – WIN RELATIONSHIP) ได้หรือไม่?
ประเด็นเรื่องความพร้อม : เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?
บางคนสรุปอย่างง่าย ๆ ว่า เรื่องการเข้ากับคนเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ไม่เห็นจะมีความสำคัญอะไรเป็น พิเศษ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะในการริเริ่ม, สร้าง และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีแบบพออกพอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้เสมอไป คนหลายคนมีภูมิหลังที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีปัญหา ไม่มีแบบอย่างของความสัมพันธ์ในทางบวกให้เขาเรียนรู้, คนหลายคนพัฒนาเป็นคนที่สนใจแต่ตัวเองและความต้องการของตนเอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงคนอื่นและความต้องการของคนอื่นเลย, คนบางคนมีอดีตที่ขมขื่นที่ทำให้เขามองโลกในแง่ร้ายจากกรอบแว่นของประสบการณ์ ความเจ็บปวดของเขา และมีคนจำนวนมากที่มีจุดบอดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี พวกเขาไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง และไม่รู้วิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบมีสุขภาพจิตที่ดีกับคนอื่น, คนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้จะต้องเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีและ มีวุฒิภาวะมากพอสมควร
การสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีนั้นเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่คนเราเรียนรู้ได้, ต้องเรียนรู้และพัฒนาให้ได้ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราเข้ากับอาณาบริเวณอื่น ๆ ของชีวิตได้ในทุกเรื่อง การมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีชีวิตและการงานที่ประสบ ความสำเร็จและมีความหมาย สิ่งที่แมกซเวลล์พยายามอธิบายคือ เราจะปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีอยู่และพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ที่เข้มแข็งและ น่าตื่นเต้นได้อย่างไร
หลักการเรื่องแว่นที่เราใช้มองคนอื่น
เรามองและตัดสินคน อื่นผ่านแว่นความเป็นตัวตนของเราเอง ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่บวก เชื่อถือไว้วางใจคนอื่น เราจะมองว่าคนอื่นเป็นคนน่าเชื่อถือไว้วางใจ แต่ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ มองคนอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เราจะมองคนอื่นแบบวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจที่เมตตาอารี เราจะมองคนอื่นว่าเป็นคนมีเมตตาด้วย
ดังนั้น เราต้องตระหนักว่า ทัศนะของเราต่อคนอื่นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการที่เรามองและตีความว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร มากกว่าสิ่งที่คน ๆ นั้นเป็นจริง ๆ ถ้าคุณไม่ชอบคนบางคนเลย เพราะคุณคิดว่าเขามีจุดบกพร่องอย่างโน้นอย่างนี้ นี่คือเรื่องของตัวคุณและวิธีที่คุณมองคนอื่น มากกว่าเป็นเพราะคน ๆ นั้นมีจุดบกพร่องจริง ๆ วิธีการมองของคุณคือตัวปัญหา
ถ้าหากว่านี่คือปัญหา จริง อย่าพยายามไปเปลี่ยนคนอื่น อย่าเพิ่งไปเพ่งความสนใจที่คนอื่น ควรกลับมาเพ่งความสนใจที่ตัวคุณเอง วิเคราะห์ตัวคุณเองว่าคุณมองคนอื่นอย่างมีข้อมูลยืนยันและอย่างเป็นธรรมหรือ ไม่ ถ้าหากคุณเปลี่ยนตัวคุณเองและกลายเป็นคนที่คุณปรารถนาจะได้เป็น คุณจะเริ่มมองคนอื่นในแง่มุมมุมใหม่ และการมองคนในแง่ดีขึ้น ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น จะเปลี่ยนวิธีที่คุณมีปฏิกริยาและสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
หลักการเรื่องกระจกเงาส่องตัวเอง
คนทั่วไปมักไม่ ตระหนักว่าเขาคือใคร และสิ่งที่พวกเขาทำบ่อยครั้งทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบทำลายล้างนี้ได้ คือ เราควรจะกลับมาส่องกระจกเงา เพื่อหาความจริงด้วยการเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง
การตระหนักถึงตนเอง (SELF AWARENESS) การรู้จักเข้าใจหยั่งรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในตนเอง เช่นเจตคติ แรงจูงใจ ปฏิกริยา การป้องกันตนเองในทางจิตวิทยา จุดแข็ง จุดอ่อน คนเรามักวิเคราะห์คนอื่นไม่ว่าใครต่อใครได้หมด แต่มักจะไม่วิเคราะห์ตนเอง
การมองภาพพจน์ตนเอง (SELF – IMAGE) การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือในแง่ร้าย คือการคาดหมายเกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่งมักจะนำเราไปสู่สิ่งที่เราคาดหมายไว้ การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือแง่บวก จะทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น และทำให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ ได้มากกว่าการมองภาพพจน์ตนเองในแง่ร้ายหรือแง่ลบ
การซื่อสัตย์ต่อตนเอง (SELF HONESTY) การเต็มใจที่จะซื่อสัตย์เกี่ยวกับเรื่องจุดอ่อน, ความผิดพลาดและปัญหาของตัวเราเอง จะช่วยให้เราเรียนรู้และก้าวข้ามอุปสรรคได้ดีกว่าการไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกตน เอง เพราะการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองทำให้เราไม่รู้ความจริง และทำให้ตัวเราเองคืออุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดโดยที่เราไม่รู้ตัว และได้แต่โทษคนหรือสิ่งอื่น ๆ
การปรับปรุงตนเอง (SELF IMPROVEMENT) การรู้จักตนเองและการหาทางปรับปรุงตัวเอง ไม่ว่าในเรื่องบุคลิกอุปนิสัย คุณสมบัติ วิธีคิด วิธีควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ฯลฯ เป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตัวเราเองไปสู่ความสำเร็จได้อย่าง สำคัญ คนที่ไม่รู้จักตัวเองและพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่น โดยไม่คิดเรื่องเปลี่ยนแปลงตัวเอง นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วย
การรับผิดชอบต่อตนเอง (SELF RESPONSIBILITY) แม้ว่าการประสบความสำเร็จที่สำคัญในทุกเรื่องจะเป็นผลมาจากการทำงานของคน ร่วมกันหลายคน แต่มักจะเริ่มจากวิสัยทัศน์ (VISION) ของคนใดคนหนึ่งเสมอ หากเรามีวิสัยทัศน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะต้องรับผิดชอบด้วยการนำวิสัยทัศน์นั้นไปขยายต่อให้คนอื่น ๆ เห็นด้วย เพื่อที่คนทั้งหลายจะได้ช่วยกันทำวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง
วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
Module 5 คือ การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ Strategy Implementation
Module 5 คือ การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ Strategy Implementation
วิทยากร ดร.พิกุล,ดร.จีรศักดิ์
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับสถานศึกษา เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา
2.การวินิจฉัยองค์การ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์สถานศึกษา
4.การประเมินผลและให้ข้อมูลป้อนกลับ
การบริหารเชิงกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน
หน่วยงานในที่นี้หมายถึง การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา เช่น การแบ่งตามโรงเรียนนิติบุคคล ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป โดยเริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายระดับหน่วยงาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ
2.การสำรวจสภาพปัจจุบัน หรือ การวินิจฉัยของฝ่ายแต่ละฝ่าย โดยนำเครื่องมือ SWOT Analysis มาเป็นเครื่องมือ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานด้วยแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ระดับหน่วยงาน
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับหน่วยงาน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับบุคคล
ถือเป็นเรื่องใหม่ของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานและบุคคลเป็นไปในทิศทางเดียว กัน พร้อมกับขับเคลื่อนให้องค์การดำเนินสู่วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายการทำงานบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายระดับหน่วยงาน
2.การทบทวนบทบาทและหน้าที่ของบุคลากร โดยพิจารณาจากรายละเอียดหน้าที่งาน
3.กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลและการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิทยากร ดร.พิกุล,ดร.จีรศักดิ์
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับสถานศึกษา เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา
2.การวินิจฉัยองค์การ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์สถานศึกษา
4.การประเมินผลและให้ข้อมูลป้อนกลับ
การบริหารเชิงกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน
หน่วยงานในที่นี้หมายถึง การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา เช่น การแบ่งตามโรงเรียนนิติบุคคล ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป โดยเริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายระดับหน่วยงาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ
2.การสำรวจสภาพปัจจุบัน หรือ การวินิจฉัยของฝ่ายแต่ละฝ่าย โดยนำเครื่องมือ SWOT Analysis มาเป็นเครื่องมือ
3.การวางแผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานด้วยแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ระดับหน่วยงาน
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับหน่วยงาน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ระดับบุคคล
ถือเป็นเรื่องใหม่ของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานและบุคคลเป็นไปในทิศทางเดียว กัน พร้อมกับขับเคลื่อนให้องค์การดำเนินสู่วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เริ่มจาก
1.การกำหนดเป้าหมายการทำงานบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายระดับหน่วยงาน
2.การทบทวนบทบาทและหน้าที่ของบุคลากร โดยพิจารณาจากรายละเอียดหน้าที่งาน
3.กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลและการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
Module ที่ 4 เรื่อง การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Formulating)
Module ที่ 4 เรื่อง การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Formulating)
วิทยากร ผศ.ประมวล ตันยะ
การพัฒนาองค์การ หรือ OD : Organization Development หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบด้วยการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรม ศาสตร์เข้ามาช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนองค์การตั้งแต่ระดับกลยุทธ์องค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่องค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์และกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารยุทธศาสตร์ สามารถทำความเข้าใจง่าย ๆ ด้วยการตอบคำถาม 4 คำถามสำคัญดังนี้
๑. ในอนาคต เราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to be?)
๒. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๓. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. เราจะต้องทำหรือปรับเปลี่ยน อะไรบ้าง เพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change in order to get there?)
กระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะประกอบด้วย
๑. การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) การวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ทั้งภายในและภายนอกด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสม เป็นการตอบคำถาม ว่า ปัจจุบันองค์การของเราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๒. การกำหนดทิศทางขององค์การ (Strategic Direction Setting) เป็นการกำหนดทิศทางที่องค์การต้องการไปสู่ ได้แก่ การกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวขององค์การ เป็นการตอบคำถามว่า องค์การของเราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to go?)
๓. การกำหนดยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Formulation) คือ การนำข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการกำหนดทิศทางขององค์การและการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน องค์การมาจัดทำเป็นยุทธ์ศาสตร์ในระดับและรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการประเมินและคัดเลือกว่ายุทธศาสตร์ใดที่มีความเหมาะสมกับองค์การมาก ที่สุด เป็นการตอบคำถามว่า เราจะไปสู่การบรรลุทิศทางขององค์การได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแต่เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากในการบริหารเชิง ยุทธศาสตร์ เมื่อองค์การได้กำหนดทิศทางขององค์การ วิเคราะห์ปัจจัยด้านต่าง ๆ และจัดทำยุทธศาสตร์แล้ว จะต้องนำยุทธศาสตร์ที่ได้วางแผน จัดทำและคัดเลือกไว้มาดำเนินการประยุกต์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ เสมือนการตอบคำถามว่า เราจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อนำยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ไปสู่การปฏิบัติ (What do we have to do or change?)
การจัดทำยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน ได้แก่วิสัยทัศน์ที่องค์การต้องการบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) แผนที่ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบอกเล่าและสื่อสารถึงยุทธศาสตร์ขององค์การ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทั้งผู้บริหารและบุคลากรมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการผ่านมุมมองในมิติต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึง การนำหลักการของ Balanced Scorecard
2. ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
2.1 การบริหารและจัดทำยุทธศาสตร์ในภาคการศึกษา การวางแผนในระดับสถานศึกษานั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ก. แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ นโยบาย มาตรการที่ใช้อยู่ในขณะนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วยความมุ่งหมายของการศึกษา นั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
ข. ความมุ่งหมายของการศึกษาตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ รวมทั้งในระดับก่อนและหลังด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนในระยะยาวสอดคล้องกันทุกระดับการศึกษา
ค. จุดประสงค์ของหลักสูตรตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบ
ง. จำนวนนักเรียนและห้องเรียนที่จะต้องเปิดสอนทั้งที่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือเป็นนโยบายของทางการ เช่น ทางการสั่งให้เปิดรับนักเรียนเพิ่ม
จ. ทรัพยากรที่มีอยู่และที่คาดว่าจะได้มาทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ
ฉ. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ค่านิยม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในสังคมอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน
ช.ภาวะความเป็นไปของประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ซ. นโยบาย ระเบียบ และขนบธรรมเนียมของทางราชการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดและให้การศึกษา
ฌ. ความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น แนวโน้มในการจัดการศึกษา งานวิจัยทางการศึกษาหรือการติดตามความคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่มีผู้ แสดงออกทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดแนวคิดในการวางแผนจัดการศึกษาหรือบริหารจัดการโรงเรียนให้ดี ขึ้น
2.2 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารราชการ ในส่วนนี้นั้น แนวคิดที่มาเกี่ยวข้องก็คือ Balanced Scorecard ซึ่งจะมีมุมมอง ตามกรอบดังนี้
มิติด้านประสิทธิผล หรือ ผลลัพธ์ที่สำคัญจากประเด็นยุทธศาสตร์นั้นคืออะไร อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญว่าประเด็นยุทธศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไร คือสิ่งที่ผู้รับบริการของยุทธศาสตร์นั้นต้องการ และจะทราบได้อย่างไรว่าสามารถนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ในการที่จะนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ และหรือการก่อให้เกิดประสิทธิผล องค์การต้องทรัพยากรอะไรบ้าง (นอกเหนือจากบุคลากร) รวมถึงต้องมีกระบวนการ หรือ กิจกรรมใดบ้าง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ หรือเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผล
มิติด้านการพัฒนาองค์การ จะต้องมีการพัฒนาองค์การในด้านใดบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานยุทธศาสตร์
วิทยากร ผศ.ประมวล ตันยะ
การพัฒนาองค์การ หรือ OD : Organization Development หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบด้วยการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรม ศาสตร์เข้ามาช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนองค์การตั้งแต่ระดับกลยุทธ์องค์การ โครงสร้างองค์การ กระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่องค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การบริหารเชิงยุทธศาสตร์และกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารยุทธศาสตร์ สามารถทำความเข้าใจง่าย ๆ ด้วยการตอบคำถาม 4 คำถามสำคัญดังนี้
๑. ในอนาคต เราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to be?)
๒. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๓. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. เราจะต้องทำหรือปรับเปลี่ยน อะไรบ้าง เพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change in order to get there?)
กระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะประกอบด้วย
๑. การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Analysis) การวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ทั้งภายในและภายนอกด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสม เป็นการตอบคำถาม ว่า ปัจจุบันองค์การของเราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
๒. การกำหนดทิศทางขององค์การ (Strategic Direction Setting) เป็นการกำหนดทิศทางที่องค์การต้องการไปสู่ ได้แก่ การกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวขององค์การ เป็นการตอบคำถามว่า องค์การของเราต้องการไปสู่ จุดไหน (Where do we want to go?)
๓. การกำหนดยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Formulation) คือ การนำข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการกำหนดทิศทางขององค์การและการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน องค์การมาจัดทำเป็นยุทธ์ศาสตร์ในระดับและรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการประเมินและคัดเลือกว่ายุทธศาสตร์ใดที่มีความเหมาะสมกับองค์การมาก ที่สุด เป็นการตอบคำถามว่า เราจะไปสู่การบรรลุทิศทางขององค์การได้อย่างไร (How do we get there?)
๔. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแต่เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากในการบริหารเชิง ยุทธศาสตร์ เมื่อองค์การได้กำหนดทิศทางขององค์การ วิเคราะห์ปัจจัยด้านต่าง ๆ และจัดทำยุทธศาสตร์แล้ว จะต้องนำยุทธศาสตร์ที่ได้วางแผน จัดทำและคัดเลือกไว้มาดำเนินการประยุกต์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ เสมือนการตอบคำถามว่า เราจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อนำยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ไปสู่การปฏิบัติ (What do we have to do or change?)
การจัดทำยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน ได้แก่วิสัยทัศน์ที่องค์การต้องการบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) แผนที่ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบอกเล่าและสื่อสารถึงยุทธศาสตร์ขององค์การ อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทั้งผู้บริหารและบุคลากรมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการผ่านมุมมองในมิติต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึง การนำหลักการของ Balanced Scorecard
2. ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
2.1 การบริหารและจัดทำยุทธศาสตร์ในภาคการศึกษา การวางแผนในระดับสถานศึกษานั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ก. แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ นโยบาย มาตรการที่ใช้อยู่ในขณะนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วยความมุ่งหมายของการศึกษา นั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
ข. ความมุ่งหมายของการศึกษาตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ รวมทั้งในระดับก่อนและหลังด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนในระยะยาวสอดคล้องกันทุกระดับการศึกษา
ค. จุดประสงค์ของหลักสูตรตามระดับโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องรับผิดชอบ
ง. จำนวนนักเรียนและห้องเรียนที่จะต้องเปิดสอนทั้งที่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือเป็นนโยบายของทางการ เช่น ทางการสั่งให้เปิดรับนักเรียนเพิ่ม
จ. ทรัพยากรที่มีอยู่และที่คาดว่าจะได้มาทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ
ฉ. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ค่านิยม สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในสังคมอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน
ช.ภาวะความเป็นไปของประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ซ. นโยบาย ระเบียบ และขนบธรรมเนียมของทางราชการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดและให้การศึกษา
ฌ. ความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น แนวโน้มในการจัดการศึกษา งานวิจัยทางการศึกษาหรือการติดตามความคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่มีผู้ แสดงออกทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดแนวคิดในการวางแผนจัดการศึกษาหรือบริหารจัดการโรงเรียนให้ดี ขึ้น
2.2 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารราชการ ในส่วนนี้นั้น แนวคิดที่มาเกี่ยวข้องก็คือ Balanced Scorecard ซึ่งจะมีมุมมอง ตามกรอบดังนี้
มิติด้านประสิทธิผล หรือ ผลลัพธ์ที่สำคัญจากประเด็นยุทธศาสตร์นั้นคืออะไร อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญว่าประเด็นยุทธศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไร คือสิ่งที่ผู้รับบริการของยุทธศาสตร์นั้นต้องการ และจะทราบได้อย่างไรว่าสามารถนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ
มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ในการที่จะนำเสนอในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ และหรือการก่อให้เกิดประสิทธิผล องค์การต้องทรัพยากรอะไรบ้าง (นอกเหนือจากบุคลากร) รวมถึงต้องมีกระบวนการ หรือ กิจกรรมใดบ้าง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ หรือเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผล
มิติด้านการพัฒนาองค์การ จะต้องมีการพัฒนาองค์การในด้านใดบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานยุทธศาสตร์
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
Module ที่ 3 เรื่อง การนำองค์การ และเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
เป็นเครื่องมือที่ชี้นำ และกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม และความคาดหวัง ในผลการดำเนินงานขององค์การโดยอาศัย
oการสื่อสาร
oการสร้างบรรยากาศ
oระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี
oความรับผิดชอบต่อสังคม
oการสนับสนุนชุมชน
oการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
การนำองค์การ
เพื่อปรับปรุง
1.กระบวนการนำองค์การ
2.กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
กระบวนการนำองค์การ
เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การ
- วิสัยทัศน์
- เป้าประสงค์
- ผลการดำเนินการที่คาดหวัง
- ค่านิยมขององค์การ
กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
•การดำเนินงานที่มีผลกระทบ
•การสร้างจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ
•การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน
การนำองค์การ สามารถดำเนินการได้โดย
•กำหนดทิศทางขององค์การ
•สื่อสารสร้างความเข้าใจ
•สร้างบรรยากาศ
•เป็นตัวอย่างที่ดีในการกำกับดูแลตนเอง
•ใช้ผลประโยชน์จากการที่ได้ประเมินการปรับปรุง
•ประเมินผลงานผู้บริหารเพื่อปรับปรุงระบบการนำองค์การ
ทักษะการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
•มีความคิดเชิงวิเคราะห์
•การคิดนอกกรอบ
•การคิดสร้างสรรค์
•การสื่อสารให้เข้าใจ
•มีทักษะ ICT
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึงการนำเอาหลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยมาพัฒนาหรือประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเกิดปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
1.เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process)
2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
3.เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)
เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาวัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น
เทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอน หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค วิธีการ ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงขึ้น
สาเหตุที่ต้องนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
1.จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจรวดเร็วมาก
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
1.ทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2.สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.ทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น
5.ทำให้เรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
1. ประสิทธิผล (Productivity)
2. ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน (Efficiency)
3. ประหยัด (Economy)
เทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในการศึกษา
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสาน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
•ประโยชน์ต่อระบบการศึกษา
•ประโยชน์ต่อคุณภาพทางการเรียนการสอน
•ประโยชน์ต่อตัวนักเรียน
•ประโยชน์ต่อตัวครู
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน 2.ชุดสื่อการสอน
3.การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน 4.ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ
5.การผลิตสื่อจากท้องถิ่น 6.การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์
7.การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานจะมีมากขึ้น
8.สื่อประเภทรายบุคคล 9.เน้นเครือข่ายการเรียนรู้
10.เน้นการเรียนรู้แบบออนไลน์ และการสอนบนเว็บ
11.รูปแบบของการเรียน 12.บทบาทของครูผู้สอน
ธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
•เรียนสิ่งที่ตนสนใจหรืออยากรู้
•ด้วยวิธีการที่ตนถนัด
•ในเวลาที่ตนพอใจ
•ณ สถานที่ที่ตนสะดวก
•มีแหล่งความรู้หลากหลาย
•ทราบและมีความก้าวหน้าในการเรียน
แนวการเรียนแบบยืดหยุ่น
*สื่อ *นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี *สถานที่
*เวลา *วิธีการเรียน *ผลการเรียน
เป็นเครื่องมือที่ชี้นำ และกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม และความคาดหวัง ในผลการดำเนินงานขององค์การโดยอาศัย
oการสื่อสาร
oการสร้างบรรยากาศ
oระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี
oความรับผิดชอบต่อสังคม
oการสนับสนุนชุมชน
oการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
การนำองค์การ
เพื่อปรับปรุง
1.กระบวนการนำองค์การ
2.กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
กระบวนการนำองค์การ
เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การ
- วิสัยทัศน์
- เป้าประสงค์
- ผลการดำเนินการที่คาดหวัง
- ค่านิยมขององค์การ
กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม
•การดำเนินงานที่มีผลกระทบ
•การสร้างจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ
•การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน
การนำองค์การ สามารถดำเนินการได้โดย
•กำหนดทิศทางขององค์การ
•สื่อสารสร้างความเข้าใจ
•สร้างบรรยากาศ
•เป็นตัวอย่างที่ดีในการกำกับดูแลตนเอง
•ใช้ผลประโยชน์จากการที่ได้ประเมินการปรับปรุง
•ประเมินผลงานผู้บริหารเพื่อปรับปรุงระบบการนำองค์การ
ทักษะการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษา
•มีความคิดเชิงวิเคราะห์
•การคิดนอกกรอบ
•การคิดสร้างสรรค์
•การสื่อสารให้เข้าใจ
•มีทักษะ ICT
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึงการนำเอาหลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยมาพัฒนาหรือประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเกิดปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
1.เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process)
2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
3.เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)
เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาวัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น
เทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอน หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค วิธีการ ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบมาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงขึ้น
สาเหตุที่ต้องนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
1.จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจรวดเร็วมาก
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
1.ทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2.สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.ทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น
5.ทำให้เรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
1. ประสิทธิผล (Productivity)
2. ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน (Efficiency)
3. ประหยัด (Economy)
เทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในการศึกษา
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสาน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
•ประโยชน์ต่อระบบการศึกษา
•ประโยชน์ต่อคุณภาพทางการเรียนการสอน
•ประโยชน์ต่อตัวนักเรียน
•ประโยชน์ต่อตัวครู
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน 2.ชุดสื่อการสอน
3.การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน 4.ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ
5.การผลิตสื่อจากท้องถิ่น 6.การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์
7.การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานจะมีมากขึ้น
8.สื่อประเภทรายบุคคล 9.เน้นเครือข่ายการเรียนรู้
10.เน้นการเรียนรู้แบบออนไลน์ และการสอนบนเว็บ
11.รูปแบบของการเรียน 12.บทบาทของครูผู้สอน
ธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
•เรียนสิ่งที่ตนสนใจหรืออยากรู้
•ด้วยวิธีการที่ตนถนัด
•ในเวลาที่ตนพอใจ
•ณ สถานที่ที่ตนสะดวก
•มีแหล่งความรู้หลากหลาย
•ทราบและมีความก้าวหน้าในการเรียน
แนวการเรียนแบบยืดหยุ่น
*สื่อ *นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี *สถานที่
*เวลา *วิธีการเรียน *ผลการเรียน
Module 2 : การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมภิบาล Good Governance
บทสรุป
การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไป สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา สำหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลนั้น มีหลักการสำคัญ 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานภายในสถานศึกษาเกิดความสมดุลระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความสุขและความ สำเร็จในการทำงานภายในองค์การของตน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา เพราะยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้
ความหมาย : วิธีการที่ดีที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรหรือประเทศให้ดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของสังคม นำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล
1.เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2.ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเสถียรภาพ
3.ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหา ความรุนแรงในสังคม
4.ช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้าน
5.จะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง
6.เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย
7.จะช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรม
8.จะช่วยให้การยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
9.ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
10.สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9
11.เป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยากจน
12.เป็นหลักการสำคัญที่องค์การระหว่างประเทศใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา
13.เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
14.เป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็นธรรมต่อคนในสังคม
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
1.หลักนิติธรรม 2.หลักคุณธรรม 3.หลักความโปร่งใส
4.หลักการมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า
กลไกที่ช่วยสร้างธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล คือ สภาพอุดมคติ (Ideology) ที่คนและองค์การสามารถธำรงรักษาสมดุลระหว่างความสุข ความสำเร็จ ของตนเอง และผู้อื่น การสร้างธรรมาภิบาล คือการจัดระเบียบสังคม (Social Orders) เพื่อให้มีค่านิยม บรรทัดฐาน กฎระเบียบและการจัดโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ธรรมาภิบาล
การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจหลักการสำคัญของธรรมาภิบาลและนำไป สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา สำหรับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลนั้น มีหลักการสำคัญ 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานภายในสถานศึกษาเกิดความสมดุลระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความสุขและความ สำเร็จในการทำงานภายในองค์การของตน เกิดความมั่นใจในการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา เพราะยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมและโปร่งใส่สามารถตรวจสอบได้
ความหมาย : วิธีการที่ดีที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรหรือประเทศให้ดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของสังคม นำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล
1.เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2.ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเสถียรภาพ
3.ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหา ความรุนแรงในสังคม
4.ช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้าน
5.จะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง
6.เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย
7.จะช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรม
8.จะช่วยให้การยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
9.ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
10.สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9
11.เป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยากจน
12.เป็นหลักการสำคัญที่องค์การระหว่างประเทศใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนหรือประเทศที่กำลังพัฒนา
13.เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
14.เป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็นธรรมต่อคนในสังคม
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
1.หลักนิติธรรม 2.หลักคุณธรรม 3.หลักความโปร่งใส
4.หลักการมีส่วนร่วม 5.หลักความรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า
กลไกที่ช่วยสร้างธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล คือ สภาพอุดมคติ (Ideology) ที่คนและองค์การสามารถธำรงรักษาสมดุลระหว่างความสุข ความสำเร็จ ของตนเอง และผู้อื่น การสร้างธรรมาภิบาล คือการจัดระเบียบสังคม (Social Orders) เพื่อให้มีค่านิยม บรรทัดฐาน กฎระเบียบและการจัดโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ธรรมาภิบาล
Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต The Challenge of the Future Education Administration
Module 1 ว่าด้วยการวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต
(Context Analysis : The Challenge of the Future Education Administration)
การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
มีกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือมีเทคนิคที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 เทคนิค คือ
1.การวิเคราะห์บริบทใช้เทคนิคการวินิจฉัยองค์การ
2.การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
3.แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา
โดยที่มีเป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคต
1.การวินิจฉัยองค์การ(Organization Diagnosis)
การวินิจฉัยองค์การ คือ กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร โดยการใช้ SWOT Analysis โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่ สองประเด็นคือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ C-PEST
C : Custumer,Competitors คือ ลูกค้าหรือผู้รับบริการ , คู่แข่ง
P : Politics คือ สถานการทางการเมือง และยังร่วมถึงนโยบายต่าง ๆ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
E : Environment, Economics คือ สภาพแวดล้อม หรือสภาพเศรษฐกิจ
S : Society คือ สภาพสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ของประชาชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษาเป็นอย่างไร
T : Technology คือ เทคโนโลยีรวมถึงระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นในเรื่อง โอกาส และปัญหาอุปสรรค
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนิยมมาใช้ ได้แก่ 7Ss ตามแนวคิดของ McKinsey 7-S Framework ประกอบด้วย
S – Strategy : ยุทธศาสตร์
S – Structure : โครงสร้างขององค์การ
S – Systems : ระบบงาน
S – Skill : ทักษะ หรือความสามารถ ซึงปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่า สมรรถนะ (Competency)
S – Shared Values : ค่านิยมร่วม
S – Staff : ทีมงาน หรือ บุคลากรในองค์การ
S – Style : รูปแบบการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การ
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
2.การวิเคราะห์เชิงระบบ
การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการ องค์การแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ เป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าคิดวิเคราะห์แยกแยะ มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุผล เชิงเส้นตรง คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (Pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (Events)
3.การใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)
จิตตปัญญาศึกษา เป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ โดยภาพรวมจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความ ตระหนักรู้ การเรียนรู้และการรู้ทัน มิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก) ของตนเองให้คุณค่าการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงการสังเกตอย่างมีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองที่เกิดขึ้นจาก การเผชิญกับผู้อื่นและโลกภายนอก ผ่านกระบวนการ/วิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การสงบนิ่งอยู่กับตนเอง/การเจริญสติ ภาวนา การสะท้อนการเรียนรู้ตนและกลุ่ม เป็นต้น
(Context Analysis : The Challenge of the Future Education Administration)
การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
มีกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือมีเทคนิคที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 เทคนิค คือ
1.การวิเคราะห์บริบทใช้เทคนิคการวินิจฉัยองค์การ
2.การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
3.แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา
โดยที่มีเป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคต
1.การวินิจฉัยองค์การ(Organization Diagnosis)
การวินิจฉัยองค์การ คือ กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร โดยการใช้ SWOT Analysis โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่ สองประเด็นคือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ C-PEST
C : Custumer,Competitors คือ ลูกค้าหรือผู้รับบริการ , คู่แข่ง
P : Politics คือ สถานการทางการเมือง และยังร่วมถึงนโยบายต่าง ๆ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
E : Environment, Economics คือ สภาพแวดล้อม หรือสภาพเศรษฐกิจ
S : Society คือ สภาพสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ของประชาชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษาเป็นอย่างไร
T : Technology คือ เทคโนโลยีรวมถึงระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นในเรื่อง โอกาส และปัญหาอุปสรรค
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งนิยมมาใช้ ได้แก่ 7Ss ตามแนวคิดของ McKinsey 7-S Framework ประกอบด้วย
S – Strategy : ยุทธศาสตร์
S – Structure : โครงสร้างขององค์การ
S – Systems : ระบบงาน
S – Skill : ทักษะ หรือความสามารถ ซึงปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่า สมรรถนะ (Competency)
S – Shared Values : ค่านิยมร่วม
S – Staff : ทีมงาน หรือ บุคลากรในองค์การ
S – Style : รูปแบบการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การ
โดยการวิเคราะห์ในประเด็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
2.การวิเคราะห์เชิงระบบ
การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการ องค์การแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ เป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าคิดวิเคราะห์แยกแยะ มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุผล เชิงเส้นตรง คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (Pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (Events)
3.การใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)
จิตตปัญญาศึกษา เป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ โดยภาพรวมจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความ ตระหนักรู้ การเรียนรู้และการรู้ทัน มิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก) ของตนเองให้คุณค่าการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงการสังเกตอย่างมีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองที่เกิดขึ้นจาก การเผชิญกับผู้อื่นและโลกภายนอก ผ่านกระบวนการ/วิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การสงบนิ่งอยู่กับตนเอง/การเจริญสติ ภาวนา การสะท้อนการเรียนรู้ตนและกลุ่ม เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Think Big
Think Big : คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก
เทคนิคการคิดที่จะผลักดัน ให้คุณประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาด
บทที่ 14 วิธีใช้ความมหัศจรรย์ของการคิดใหญ่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่สุดของชีวิต
มีสิ่งมหัศจรรย์อยู่ในการคิดใหญ่ แต่มันง่ายมาที่จะลืม เมื่อคุณสะดุดตอที่ใหญ่โต ก็น่าห่วงว่าความคิดของคุณ จะหดลีบเล็กลง และเมื่อมันเกิดขึ้น คุณก็แพ้
ต่อไปนี้เป็นแนวทางสั้นๆ ที่จะทำให้คุณยังคงยึดอยู่กับสิ่งใหญ่ เมื่อคุณรู้สึกอยากจะใช้วิธีการแบบเล็กในการทำสิ่งต่างๆ บางทีคุณอาจจะต้องการแนวทางเหล่านี้ลงบนกระดาษการ์ดเล็กๆ เพื่อสะดวกแก่การหยิบใช้
1.เมื่อคนเล็กพยายามกดคุณลงมา จงคิดใหญ่ แน่นอนมีคนบางคนที่ต้องการจะให้คุณแพ้ ต้องการให้ประสบกับเคราะห์ร้าย ต้องการให้คุณถูกตำหนิ แต่คนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำร้ายคุณได้ถ้าคุณจำ 3 สิ่งต่อไปนี้
ก.คุณชนะถ้าคุณปฏิเสธที่จะสู้กับคนคิดเล็กคิดน้อย การต่อสู้กับคนเล็กจะลดขนาดของคุณให้เท่ากับขนาดของเขา เพราะฉะนั้นยืนอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่ไว้
ข.คาดไว้ได้เลยว่าถ้าคุณต้องการถูกแทงข้างหลัง นั่นเป็นการพิสูจน์ว่าคุณกำลังโต
ค.เตือนตัวเองว่าคนลอบกัดมีความเจ็บป่วยทางจิตจงเป็นคนใหญ่ และให้ความสงสารแก่พวกเขา
คิดให้ใหญ่พอที่จะปลอดภัยจากการโจมตีของพวกคิดเล็กคิดน้อย
2.เมื่อเกิดความรู้สึกที่ว่า ผมไม่มีในสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จ คืบคลานเข้ามาหาคุณ จงคิดใหญ่ จำไว้ว่า ถ้าคุณคิดว่า คุณอ่อนแอ คุณก็จะอ่อนแอ ถ้าคิดว่าคุณไม่มีความสามารถเพียงพอ คุณก็ไม่มี ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นคนชั้นสองคุณก็เป็น โจมตีแนวโน้มทางธรรมชาติของคนที่จะรู้สึกตนเองว่าต่ำต้อยด้วยเครื่องมือต่อ ไปนี้
ก.ทำให้ดูสำคัญ มันช่วยให้คุณคิดในสิ่งที่สำคัญ รูปร่างหน้าตา และการปรากฏภายนอกของคุณ มีส่วนเกี่ยวพันกับ ความรู้สึกภายในของคุณเป็นอย่างมาก
ข.มุ่งเน้นในคุณสมบัติของคุณ สร้างวิธีการขายตัวเองให้กับตัวเองแล้วใช้มัน เรียนรู้ที่จะชาร์จพลังในตัวคุณเอง รู้จักด้านบวกของตัวเอง
ค.วางคนอื่นให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม คนอื่นก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจะกลัวเขาทำไม ?
คิดให้ใหญ่เพียงพอ เพื่อที่จะเห็นว่าคุณดีแค่ไหนจริงๆ
3.เมื่อมีการทะเลาะเบาะแว้งดูเหมือนจะหลีกเหลี่ยงไม่ได้ จงคิดใหญ่ พยาบาท อาฆาต จะไม่ช่วยคุณไปถึงที่ที่คุณต้องการจะไป
ก.ถามตัวเองว่า จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่สำคัญแค่ไหนที่จะต้อง ถกเถียงกัน?
ข.เตือนตัวเองว่า คุณไม่ได้อะไรเลยจากการทุ่มเถียง แต่คุณจะเสียอะไรบางสิ่งบางอย่างเสมอ
คิดให้ใหญ่เพียงพอที่จะเห็นว่าการทะเลาะ การทุ่มเถียง และความพยาบาทอาฆาตจะไม่ช่วยคุณไปถึงที่ๆ คุณต้องการจะไป
4.เมื่อคุณรู้สึกพ่ายแพ้ จงคิดใหญ่ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จใหญ่หลวงโดยปราศจากความ ลำบาก และความผิดพลาดแต่มันเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการถูกทำให้พ่าย แพ้ นักคิดใหญ่มีปฏิกิริยาต่อความผิดพลาดโดยวิธีนี้
ก.ถือว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียน เรียนรู้จากมัน วิเคราะห์ดูความผิดพลาดและใช้มันในการส่งคุณให้ก้าวไปข้างหน้า กอบกู้สิ่งที่เหลืออยู่จากความผิดพลาดทุกครั้ง
ข.ผสมผสานความมุ่งมั่นกับการทดลอง ถอยหลังและเริ่มทำใหม่ด้วยวิธีการใหม่ๆ
คิดให้ใหญ่พอที่จะเห็นว่าความพ่ายแพ้เป็นสภาวะของจิตใจไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
5.เมื่ออารมณ์แห่งความรักเริ่มจะเสื่อมคลาย จงคิดใหญ่ความคิดจุกจิกและเป็นลบประเภทหล่อน(เขา)ไม่ยุติธรรมกับผม(ฉัน)เพราะฉะนั้นผม(ฉัน) ก็ทำแบบเดียวกัน เป็นความคิดที่ฆ่าอารมณ์แห่งความรัก ทำลายความเสน่หาที่ควรจะเป็นของคุณ ทำสิ่งต่อไปนี้เมื่อเกิดความขัดข้องหมองใจในด้านของความรัก
ก.มุ่งเน้นในคุณสมบัติสำคัญที่สุดกับคนที่คุณต้องการให้รักคุณเก็บสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไว้ในที่ของมัน ที่ชั้นสอง
ข.ทำบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษสำหรับคู่ของคุณ และทำบ่อยๆ คิดให้ใหญ่พอที่จะพบความสุขของชีวิตแต่งงาน
6.เมื่อคุณรู้สึกว่าความก้าวหน้าในงานกำลังช้าลง จงคิดใหญ่ ไม่ว่าคุณจะทำอย่างไร และไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร การเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนที่สูงขึ้นมาจากสิ่งเดียวเท่านั้น คือเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตของคุณ ทำสิ่งต่อไปนี้
คิดว่า ผมสามารถทำให้ดีขึ้น สิ่งที่ดีทีสุดไม่มี เพราะฉะนั้นมีช่องทางที่จะทำทุกสิ่งให้ดีขึ้น ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่ถูกทำขึ้นอย่างสมบูรณ์ ไม่มีที่ติและเมื่อคุณคิดว่า ผมสามารถทำให้ดีขึ้น จะปล่อย พลังความคิดสร้างสรรค์ ของคุณออกมาคิดให้ใหญ่พอ ที่จะเห็นว่าถ้าคุณถือบริการอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เงินก็จะตามมาเอง
จากวาทะของพูบลิเลียส ไซรัส ได้กล่าวไว้ว่า คนฉลาดจะเป็นเจ้านายของจิตใจเขา คนโง่จะเป็นทาส
เทคนิคการคิดที่จะผลักดัน ให้คุณประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาด
บทที่ 14 วิธีใช้ความมหัศจรรย์ของการคิดใหญ่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่สุดของชีวิต
มีสิ่งมหัศจรรย์อยู่ในการคิดใหญ่ แต่มันง่ายมาที่จะลืม เมื่อคุณสะดุดตอที่ใหญ่โต ก็น่าห่วงว่าความคิดของคุณ จะหดลีบเล็กลง และเมื่อมันเกิดขึ้น คุณก็แพ้
ต่อไปนี้เป็นแนวทางสั้นๆ ที่จะทำให้คุณยังคงยึดอยู่กับสิ่งใหญ่ เมื่อคุณรู้สึกอยากจะใช้วิธีการแบบเล็กในการทำสิ่งต่างๆ บางทีคุณอาจจะต้องการแนวทางเหล่านี้ลงบนกระดาษการ์ดเล็กๆ เพื่อสะดวกแก่การหยิบใช้
1.เมื่อคนเล็กพยายามกดคุณลงมา จงคิดใหญ่ แน่นอนมีคนบางคนที่ต้องการจะให้คุณแพ้ ต้องการให้ประสบกับเคราะห์ร้าย ต้องการให้คุณถูกตำหนิ แต่คนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำร้ายคุณได้ถ้าคุณจำ 3 สิ่งต่อไปนี้
ก.คุณชนะถ้าคุณปฏิเสธที่จะสู้กับคนคิดเล็กคิดน้อย การต่อสู้กับคนเล็กจะลดขนาดของคุณให้เท่ากับขนาดของเขา เพราะฉะนั้นยืนอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่ไว้
ข.คาดไว้ได้เลยว่าถ้าคุณต้องการถูกแทงข้างหลัง นั่นเป็นการพิสูจน์ว่าคุณกำลังโต
ค.เตือนตัวเองว่าคนลอบกัดมีความเจ็บป่วยทางจิตจงเป็นคนใหญ่ และให้ความสงสารแก่พวกเขา
คิดให้ใหญ่พอที่จะปลอดภัยจากการโจมตีของพวกคิดเล็กคิดน้อย
2.เมื่อเกิดความรู้สึกที่ว่า ผมไม่มีในสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จ คืบคลานเข้ามาหาคุณ จงคิดใหญ่ จำไว้ว่า ถ้าคุณคิดว่า คุณอ่อนแอ คุณก็จะอ่อนแอ ถ้าคิดว่าคุณไม่มีความสามารถเพียงพอ คุณก็ไม่มี ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นคนชั้นสองคุณก็เป็น โจมตีแนวโน้มทางธรรมชาติของคนที่จะรู้สึกตนเองว่าต่ำต้อยด้วยเครื่องมือต่อ ไปนี้
ก.ทำให้ดูสำคัญ มันช่วยให้คุณคิดในสิ่งที่สำคัญ รูปร่างหน้าตา และการปรากฏภายนอกของคุณ มีส่วนเกี่ยวพันกับ ความรู้สึกภายในของคุณเป็นอย่างมาก
ข.มุ่งเน้นในคุณสมบัติของคุณ สร้างวิธีการขายตัวเองให้กับตัวเองแล้วใช้มัน เรียนรู้ที่จะชาร์จพลังในตัวคุณเอง รู้จักด้านบวกของตัวเอง
ค.วางคนอื่นให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม คนอื่นก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจะกลัวเขาทำไม ?
คิดให้ใหญ่เพียงพอ เพื่อที่จะเห็นว่าคุณดีแค่ไหนจริงๆ
3.เมื่อมีการทะเลาะเบาะแว้งดูเหมือนจะหลีกเหลี่ยงไม่ได้ จงคิดใหญ่ พยาบาท อาฆาต จะไม่ช่วยคุณไปถึงที่ที่คุณต้องการจะไป
ก.ถามตัวเองว่า จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่สำคัญแค่ไหนที่จะต้อง ถกเถียงกัน?
ข.เตือนตัวเองว่า คุณไม่ได้อะไรเลยจากการทุ่มเถียง แต่คุณจะเสียอะไรบางสิ่งบางอย่างเสมอ
คิดให้ใหญ่เพียงพอที่จะเห็นว่าการทะเลาะ การทุ่มเถียง และความพยาบาทอาฆาตจะไม่ช่วยคุณไปถึงที่ๆ คุณต้องการจะไป
4.เมื่อคุณรู้สึกพ่ายแพ้ จงคิดใหญ่ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จใหญ่หลวงโดยปราศจากความ ลำบาก และความผิดพลาดแต่มันเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการถูกทำให้พ่าย แพ้ นักคิดใหญ่มีปฏิกิริยาต่อความผิดพลาดโดยวิธีนี้
ก.ถือว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียน เรียนรู้จากมัน วิเคราะห์ดูความผิดพลาดและใช้มันในการส่งคุณให้ก้าวไปข้างหน้า กอบกู้สิ่งที่เหลืออยู่จากความผิดพลาดทุกครั้ง
ข.ผสมผสานความมุ่งมั่นกับการทดลอง ถอยหลังและเริ่มทำใหม่ด้วยวิธีการใหม่ๆ
คิดให้ใหญ่พอที่จะเห็นว่าความพ่ายแพ้เป็นสภาวะของจิตใจไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
5.เมื่ออารมณ์แห่งความรักเริ่มจะเสื่อมคลาย จงคิดใหญ่ความคิดจุกจิกและเป็นลบประเภทหล่อน(เขา)ไม่ยุติธรรมกับผม(ฉัน)เพราะฉะนั้นผม(ฉัน) ก็ทำแบบเดียวกัน เป็นความคิดที่ฆ่าอารมณ์แห่งความรัก ทำลายความเสน่หาที่ควรจะเป็นของคุณ ทำสิ่งต่อไปนี้เมื่อเกิดความขัดข้องหมองใจในด้านของความรัก
ก.มุ่งเน้นในคุณสมบัติสำคัญที่สุดกับคนที่คุณต้องการให้รักคุณเก็บสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไว้ในที่ของมัน ที่ชั้นสอง
ข.ทำบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษสำหรับคู่ของคุณ และทำบ่อยๆ คิดให้ใหญ่พอที่จะพบความสุขของชีวิตแต่งงาน
6.เมื่อคุณรู้สึกว่าความก้าวหน้าในงานกำลังช้าลง จงคิดใหญ่ ไม่ว่าคุณจะทำอย่างไร และไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร การเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนที่สูงขึ้นมาจากสิ่งเดียวเท่านั้น คือเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตของคุณ ทำสิ่งต่อไปนี้
คิดว่า ผมสามารถทำให้ดีขึ้น สิ่งที่ดีทีสุดไม่มี เพราะฉะนั้นมีช่องทางที่จะทำทุกสิ่งให้ดีขึ้น ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่ถูกทำขึ้นอย่างสมบูรณ์ ไม่มีที่ติและเมื่อคุณคิดว่า ผมสามารถทำให้ดีขึ้น จะปล่อย พลังความคิดสร้างสรรค์ ของคุณออกมาคิดให้ใหญ่พอ ที่จะเห็นว่าถ้าคุณถือบริการอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เงินก็จะตามมาเอง
จากวาทะของพูบลิเลียส ไซรัส ได้กล่าวไว้ว่า คนฉลาดจะเป็นเจ้านายของจิตใจเขา คนโง่จะเป็นทาส
ได้อะไร จากการอ่าน..THE TOP SECRET
THE TOP SECRET : สุดยอดความลับ...ของจักรวาล
หนังสือเล่มนี้..เปรียบเป็นกุญแจที่ไขความลับของจักรวาล.ที่พูดถึงกฎการดึง ดูดของความคิด ที่อธิบายอิงพุทธศาสนาได้ชัดเจนกว่า THE SECRET และอธิบายถึงวิธีปฏิบัติที่ไปได้ไกลกว่าTHE SECRET ที่ไปได้แค่ ความสุขในระดับโลกียะ ด้วยการไปถึงการหลุดพ้นซึ่งเป็นสูงสุดของความสุขระดับโลกุตระเลยทีเดียว..................................
ความลับนั่นก็คือ
•เมื่อใดที่เราสร้างภาพแห่งอนาคตได้ชัดเจน เท่ากับภาพในอดีต เหมือนกับว่าเคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว รู้สึกว่าเกิดขึ้นจริงแน่นอน เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำหนดอนาคตให้เป็นดั่งภาพในจินตนาการได้
•เคล็ดลับของอัจฉริยะ คือการสร้างภาพที่ชัดเจนขึ้นในใจก่อนเสมอ
•มนุษย์มีสิ่งล้ำค่าอย่างหนึ่งนั่นคือ "สติสัมปชัญญะ" ที่คอยควบคุมดูแลอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดไปถึงความคิด
•ความคิด ส่งผลต่อเซลล์ทุกเซลล์ในทุกระบบของร่างกาย และสามารถส่งผลไปถึงเซลล์ของคนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ในระบบประสาท ดังนั้น จงพยายามคิดบวกอยู่เสมอ
•การ "ให้" คือการเพิ่ม ให้บวก..บวกในตัวคุณก็จะเพิ่ม ให้ลบ ลบในตัวคุณก็จะเพิ่ม เช่น ยิ่งให้ยิ่งเก่ง ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งเรียนยิ่งฉลาด ยิ่งบริจาคยิ่งรวย
•จักรวาลมีคลื่นความถี่ ตัวเราเปรียบเสมือนจอรับภาพ ถ้าต้องการภาพชีวิตแบบไหน ก็เพียงแต่ปรับความถี่ของจอรับภาพให้ตรงกับคลื่นความถี่ของจักรวาล
•จิตใต้สำนึก คือฐานข้อมูลของความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นซ้ำกันบ่อยๆจนตกตะกอนแล้ว
•เมื่อเราฝึกคิดบวกจนเป็นนิสัย จิตใต้สำนึกก็จะบันดาลให้สิ่งที่เราคิดเกิดขึ้นจริง แล้วจะพบว่าสิ่งดีๆเข้ามาสู่ชีวิตเรามากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
•จิตใต้สำนึกทำงานแม้ในขณะหลับ ดังนั้น ในแต่ละวันควรระลึกถึงสิ่งดีๆที่ได้ทำลงไปก่อนล้มตัวลงนอน เพื่อจะได้ตื่นเช้าวันใหม่ด้วยความสดชื่น สมองแจ่มใส
•จิตใต้สำนึกมีพลังอำนาจมากว่าจิตสำนึกหลายหมื่นหลายแสนเท่า การทำงานของจิตใต้สำนึกอยู่เหนือมิติที่สี่
•จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่เราสั่งสมไว้ในภวังคจิตมานานหลายภพหลายชาติ รวมทั้งชาติปัจจุบัน จึงทำให้เรามีพื้นฐานจิต อุปนิสัย หรือจริตที่แตกต่างจากคนอื่น ตามประสบการณ์ที่เราสั่งสมมา
•ทุกครั้งที่ทำความดี จงจดจำความรู้สึกดีดีนั้นไว้ ให้ประทับอยู่ในใจเรา สิ่งนี้จะเป็นพลังให้เรามีกำลังใจที่จะทำความดีอยู่อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญกว่านั้น พลังนี้จะดึงดูดสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในชีวิตเราอย่างน่าอัศจรรย์
•กฎลับ 4ข้อ หนึ่ง.. ตั้งจิตอธิษฐานขอโดยปราศจากความอยาก เพื่อป้องกันความกระวนกระวาย
สอง.. มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราขอว่าเป็นจริงได้โดยไม่มีข้อลังเลสงสัย
สาม..จินตนาการภาพแห่งความรู้สึกว่าสิ่งนั้นได้มาแล้วด้วยความรู้สึกปรีดาและมีความสุข
สี่..เตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ
•อย่าอธิษฐานขอที่เป้าหมาย แต่ให้ขอสิ่งที่ จะทำไปให้ถึงเป้าหมายแทน เช่นขอให้มีพลังแรงกายแรงใจ มีสติปัญญาให้ไปถึงเป้าหมายนั้น เป็นต้น
•ความกลัวเป็นตัวขัดขวางศักยภาพของจิตอย่างรุนแรง ทำลายสุขภาพทั้งกายและใจ
•ความกลัวจัดเป็นความคิดด้านลบ เมื่อกลัวบ่อยๆ จิตใต้สำนึกจะบันทึกภาพนั้น แล้วเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นจริง
•เมื่อใดเรามีสติ ความคิดลบที่เกิดขึ้นในสมองจะไม่มีทางหลุดฝังลงไปในจิตใต้สำนึกได้
•เผชิญกับคนคิดลบ ต้องสร้างพลังบวกให้มากๆ(คบคนพาล พาลพาไปหาผิด)..แต่ยิ่งคบคนที่คิดบวก.บวกในตัวเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น(คบ บัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล)
•ถ้าเราคิดดี..สิ่งดีๆจะเข้ามาในชีวิต ถ้าเราคิดลบ สิ่งที่ไม่ดีก็จะเข้ามาในชีวิต
•เมื่อชีวิตพบกับอุปสรรค จงคิดบวก มองวิกฤตเป็นโอกาส เราก็จะมีพลังด้านบวกเพิ่มขึ้น มีความหวังและนั่นก็หมายถึงสิ่งดีๆ.ก็จะเข้ามาในชีวิตต่อไป
•การหัวเราะ จะทำให้คลื่นรังสีออร่ารอบๆตัวเป็นสีสดใส คลื่นบวกของสิ่งแวดล้อมจะมาออรอบๆตัวเรา เสียงหัวเราะมีพลังดึงดูดสูงมาก และมันสามารถดึงพลังคลื่นบวกแห่งจักรวาลเข้ามาสู่ตัวเรา
•ความรู้สึก "พอ" จะทำให้ชีวิตมีความสุข และเกิดความรู้สึกอยากแบ่งปันให้ผู้อื่น ความรู้สึกนี้จะเป็นพลังดึงดูดที่ทรงอานุภาพและเป็นทางลัดที่ง่ายที่สุดใน การที่จะนำความมั่งคั่งมาสู่ตัวเรา
•จงแผ่เมตตาให้ทุกสรรพสิ่ง เพราะมีการทดลองพบว่ามีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพุ่งออกมาจากร่างกายขณะทีแผ่เมตตา
•จงมีสติทุกครั้งที่รลึกและรู้สึกตัว ให้เข้าไปดูความรู้สึกและปรับให้เป็นบวกเสมอ
•ความรู้สึกเป็นกรรมเก่า ความคิดคือกรรมปัจจุบัน การจะตัดความรู้สึกต้องระดมพลังความคิดบวกให้เข้มข้น แล้วบีบอัด จนกลายเป็นความรู้สึกเชิงบวก จึงจะสามารถนำไปตัดความรู้สึกลบได้ (ระงับได้ด้วยการเจริญสติ)
•หมั่นใช้ปัญญาวิเคราะห์ความรู้สึก ว่าจะเหนี่ยวนำให้ความคิดเป็นบวกหรือลบ
•การคิดลบจะเกิดเป็นความรู้สึกฝังอยู่ในจิต เป็นกรรมติดตัว แต่ถ้าคิดบวก ก็จะเป็นการสกัดไม่ให้กรรมใหม่เกิดขึ้นอีก
•จงคิดบวกเสมอไม่ว่าสถานการณ์ใด คิดแต่สิ่งดีๆทำแต่สิ่งดีๆแล้วจิตใต้สำนึกจะดึงดูดสิ่งที่ดีๆเหมือนกันเข้ามา ชีวิตเราก็จะไปสู่สิ่งที่ดี
•สิ่งที่สกัดกิเลสตัณหาได้มีเพียงสิ่งเดียวคือ "สติสัมปชัญญะ" เพราะเป็นตัวเฝ้าทวารทั้งขาเข้าและออก
•ในที่สุดเราก็จะรู้ว่าทุกสิ่งแม้แต่ความรู้สึกก็ไม่มีอยู่จริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เหมือนฟองสบู่ที่เกิดดับภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ถ้าคิดจะใช้ความรู้จากเดอะ ท็อปซีเคร็ทเพียงข้อเดียว จงเลือกใช้การฝึกสติสัมปชัญญะทุกขณะจิตที่เราระลึกได้จนกลายเป็นวิถีชีวิตของเรา
ถึงตอนนี้บอกได้อย่างเดียวว่า..ดีใจมากที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา และได้รู้ถึงความเป็นอัจฉริยะของพระพุทธเจ้า..ที่ไม่มีใครเทียบได้เลย
******************************************************************
หนังสือเล่มนี้..เปรียบเป็นกุญแจที่ไขความลับของจักรวาล.ที่พูดถึงกฎการดึง ดูดของความคิด ที่อธิบายอิงพุทธศาสนาได้ชัดเจนกว่า THE SECRET และอธิบายถึงวิธีปฏิบัติที่ไปได้ไกลกว่าTHE SECRET ที่ไปได้แค่ ความสุขในระดับโลกียะ ด้วยการไปถึงการหลุดพ้นซึ่งเป็นสูงสุดของความสุขระดับโลกุตระเลยทีเดียว..................................
ความลับนั่นก็คือ
•เมื่อใดที่เราสร้างภาพแห่งอนาคตได้ชัดเจน เท่ากับภาพในอดีต เหมือนกับว่าเคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว รู้สึกว่าเกิดขึ้นจริงแน่นอน เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำหนดอนาคตให้เป็นดั่งภาพในจินตนาการได้
•เคล็ดลับของอัจฉริยะ คือการสร้างภาพที่ชัดเจนขึ้นในใจก่อนเสมอ
•มนุษย์มีสิ่งล้ำค่าอย่างหนึ่งนั่นคือ "สติสัมปชัญญะ" ที่คอยควบคุมดูแลอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดไปถึงความคิด
•ความคิด ส่งผลต่อเซลล์ทุกเซลล์ในทุกระบบของร่างกาย และสามารถส่งผลไปถึงเซลล์ของคนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ในระบบประสาท ดังนั้น จงพยายามคิดบวกอยู่เสมอ
•การ "ให้" คือการเพิ่ม ให้บวก..บวกในตัวคุณก็จะเพิ่ม ให้ลบ ลบในตัวคุณก็จะเพิ่ม เช่น ยิ่งให้ยิ่งเก่ง ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งเรียนยิ่งฉลาด ยิ่งบริจาคยิ่งรวย
•จักรวาลมีคลื่นความถี่ ตัวเราเปรียบเสมือนจอรับภาพ ถ้าต้องการภาพชีวิตแบบไหน ก็เพียงแต่ปรับความถี่ของจอรับภาพให้ตรงกับคลื่นความถี่ของจักรวาล
•จิตใต้สำนึก คือฐานข้อมูลของความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นซ้ำกันบ่อยๆจนตกตะกอนแล้ว
•เมื่อเราฝึกคิดบวกจนเป็นนิสัย จิตใต้สำนึกก็จะบันดาลให้สิ่งที่เราคิดเกิดขึ้นจริง แล้วจะพบว่าสิ่งดีๆเข้ามาสู่ชีวิตเรามากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
•จิตใต้สำนึกทำงานแม้ในขณะหลับ ดังนั้น ในแต่ละวันควรระลึกถึงสิ่งดีๆที่ได้ทำลงไปก่อนล้มตัวลงนอน เพื่อจะได้ตื่นเช้าวันใหม่ด้วยความสดชื่น สมองแจ่มใส
•จิตใต้สำนึกมีพลังอำนาจมากว่าจิตสำนึกหลายหมื่นหลายแสนเท่า การทำงานของจิตใต้สำนึกอยู่เหนือมิติที่สี่
•จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่เราสั่งสมไว้ในภวังคจิตมานานหลายภพหลายชาติ รวมทั้งชาติปัจจุบัน จึงทำให้เรามีพื้นฐานจิต อุปนิสัย หรือจริตที่แตกต่างจากคนอื่น ตามประสบการณ์ที่เราสั่งสมมา
•ทุกครั้งที่ทำความดี จงจดจำความรู้สึกดีดีนั้นไว้ ให้ประทับอยู่ในใจเรา สิ่งนี้จะเป็นพลังให้เรามีกำลังใจที่จะทำความดีอยู่อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญกว่านั้น พลังนี้จะดึงดูดสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในชีวิตเราอย่างน่าอัศจรรย์
•กฎลับ 4ข้อ หนึ่ง.. ตั้งจิตอธิษฐานขอโดยปราศจากความอยาก เพื่อป้องกันความกระวนกระวาย
สอง.. มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราขอว่าเป็นจริงได้โดยไม่มีข้อลังเลสงสัย
สาม..จินตนาการภาพแห่งความรู้สึกว่าสิ่งนั้นได้มาแล้วด้วยความรู้สึกปรีดาและมีความสุข
สี่..เตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ
•อย่าอธิษฐานขอที่เป้าหมาย แต่ให้ขอสิ่งที่ จะทำไปให้ถึงเป้าหมายแทน เช่นขอให้มีพลังแรงกายแรงใจ มีสติปัญญาให้ไปถึงเป้าหมายนั้น เป็นต้น
•ความกลัวเป็นตัวขัดขวางศักยภาพของจิตอย่างรุนแรง ทำลายสุขภาพทั้งกายและใจ
•ความกลัวจัดเป็นความคิดด้านลบ เมื่อกลัวบ่อยๆ จิตใต้สำนึกจะบันทึกภาพนั้น แล้วเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นจริง
•เมื่อใดเรามีสติ ความคิดลบที่เกิดขึ้นในสมองจะไม่มีทางหลุดฝังลงไปในจิตใต้สำนึกได้
•เผชิญกับคนคิดลบ ต้องสร้างพลังบวกให้มากๆ(คบคนพาล พาลพาไปหาผิด)..แต่ยิ่งคบคนที่คิดบวก.บวกในตัวเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น(คบ บัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล)
•ถ้าเราคิดดี..สิ่งดีๆจะเข้ามาในชีวิต ถ้าเราคิดลบ สิ่งที่ไม่ดีก็จะเข้ามาในชีวิต
•เมื่อชีวิตพบกับอุปสรรค จงคิดบวก มองวิกฤตเป็นโอกาส เราก็จะมีพลังด้านบวกเพิ่มขึ้น มีความหวังและนั่นก็หมายถึงสิ่งดีๆ.ก็จะเข้ามาในชีวิตต่อไป
•การหัวเราะ จะทำให้คลื่นรังสีออร่ารอบๆตัวเป็นสีสดใส คลื่นบวกของสิ่งแวดล้อมจะมาออรอบๆตัวเรา เสียงหัวเราะมีพลังดึงดูดสูงมาก และมันสามารถดึงพลังคลื่นบวกแห่งจักรวาลเข้ามาสู่ตัวเรา
•ความรู้สึก "พอ" จะทำให้ชีวิตมีความสุข และเกิดความรู้สึกอยากแบ่งปันให้ผู้อื่น ความรู้สึกนี้จะเป็นพลังดึงดูดที่ทรงอานุภาพและเป็นทางลัดที่ง่ายที่สุดใน การที่จะนำความมั่งคั่งมาสู่ตัวเรา
•จงแผ่เมตตาให้ทุกสรรพสิ่ง เพราะมีการทดลองพบว่ามีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพุ่งออกมาจากร่างกายขณะทีแผ่เมตตา
•จงมีสติทุกครั้งที่รลึกและรู้สึกตัว ให้เข้าไปดูความรู้สึกและปรับให้เป็นบวกเสมอ
•ความรู้สึกเป็นกรรมเก่า ความคิดคือกรรมปัจจุบัน การจะตัดความรู้สึกต้องระดมพลังความคิดบวกให้เข้มข้น แล้วบีบอัด จนกลายเป็นความรู้สึกเชิงบวก จึงจะสามารถนำไปตัดความรู้สึกลบได้ (ระงับได้ด้วยการเจริญสติ)
•หมั่นใช้ปัญญาวิเคราะห์ความรู้สึก ว่าจะเหนี่ยวนำให้ความคิดเป็นบวกหรือลบ
•การคิดลบจะเกิดเป็นความรู้สึกฝังอยู่ในจิต เป็นกรรมติดตัว แต่ถ้าคิดบวก ก็จะเป็นการสกัดไม่ให้กรรมใหม่เกิดขึ้นอีก
•จงคิดบวกเสมอไม่ว่าสถานการณ์ใด คิดแต่สิ่งดีๆทำแต่สิ่งดีๆแล้วจิตใต้สำนึกจะดึงดูดสิ่งที่ดีๆเหมือนกันเข้ามา ชีวิตเราก็จะไปสู่สิ่งที่ดี
•สิ่งที่สกัดกิเลสตัณหาได้มีเพียงสิ่งเดียวคือ "สติสัมปชัญญะ" เพราะเป็นตัวเฝ้าทวารทั้งขาเข้าและออก
•ในที่สุดเราก็จะรู้ว่าทุกสิ่งแม้แต่ความรู้สึกก็ไม่มีอยู่จริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เหมือนฟองสบู่ที่เกิดดับภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ถ้าคิดจะใช้ความรู้จากเดอะ ท็อปซีเคร็ทเพียงข้อเดียว จงเลือกใช้การฝึกสติสัมปชัญญะทุกขณะจิตที่เราระลึกได้จนกลายเป็นวิถีชีวิตของเรา
ถึงตอนนี้บอกได้อย่างเดียวว่า..ดีใจมากที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา และได้รู้ถึงความเป็นอัจฉริยะของพระพุทธเจ้า..ที่ไม่มีใครเทียบได้เลย
******************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
แท้จริงแล้วกฏ 80/20 คืออะไร
แท้จริงแล้วกฎ 80/20 คืออะไร?
มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนหนึ่งคงจะเคยได้ยินหรือ รับทราบเกี่ยวกับ หลักการ 80/20 หรือที่เรียกกันว่า Pareto Principle หรือ หลักการของพาเรโต (บางแห่งเรียก 80-20 หรือ Vital Few หรือ principle of factor sparsity) กันมาบ้างนะครับ โดยหลักคิดกว้างๆ ของกฎ 80/20 ก็คือ ร้อยละ 80 ของปัญหา มักจะมาจากสาเหตุเพียงแค่ร้อยละ 20 เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงพอจะทราบหลักทั่วๆ ไป แต่ยังไม่ทราบที่มาที่ไป รวมทั้งเบื้องหลัง และประโยชน์ ซึ่งผมจะขอนำมาเสนอในสัปดาห์นี้ครับ
หลักการนี้ตั้งชื่อตาม Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ซึ่ง Pareto เขาตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ร้อยละ 80 ของความมั่งคั่งในประเทศอิตาลี ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งที่มีเพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งคนทั่วๆ ไป ก็มักจะนึกว่า หลังจากที่ Pareto ได้ตั้งข้อสังเกตนี้ขึ้นมาก็บัญญัติเป็นกฎแล้วตั้งชื่อตามเขา แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่นำข้อสังเกตของ Pareto มาคิดเป็นรูปธรรมและตั้งเป็นกฎขึ้นมากลับเป็น Joseph Juran ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตำรับด้านคุณภาพในปัจจุบัน
ซึ่งก็มีเรื่องเล่ากึ่งๆ แซวว่า จริงๆ จะเรียกเป็น Juran’s Assumption หรือสมมติฐานของ Juran ก็ได้ เพียงแต่ฟังดูไม่ค่อยเพราะ ก็เลยใช้เป็น Pareto Principle แทน อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2003 ก็ได้มีความพยายามจาก American Society for Quality ในการเปลี่ยนชื่อหลักการนี้ให้เป็น Juran Principle เพื่อเป็นเกียรติแก่ Joseph Juran แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สำเร็จนะครับ
แนวคิดในเรื่องของ 80/20 นั้น ดูเหมือนจะเป็นหลักสากลที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากครับ แต่ก็ยังเจอที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ เหมือนกันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข 80 และ 20 ที่พอนำมาตั้งเป็นกฎแล้ว เราก็มักจะไปยึดติดกับตัวเลขสองตัวเลขนี้ ทำให้ในสถานการณ์ต่างๆ เราพยายามหาเจ้าตัวร้อยละ 80 และร้อยละ 20 ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวเลขไม่จำเป็นต้องเป็น 80 และ 20 ก็ได้ครับ เช่น ร้อยละ 80 ของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากร้อยละ 10 ของความพยายาม (ซึ่งก็จะกลายเป็นกฎ 80/10 ไป) หรืออาจจะเป็น 90/10 ก็ได้
ดังนั้น เวลาเรานำกฎนี้ไปใช้ เขาไม่ต้องการให้ไปยึดติดที่ตัวเลขทั้งสองตัว และไม่จำเป็นที่จะต้องรวมกันแล้วเท่ากับร้อย เพียงแต่กฎนี้เป็นแนวทางหรือกรอบให้เราคิดได้มากกว่าครับ
จริงๆ แล้ว ตอนที่ Juran คิดเรื่องกฎ 80/20 นั้น ก็เพื่อแยกสิ่งที่เขาเรียกว่า Vital Few หรือสิ่งที่มีความสำคัญเพียงไม่กี่ประการ ออกจาก Useful Many เพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ท่านผู้อ่านลองนึกดูอย่างง่ายๆ นะครับว่า เมื่อท่านมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ลูกค้าเริ่มไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของท่าน ท่านก็อาจจะประชุมผู้บริหารเพื่อระดมสมอง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของท่าน โดยท่านอาจจะหาสาเหตุมาได้เยอะแยะเต็มไปหมด (สมมติสิบกว่าข้อ) แต่ประเด็นที่สำคัญ คือไม่ใช่ว่าสาเหตุทั้งสิบกว่าข้อ จะมีความสำคัญหรือส่งผลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น (ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า)
ดังนั้น ท่านผู้อ่านก็จะต้องใช้หลักการ 80/20 หรือ Pareto Principle มาเพื่อช่วยหาว่าจริงๆ แล้วอะไรคือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญจริงๆ เพียงแค่ 2-3 ข้อก็ได้ (สาเหตุส่วนน้อย ที่นำไปสู่ปัญหาส่วนใหญ่)
หลักการนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั่วๆ ไปเลยครับ ตัวอย่างที่ผมมักจะใช้ตอนสอนหนังสือนิสิตที่จุฬาฯ คือการดูหนังสือสอบ หรือการทำรายงานครับ ท่านผู้อ่านอาจจะลองสังเกตตัวท่านเองในอดีตก็ได้ครับ นิสิตส่วนใหญ่มีเวลาในการดูหนังสือ สิบกว่าสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่แล้วหนังสือที่ได้ดูจะใช้เฉพาะช่วงเวลา ประมาณสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบเท่านั้น (เช่นในช่วงนี้เป็นต้น)
ประโยชน์ของ Pareto Principle คือช่วยทำให้พวกเราได้มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆ เพียงไม่กี่อย่าง พูดง่ายๆ คือในสิ่งที่เราในแต่ละวันนั้น อาจจะมีสิ่งที่ทำเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่มีประโยชน์หรือมีค่าต่อความ สำเร็จจริงๆ ดังนั้น เราคงจะต้องหาให้ได้ครับว่าในการทำงานชิ้นหนึ่งๆ อะไรคือส่วนที่เป็นส่วนน้อย แต่ส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จส่วนใหญ่ และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นส่วนน้อยแต่สำคัญ (Vital Few) เป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่อาจจะละเลยได้
หลักการของ Pareto สามารถนำมาปรับใช้ได้ในหลายๆ สถานการณ์นะครับ ท่านผู้อ่านลองถามตนเองในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ซิครับ สมมติท่านผู้อ่านมีลูกค้าอยู่ 100 ราย เคยสำรวจหรือเก็บข้อมูลไหมครับว่า กลุ่มที่ทำรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่ให้กับบริษัทนั้นเป็นกลุ่มไหน อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่รายหรือเพียงแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น เช่นเดียวกัน ถ้าท่านผู้อ่านมีผลิตภัณฑ์อยู่หลายชนิด อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่
นอกจากเรื่องของยอดขายและรายได้แล้ว ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกนะครับ เช่น การตัดสินใจที่สำคัญ จะเกิดจากเวลาที่ใช้ในการประชุมเพียงแค่ร้อยละ 20 หรือส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารจะถูกรบกวน จากคนเพียงแค่ส่วนน้อยเพียงไม่กี่คน หรือกลุ่ม หรือข้อร้องเรียนของลูกค้าส่วนใหญ่ จะมาจากปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ ซากๆ อย่างไรก็ดี ท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมนะครับว่า เราอย่าไปยึดติดกับตัวเลข 80 หรือ 20 ผมมองว่าตัวเลขทั้งสองตัวเลขเ ป็นเหมือนตัวเลขที่อุปมาขึ้นมา ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันตัวเลขย่อมไม่เท่ากัน
หลักการของ Pareto เป็นหลักการง่ายๆ แต่สามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ดีนะครับ โดยเราจะต้องหาเจ้า 20% ให้เจอ และให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เหมือนกับที่ผมนั่งเขียนบทความนี้เหมือนกันครับ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกินเวลากว่าสี่ชั่วโมง แต่ปรากฏว่าเวลาที่นั่งพิมพ์จริงๆ ใช้เพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น
มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนหนึ่งคงจะเคยได้ยินหรือ รับทราบเกี่ยวกับ หลักการ 80/20 หรือที่เรียกกันว่า Pareto Principle หรือ หลักการของพาเรโต (บางแห่งเรียก 80-20 หรือ Vital Few หรือ principle of factor sparsity) กันมาบ้างนะครับ โดยหลักคิดกว้างๆ ของกฎ 80/20 ก็คือ ร้อยละ 80 ของปัญหา มักจะมาจากสาเหตุเพียงแค่ร้อยละ 20 เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงพอจะทราบหลักทั่วๆ ไป แต่ยังไม่ทราบที่มาที่ไป รวมทั้งเบื้องหลัง และประโยชน์ ซึ่งผมจะขอนำมาเสนอในสัปดาห์นี้ครับ
หลักการนี้ตั้งชื่อตาม Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ซึ่ง Pareto เขาตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ร้อยละ 80 ของความมั่งคั่งในประเทศอิตาลี ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งที่มีเพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งคนทั่วๆ ไป ก็มักจะนึกว่า หลังจากที่ Pareto ได้ตั้งข้อสังเกตนี้ขึ้นมาก็บัญญัติเป็นกฎแล้วตั้งชื่อตามเขา แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่นำข้อสังเกตของ Pareto มาคิดเป็นรูปธรรมและตั้งเป็นกฎขึ้นมากลับเป็น Joseph Juran ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตำรับด้านคุณภาพในปัจจุบัน
ซึ่งก็มีเรื่องเล่ากึ่งๆ แซวว่า จริงๆ จะเรียกเป็น Juran’s Assumption หรือสมมติฐานของ Juran ก็ได้ เพียงแต่ฟังดูไม่ค่อยเพราะ ก็เลยใช้เป็น Pareto Principle แทน อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2003 ก็ได้มีความพยายามจาก American Society for Quality ในการเปลี่ยนชื่อหลักการนี้ให้เป็น Juran Principle เพื่อเป็นเกียรติแก่ Joseph Juran แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่สำเร็จนะครับ
แนวคิดในเรื่องของ 80/20 นั้น ดูเหมือนจะเป็นหลักสากลที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากครับ แต่ก็ยังเจอที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ เหมือนกันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข 80 และ 20 ที่พอนำมาตั้งเป็นกฎแล้ว เราก็มักจะไปยึดติดกับตัวเลขสองตัวเลขนี้ ทำให้ในสถานการณ์ต่างๆ เราพยายามหาเจ้าตัวร้อยละ 80 และร้อยละ 20 ให้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสถานการณ์ต่างๆ ตัวเลขไม่จำเป็นต้องเป็น 80 และ 20 ก็ได้ครับ เช่น ร้อยละ 80 ของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากร้อยละ 10 ของความพยายาม (ซึ่งก็จะกลายเป็นกฎ 80/10 ไป) หรืออาจจะเป็น 90/10 ก็ได้
ดังนั้น เวลาเรานำกฎนี้ไปใช้ เขาไม่ต้องการให้ไปยึดติดที่ตัวเลขทั้งสองตัว และไม่จำเป็นที่จะต้องรวมกันแล้วเท่ากับร้อย เพียงแต่กฎนี้เป็นแนวทางหรือกรอบให้เราคิดได้มากกว่าครับ
จริงๆ แล้ว ตอนที่ Juran คิดเรื่องกฎ 80/20 นั้น ก็เพื่อแยกสิ่งที่เขาเรียกว่า Vital Few หรือสิ่งที่มีความสำคัญเพียงไม่กี่ประการ ออกจาก Useful Many เพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ท่านผู้อ่านลองนึกดูอย่างง่ายๆ นะครับว่า เมื่อท่านมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ลูกค้าเริ่มไม่ซื้อสินค้าหรือบริการของท่าน ท่านก็อาจจะประชุมผู้บริหารเพื่อระดมสมอง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของท่าน โดยท่านอาจจะหาสาเหตุมาได้เยอะแยะเต็มไปหมด (สมมติสิบกว่าข้อ) แต่ประเด็นที่สำคัญ คือไม่ใช่ว่าสาเหตุทั้งสิบกว่าข้อ จะมีความสำคัญหรือส่งผลต่อปัญหาที่เกิดขึ้น (ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า)
ดังนั้น ท่านผู้อ่านก็จะต้องใช้หลักการ 80/20 หรือ Pareto Principle มาเพื่อช่วยหาว่าจริงๆ แล้วอะไรคือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญจริงๆ เพียงแค่ 2-3 ข้อก็ได้ (สาเหตุส่วนน้อย ที่นำไปสู่ปัญหาส่วนใหญ่)
หลักการนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั่วๆ ไปเลยครับ ตัวอย่างที่ผมมักจะใช้ตอนสอนหนังสือนิสิตที่จุฬาฯ คือการดูหนังสือสอบ หรือการทำรายงานครับ ท่านผู้อ่านอาจจะลองสังเกตตัวท่านเองในอดีตก็ได้ครับ นิสิตส่วนใหญ่มีเวลาในการดูหนังสือ สิบกว่าสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่แล้วหนังสือที่ได้ดูจะใช้เฉพาะช่วงเวลา ประมาณสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบเท่านั้น (เช่นในช่วงนี้เป็นต้น)
ประโยชน์ของ Pareto Principle คือช่วยทำให้พวกเราได้มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆ เพียงไม่กี่อย่าง พูดง่ายๆ คือในสิ่งที่เราในแต่ละวันนั้น อาจจะมีสิ่งที่ทำเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่มีประโยชน์หรือมีค่าต่อความ สำเร็จจริงๆ ดังนั้น เราคงจะต้องหาให้ได้ครับว่าในการทำงานชิ้นหนึ่งๆ อะไรคือส่วนที่เป็นส่วนน้อย แต่ส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จส่วนใหญ่ และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นส่วนน้อยแต่สำคัญ (Vital Few) เป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่อาจจะละเลยได้
หลักการของ Pareto สามารถนำมาปรับใช้ได้ในหลายๆ สถานการณ์นะครับ ท่านผู้อ่านลองถามตนเองในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ซิครับ สมมติท่านผู้อ่านมีลูกค้าอยู่ 100 ราย เคยสำรวจหรือเก็บข้อมูลไหมครับว่า กลุ่มที่ทำรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่ให้กับบริษัทนั้นเป็นกลุ่มไหน อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่รายหรือเพียงแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น เช่นเดียวกัน ถ้าท่านผู้อ่านมีผลิตภัณฑ์อยู่หลายชนิด อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรส่วนใหญ่
นอกจากเรื่องของยอดขายและรายได้แล้ว ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกนะครับ เช่น การตัดสินใจที่สำคัญ จะเกิดจากเวลาที่ใช้ในการประชุมเพียงแค่ร้อยละ 20 หรือส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารจะถูกรบกวน จากคนเพียงแค่ส่วนน้อยเพียงไม่กี่คน หรือกลุ่ม หรือข้อร้องเรียนของลูกค้าส่วนใหญ่ จะมาจากปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ ซากๆ อย่างไรก็ดี ท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมนะครับว่า เราอย่าไปยึดติดกับตัวเลข 80 หรือ 20 ผมมองว่าตัวเลขทั้งสองตัวเลขเ ป็นเหมือนตัวเลขที่อุปมาขึ้นมา ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันตัวเลขย่อมไม่เท่ากัน
หลักการของ Pareto เป็นหลักการง่ายๆ แต่สามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ดีนะครับ โดยเราจะต้องหาเจ้า 20% ให้เจอ และให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เหมือนกับที่ผมนั่งเขียนบทความนี้เหมือนกันครับ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกินเวลากว่าสี่ชั่วโมง แต่ปรากฏว่าเวลาที่นั่งพิมพ์จริงๆ ใช้เพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
งานปริญญาเอก
ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ข้อแตก ต่างที่สามารถจะบ่งบอกระดับหัวข้อวิจัยระหว่างปริญญาโทและปริญญาเอกได้อย่าง ชัดเจนก็คือ
1. ระดับความยาก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกมักจะเป็นงานวิจัยที่มีกระบวนวิธีในการวิจัย (Research Methodology) ในระดับสูงใช้วิธีการวิจัยที่ยุ่งยากและซับซ้อน เป็นวิธีการที่ไม่ใช้ในงานวิจัยระดับปริญญาโทอันเป็นวิธี การทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น ระดับปริญญาเอกไม่ทำสำรวจธรรมดาหรือไม่ทำการทดลองสองกลุ่มเล็ก ๆ แต่จะเป็นวิธีการวิจัยประเภท วิจัยนโยบาย วิจัยอนาคตภาพ วิจัยเชิงสาเหตุ วิจัยเมต้า วิจัยความสัมพันธ์หลายชั้นวิจัยเชิงทดลองหลายกลุ่มร่วมกัน หรือวิธีการวิจัยมีมากกว่า 1 วิธีในงานวิจัยเดียวเช่น การ ทำ Delphi แล้วนำไปพัฒนาเป็นโมเดล การทำวิจัยด้วยวิธีวิจัยหนึ่งแล้วนำไปพัฒนาด้วยอีกวิธีการหนึ่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วนำไปวิเคราะห์จำแนกอีกชั้นหนึ่ง การวิจัยแบบส่วนร่วม (PAR) แล้วนำเอาไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่และสถิติที่ใช้ในการวิจัยก็มักจะเป็นสถิติระดับสูงที่ยากและซับซ้อน มาก เช่น Factor Analysis, Canonical, Path Analysis, ANCOVA, MANOVA ฯลฯ
ข้อโต้ แย้งของนักศึกษาปริญญาโท บางสาขาที่เรียนวิธีการวิจัยและสถิติอาจจะบอกว่า วิธีการวิจัยและการใช้สถิติของเขาก็ยากเช่นกันจึงควรจะเทียบเท่ากับปริญญา เอก ซึ่งข้อโต้แย้งดังกล่าวก็โต้แย้งได้ถูกต้องและมีเหตุผล เพราะความยากของวิธีวิจัยบางสาขาก็ต้องยกย่องว่ายากยิ่ง บางสาขาเชิงวิศวกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ก็ยากยิ่งที่จะเข้าใจได้เหมือนกัน ก็จะมีคำตอบในระดับต่อไป
2. ระดับความใหญ่ หมายถึง ระดับของงานวิจัยปริญญาเอกจะเป็นงานวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา หรือการสร้างองค์ความรู้ในระดับชาติ หรือระดับสากล การได้มาของข้อมูลเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก หรือกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มาก การเก็บข้อมูลใช้ เวลานาน การสร้างเครื่องมือวิจัยมีมากมายหลายชุดครอบคลุมทุกประเด็นทุกปัจจัย ที่ต้องการศึกษา วิธีการวิจัยก็จะเป็นในเชิงนโยบายของชาติใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร (Document Research)แนว วิจัยเชิงนโยบา(Policy Research)
เกี่ยวพันกับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ยากยิ่งจะได้ข้อมูล การวิเคราะห์ที่ลงรายละเอียดรอบด้านและการสังเคราะห์ที่ต้องครอบคลุม ทุกประเด็นในศาสตร์ กว้างใหญ่และมโหฬารงานสร้างหรือมหาศาลด้วยข้อมูล แต่ หนักแน่นด้วยข้อมูลหลักฐานไม่กว้างใหญ่ไร้จุดหมาย หาจุดจบไม่เจอ คิดนอกกรอบจนออกไปนอกประเด็น หรือออกไปนอกสาขากู่ไม่กลับ ไร้สาระและจับประเด็นสำคัญไม่ได้ระดับความใหญ่ของงานวิจัยปริญญาเอก จึงใหญ่ด้วยสาระของงาน ไม่ใช่เย็บเล่มวิทยานิพนธ์ หนามากเป็นพิเศษ
3. ระดับความลึก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกที่มีความมุ่งหมายเจาะจงเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงเรื่องเดียว มุ่งที่จะเขียนองค์ความรู้ใหม่ หลักการใหม่หรือทฤษฎีใหม่ มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นน้อยมาก หรือยังหาผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นอย่างแท้จริงไม่ได้ เป็นการเจาะลึกลงไปในศาสตร์ที่ในอดีตหาคำตอบไม่ได้มาก่อน หรือคำตอบที่ได้ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน จำเป็นที่จะต้องเจาะลึกลงไปเพื่อให้พบความกระจ่างแท้จริงในเรื่อง นั้น ผลที่ได้ของการวิจัยเชิงลึกก็คือ ทฤษฎี หลักการ สูตร การแก้ปัญหา การพัฒนาที่สำเร็จเสร็จสิ้น การได้องค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีใครค้นพบ การค้นพบที่หักล้างทฤษฎีหรือหลักการเดิม ฯลฯ ผู้วิจัยก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นในระดับชาติหรือสากล ซึ่งหาผู้ที่จะเทียบได้น้อยหรือหาได้ยากยิ่ง การ วิจัยเชิงลึกเป็นการสร้างนักวิจัยที่มีวิธีการคิดลึกซึ้ง เต็มไปด้วยจินตนาการ มองทุกอย่างครอบคลุมและรอบด้าน ละเอียดรอบคอบและคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี มักเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ไม่มุ่งเน้นไปที่สถิติยากแต่เน้นการลงลึกในรายละเอียดโดยการได้มา ซึ่งความรู้หรือทฤษฎีอยู่ในขั้นยาก อาจเป็นงานระดับชาติหรืองานระดับสากล หรือ อาจเป็นงานในระดับเล็กแต่จะเป็นพื้นฐานสำคัญหรือรากเหง้าของศาสตร์ในอนาคต ได้
มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทย
เมื่อพิจารณาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทยตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ (2548) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระบบ บัณฑิตศึกษาของไทย จะแยกระดับงานวิจัยออกเป็นระดับ ที่มีหน่วยกิตแตกต่างกันในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เมื่อเปรียบเทียบตามระดับหน่วยกิตก็ได้เป็นระดับ 6 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 48 - 72 หน่วยกิต ได้แก่
ภาคนิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ 3-6 หน่วย กิต
บัณฑิตศึกษาหลายแห่งกำหนดโครงสร้างหลักสูตรปริญญาโทเป็นแบบที่เรียกกันว่า แผนข
คือ ทำการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิตบ้างหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิตและให้เรียนวิชาเพิ่มเติมอีก 2 วิชา การค้นคว้าอิสระหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิต เป็นการทำภาคนิพนธ์โดยนักศึกษาซึ่งเหมือนกับการฝึกทำงานวิจัย เป็นรายวิชาที่เน้นฝึกกระบวนการวิจัย โดยมี อาจารย์ควบคุมเพียงคนเดียวและมีกรรมการสอบ 3 คน เป็นการทำวิจัยครบ 5 บท กรอบวิธีการวิจัยขนาดเล็กเน้น เพียงกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง มักทำให้หน่วยงานหรือองค์กร ไม่สามารถนำมาอ้างอิงหรือยอมรับเป็นหลักการและทฤษฎีใด ๆ ได้ เป็นงานที่ฝึกกระบวนการให้ครบถ้วนและรู้จักวิธีการทำวิจัย ปัญหาของนักศึกษาก็คือ หลายคนสับสนและขาดความเชื่อมั่น เมื่อจบไปไม่พร้อมเป็นนักวิจัยและเมื่อศึกษาต่อปริญญาเอกบางแห่งก็ขอให้นักศึกษาเรียนปรับพื้นฐาน การวิจัยหรือให้มีผลงานวิจัยจริงเพื่อมาสมัครสอบ ขณะเดียวกันรายวิชาวิทยานิพนธ์บางแห่ง 6 หน่วยกิต แต่ก็มีกระบวนการและขั้นตอนการ วิจัยเต็มกระบวนการวิจัย
มีการสอบและขั้นตอนเข้ม ข้นเท่ากับงานวิจัยขนาด 12 หน่วยกิต ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นหลักการและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี จึงต้องพิจารณางานวิจัยจากเนื้อหามากกว่าพิจารณาหน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต (Thesis) เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานบัณฑิตศึกษาที่งานวิจัยระดับปริญญาโทจะต้องมีถึง 12 หน่วยกิต เพื่อให้เวลากับนักศึกษาได้ทำการค้นคว้าอย่างเพียงพอและมีขอบเขตงาน ที่กว้างขวาง ลุ่มลึกและซับซ้อนสมกับความเป็นมหาบัณฑิต ซึ่ง หลายสถาบันกำหนดขนาดของงานวิจัยระดับปริญญาโทที่ 12 หน่วยกิต อาจแยกเป็นหน่วยกิตลงหลายภาคเรียนหรืออาจลงทะเบียนครั้งเดียวเมื่อ สามารถทำวิจัยได้สำเร็จก่อนกำหนด งานวิจัยระดับนี้จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน และมีกรรมการสอบ 3-5 คน และมีอาจารย์จากภายนอกสถาบันมาร่วมพิจารณาผลการวิจัยด้วยหรือเป็นประธานในการสอบ เพื่อควบคุมคุณภาพในการวิจัย ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48 หน่วย กิต (Dissertation) แต่เดิม วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกบางแห่งจะกำหนด 36 หน่วยกิต ต่อมาได้ปรับเป็น 48 หน่วยกิต ตามข้อกำหนดมาตรฐานบัณฑิตศึกษาสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาเอก สำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโทและต้องมีการเรียนการสอนวิชาชั้นสูงเพิ่ม เติม เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เวลาความมานะอุตสาหะ กระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ในการบ่มเพาะนักวิจัยระดับสูงให้ทำงานวิจัยในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานระดับต่าง ๆ มากมาย
สร้างนักวิชาการชั้นสูงที่ลุ่มลึกในศาสตร์การวิจัย แม่นยำในระเบียบวิธีการวิจัย ชัดแจ้งและรอบรู้ในสิ่งที่ศึกษา การแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางวิชาการด้วยความมั่นใจและเชื่อมั่น ในวิถีที่ถูกต้องเพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตผู้มี คุณธรรมและจริยธรรม เป็นปราชญ์อย่างแท้จริงจำเป็นต้องให้หน่วยกิตมากและยากจะสำเร็จใน เวลาอันสั้น ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คน มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณาวิทยา นิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัย
ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48-60 หน่วยกิต เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานสำหรับผู้ศึกษาระดับปริญญาเอก ประเภทที่ไม่มีการเรียนการสอนเพิ่มเติม แต่เน้นการทำวิจัยเพียงอย่างเดียวโดยการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ เริ่มต้นศึกษา เป็นการวิจับที่ถือว่าผู้ศึกษาเป็น นักวิจัยมืออาชีพ เคยทำวิจัยในระดับปริญญาโทหรือเป็นนักวิจัยที่มีผลงานมาโดยตลอดหลัง สำเร็จมหาบัณฑิต ไม่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก มีประสบการณ์มามากและทำงานในหน่วยงานขนาดใหญ่หรือระดับชาติอยู่แล้ว มีผลงานเชิงประจักษ์ที่นำเสนอในการประชุมหรือสัมมนาระดับชาติหรือ ระดับนานาชาติสม่ำเสมอจึงทำวิจัยเพียงอย่างเดียว โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คนอย่างใกล้ชิด มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณา วิทยานิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัยเช่นเดียวกับระบบปกติระดับงานวิจัยขนาด 48-60 หน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต สำหรับผู้ที่เรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถยอดเยี่ยมหรือโดดเด่น เช่น สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็สามารถเรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอกได้
คำตอบของความแตกต่างระหว่างงาน วิจัยระดับปริญญาโทกับระดับปริญญาเอก
เมื่อต้องตอบคำถามถึงแตกต่างระหว่างงานวิจัยระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอก ย่อมมีอย่างแน่นอน ขอตอบแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ ความยาก ความใหญ่ และความลึก
ความยาก คือ วิธีการวิจัย + สถิติ + การได้มาของข้อมูล
ความใหญ่ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ
ความลึก คือ หลักการ ทฤษฎี ความรู้ใหม่ อ้างอิงได้
ข้อแตก ต่างที่สามารถจะบ่งบอกระดับหัวข้อวิจัยระหว่างปริญญาโทและปริญญาเอกได้อย่าง ชัดเจนก็คือ
1. ระดับความยาก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกมักจะเป็นงานวิจัยที่มีกระบวนวิธีในการวิจัย (Research Methodology) ในระดับสูงใช้วิธีการวิจัยที่ยุ่งยากและซับซ้อน เป็นวิธีการที่ไม่ใช้ในงานวิจัยระดับปริญญาโทอันเป็นวิธี การทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น ระดับปริญญาเอกไม่ทำสำรวจธรรมดาหรือไม่ทำการทดลองสองกลุ่มเล็ก ๆ แต่จะเป็นวิธีการวิจัยประเภท วิจัยนโยบาย วิจัยอนาคตภาพ วิจัยเชิงสาเหตุ วิจัยเมต้า วิจัยความสัมพันธ์หลายชั้นวิจัยเชิงทดลองหลายกลุ่มร่วมกัน หรือวิธีการวิจัยมีมากกว่า 1 วิธีในงานวิจัยเดียวเช่น การ ทำ Delphi แล้วนำไปพัฒนาเป็นโมเดล การทำวิจัยด้วยวิธีวิจัยหนึ่งแล้วนำไปพัฒนาด้วยอีกวิธีการหนึ่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วนำไปวิเคราะห์จำแนกอีกชั้นหนึ่ง การวิจัยแบบส่วนร่วม (PAR) แล้วนำเอาไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่และสถิติที่ใช้ในการวิจัยก็มักจะเป็นสถิติระดับสูงที่ยากและซับซ้อน มาก เช่น Factor Analysis, Canonical, Path Analysis, ANCOVA, MANOVA ฯลฯ
ข้อโต้ แย้งของนักศึกษาปริญญาโท บางสาขาที่เรียนวิธีการวิจัยและสถิติอาจจะบอกว่า วิธีการวิจัยและการใช้สถิติของเขาก็ยากเช่นกันจึงควรจะเทียบเท่ากับปริญญา เอก ซึ่งข้อโต้แย้งดังกล่าวก็โต้แย้งได้ถูกต้องและมีเหตุผล เพราะความยากของวิธีวิจัยบางสาขาก็ต้องยกย่องว่ายากยิ่ง บางสาขาเชิงวิศวกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ก็ยากยิ่งที่จะเข้าใจได้เหมือนกัน ก็จะมีคำตอบในระดับต่อไป
2. ระดับความใหญ่ หมายถึง ระดับของงานวิจัยปริญญาเอกจะเป็นงานวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา หรือการสร้างองค์ความรู้ในระดับชาติ หรือระดับสากล การได้มาของข้อมูลเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก หรือกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มาก การเก็บข้อมูลใช้ เวลานาน การสร้างเครื่องมือวิจัยมีมากมายหลายชุดครอบคลุมทุกประเด็นทุกปัจจัย ที่ต้องการศึกษา วิธีการวิจัยก็จะเป็นในเชิงนโยบายของชาติใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร (Document Research)แนว วิจัยเชิงนโยบา(Policy Research)
เกี่ยวพันกับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ยากยิ่งจะได้ข้อมูล การวิเคราะห์ที่ลงรายละเอียดรอบด้านและการสังเคราะห์ที่ต้องครอบคลุม ทุกประเด็นในศาสตร์ กว้างใหญ่และมโหฬารงานสร้างหรือมหาศาลด้วยข้อมูล แต่ หนักแน่นด้วยข้อมูลหลักฐานไม่กว้างใหญ่ไร้จุดหมาย หาจุดจบไม่เจอ คิดนอกกรอบจนออกไปนอกประเด็น หรือออกไปนอกสาขากู่ไม่กลับ ไร้สาระและจับประเด็นสำคัญไม่ได้ระดับความใหญ่ของงานวิจัยปริญญาเอก จึงใหญ่ด้วยสาระของงาน ไม่ใช่เย็บเล่มวิทยานิพนธ์ หนามากเป็นพิเศษ
3. ระดับความลึก หมายถึง งานวิจัยระดับปริญญาเอกที่มีความมุ่งหมายเจาะจงเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงเรื่องเดียว มุ่งที่จะเขียนองค์ความรู้ใหม่ หลักการใหม่หรือทฤษฎีใหม่ มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นน้อยมาก หรือยังหาผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นอย่างแท้จริงไม่ได้ เป็นการเจาะลึกลงไปในศาสตร์ที่ในอดีตหาคำตอบไม่ได้มาก่อน หรือคำตอบที่ได้ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน จำเป็นที่จะต้องเจาะลึกลงไปเพื่อให้พบความกระจ่างแท้จริงในเรื่อง นั้น ผลที่ได้ของการวิจัยเชิงลึกก็คือ ทฤษฎี หลักการ สูตร การแก้ปัญหา การพัฒนาที่สำเร็จเสร็จสิ้น การได้องค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีใครค้นพบ การค้นพบที่หักล้างทฤษฎีหรือหลักการเดิม ฯลฯ ผู้วิจัยก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นในระดับชาติหรือสากล ซึ่งหาผู้ที่จะเทียบได้น้อยหรือหาได้ยากยิ่ง การ วิจัยเชิงลึกเป็นการสร้างนักวิจัยที่มีวิธีการคิดลึกซึ้ง เต็มไปด้วยจินตนาการ มองทุกอย่างครอบคลุมและรอบด้าน ละเอียดรอบคอบและคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี มักเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ไม่มุ่งเน้นไปที่สถิติยากแต่เน้นการลงลึกในรายละเอียดโดยการได้มา ซึ่งความรู้หรือทฤษฎีอยู่ในขั้นยาก อาจเป็นงานระดับชาติหรืองานระดับสากล หรือ อาจเป็นงานในระดับเล็กแต่จะเป็นพื้นฐานสำคัญหรือรากเหง้าของศาสตร์ในอนาคต ได้
มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทย
เมื่อพิจารณาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของไทยตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ (2548) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระบบ บัณฑิตศึกษาของไทย จะแยกระดับงานวิจัยออกเป็นระดับ ที่มีหน่วยกิตแตกต่างกันในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เมื่อเปรียบเทียบตามระดับหน่วยกิตก็ได้เป็นระดับ 6 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 48 - 72 หน่วยกิต ได้แก่
ภาคนิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ 3-6 หน่วย กิต
บัณฑิตศึกษาหลายแห่งกำหนดโครงสร้างหลักสูตรปริญญาโทเป็นแบบที่เรียกกันว่า แผนข
คือ ทำการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิตบ้างหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิตและให้เรียนวิชาเพิ่มเติมอีก 2 วิชา การค้นคว้าอิสระหรือภาคนิพนธ์ขนาด 6 หน่วยกิต เป็นการทำภาคนิพนธ์โดยนักศึกษาซึ่งเหมือนกับการฝึกทำงานวิจัย เป็นรายวิชาที่เน้นฝึกกระบวนการวิจัย โดยมี อาจารย์ควบคุมเพียงคนเดียวและมีกรรมการสอบ 3 คน เป็นการทำวิจัยครบ 5 บท กรอบวิธีการวิจัยขนาดเล็กเน้น เพียงกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง มักทำให้หน่วยงานหรือองค์กร ไม่สามารถนำมาอ้างอิงหรือยอมรับเป็นหลักการและทฤษฎีใด ๆ ได้ เป็นงานที่ฝึกกระบวนการให้ครบถ้วนและรู้จักวิธีการทำวิจัย ปัญหาของนักศึกษาก็คือ หลายคนสับสนและขาดความเชื่อมั่น เมื่อจบไปไม่พร้อมเป็นนักวิจัยและเมื่อศึกษาต่อปริญญาเอกบางแห่งก็ขอให้นักศึกษาเรียนปรับพื้นฐาน การวิจัยหรือให้มีผลงานวิจัยจริงเพื่อมาสมัครสอบ ขณะเดียวกันรายวิชาวิทยานิพนธ์บางแห่ง 6 หน่วยกิต แต่ก็มีกระบวนการและขั้นตอนการ วิจัยเต็มกระบวนการวิจัย
มีการสอบและขั้นตอนเข้ม ข้นเท่ากับงานวิจัยขนาด 12 หน่วยกิต ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นหลักการและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี จึงต้องพิจารณางานวิจัยจากเนื้อหามากกว่าพิจารณาหน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต (Thesis) เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานบัณฑิตศึกษาที่งานวิจัยระดับปริญญาโทจะต้องมีถึง 12 หน่วยกิต เพื่อให้เวลากับนักศึกษาได้ทำการค้นคว้าอย่างเพียงพอและมีขอบเขตงาน ที่กว้างขวาง ลุ่มลึกและซับซ้อนสมกับความเป็นมหาบัณฑิต ซึ่ง หลายสถาบันกำหนดขนาดของงานวิจัยระดับปริญญาโทที่ 12 หน่วยกิต อาจแยกเป็นหน่วยกิตลงหลายภาคเรียนหรืออาจลงทะเบียนครั้งเดียวเมื่อ สามารถทำวิจัยได้สำเร็จก่อนกำหนด งานวิจัยระดับนี้จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน และมีกรรมการสอบ 3-5 คน และมีอาจารย์จากภายนอกสถาบันมาร่วมพิจารณาผลการวิจัยด้วยหรือเป็นประธานในการสอบ เพื่อควบคุมคุณภาพในการวิจัย ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48 หน่วย กิต (Dissertation) แต่เดิม วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกบางแห่งจะกำหนด 36 หน่วยกิต ต่อมาได้ปรับเป็น 48 หน่วยกิต ตามข้อกำหนดมาตรฐานบัณฑิตศึกษาสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาเอก สำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโทและต้องมีการเรียนการสอนวิชาชั้นสูงเพิ่ม เติม เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เวลาความมานะอุตสาหะ กระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ในการบ่มเพาะนักวิจัยระดับสูงให้ทำงานวิจัยในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานระดับต่าง ๆ มากมาย
สร้างนักวิชาการชั้นสูงที่ลุ่มลึกในศาสตร์การวิจัย แม่นยำในระเบียบวิธีการวิจัย ชัดแจ้งและรอบรู้ในสิ่งที่ศึกษา การแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางวิชาการด้วยความมั่นใจและเชื่อมั่น ในวิถีที่ถูกต้องเพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตผู้มี คุณธรรมและจริยธรรม เป็นปราชญ์อย่างแท้จริงจำเป็นต้องให้หน่วยกิตมากและยากจะสำเร็จใน เวลาอันสั้น ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คน มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณาวิทยา นิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัย
ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 48-60 หน่วยกิต เป็นข้อ กำหนดตามมาตรฐานสำหรับผู้ศึกษาระดับปริญญาเอก ประเภทที่ไม่มีการเรียนการสอนเพิ่มเติม แต่เน้นการทำวิจัยเพียงอย่างเดียวโดยการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ เริ่มต้นศึกษา เป็นการวิจับที่ถือว่าผู้ศึกษาเป็น นักวิจัยมืออาชีพ เคยทำวิจัยในระดับปริญญาโทหรือเป็นนักวิจัยที่มีผลงานมาโดยตลอดหลัง สำเร็จมหาบัณฑิต ไม่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก มีประสบการณ์มามากและทำงานในหน่วยงานขนาดใหญ่หรือระดับชาติอยู่แล้ว มีผลงานเชิงประจักษ์ที่นำเสนอในการประชุมหรือสัมมนาระดับชาติหรือ ระดับนานาชาติสม่ำเสมอจึงทำวิจัยเพียงอย่างเดียว โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา 2-3 คนอย่างใกล้ชิด มีกรรมการสอบจากภายนอกเข้ามาเป็นประธานการสอบหรือเป็นกรรมการพิจารณา วิทยานิพนธ์ เพื่อควบคุมคุณภาพการวิจัยเช่นเดียวกับระบบปกติระดับงานวิจัยขนาด 48-60 หน่วยกิต ปริญญา นิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต สำหรับผู้ที่เรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถยอดเยี่ยมหรือโดดเด่น เช่น สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ก็สามารถเรียนควบปริญญาโทและปริญญาเอกได้
คำตอบของความแตกต่างระหว่างงาน วิจัยระดับปริญญาโทกับระดับปริญญาเอก
เมื่อต้องตอบคำถามถึงแตกต่างระหว่างงานวิจัยระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอก ย่อมมีอย่างแน่นอน ขอตอบแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ ความยาก ความใหญ่ และความลึก
ความยาก คือ วิธีการวิจัย + สถิติ + การได้มาของข้อมูล
ความใหญ่ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ
ความลึก คือ หลักการ ทฤษฎี ความรู้ใหม่ อ้างอิงได้
การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)
การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)
การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน Abstract เป็นปัญหาของนักวิจัยไทยส่วนใหญ่ บางคนอาจต้องขอให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีเขียนให้ แต่หากเราเขียนบทคัดย่อภาษาไทยไม่ชัดเจนแล้วก็ยากที่ผู้อื่นจะเขียน abstract โดยดูจากเฉพาะบทคัดย่อภาษาไทยได้นอกจากจะต้องกลับไปดูเนื้อเรื่อง ทำให้เสียเวลา เพื่อช่วยให้เขียน abstract ง่ายขึ้น บทคัดย่อภาษาไทยจึงควรเขียนให้มีโครงสร้างประโยคชัดเจน โดยลองใช้เครื่องหมายวรรคตอนเช่น มหัพภาค(full stop) และ จุลภาค (comma) แบบภาษาอังกฤษ จะช่วยให้เขียน abstract ได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยลบเครื่องหมายต่าง ๆ ออกในภายหลัง
หลักการเขียนบทคัด ย่อ
บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อโดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อ เรื่อง บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้ คือ
1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับ ในเนื้อหาสัมมนา
3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง
ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ
5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา
ประเภทของบทคัดย่อ
บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น
การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision)
คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
2. มีความถูกต้อง (Precision)
คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity)
การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ
การเขียนบทคัดย่องานวิจัย
การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective)
เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการ ศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
2. วิธีการ (Methodology)
เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลและบทสรุป (Result and Conclusions)
เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย
เหตุใดคุณจึงควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?
1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น
บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?
1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้ อย่างสะดวกง่ายดาย
กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย
แหล่งที่มา : http://www.trang1.go.th/view.php?article_id=2514
เขียนโดย ดร.จำเริญ จิตรหลัง Ed.D
(Educational Administratio
การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน Abstract เป็นปัญหาของนักวิจัยไทยส่วนใหญ่ บางคนอาจต้องขอให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีเขียนให้ แต่หากเราเขียนบทคัดย่อภาษาไทยไม่ชัดเจนแล้วก็ยากที่ผู้อื่นจะเขียน abstract โดยดูจากเฉพาะบทคัดย่อภาษาไทยได้นอกจากจะต้องกลับไปดูเนื้อเรื่อง ทำให้เสียเวลา เพื่อช่วยให้เขียน abstract ง่ายขึ้น บทคัดย่อภาษาไทยจึงควรเขียนให้มีโครงสร้างประโยคชัดเจน โดยลองใช้เครื่องหมายวรรคตอนเช่น มหัพภาค(full stop) และ จุลภาค (comma) แบบภาษาอังกฤษ จะช่วยให้เขียน abstract ได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยลบเครื่องหมายต่าง ๆ ออกในภายหลัง
หลักการเขียนบทคัด ย่อ
บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อโดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อ เรื่อง บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้ คือ
1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับ ในเนื้อหาสัมมนา
3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง
ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ
5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา
ประเภทของบทคัดย่อ
บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น
การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision)
คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
2. มีความถูกต้อง (Precision)
คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity)
การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ
การเขียนบทคัดย่องานวิจัย
การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective)
เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการ ศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
2. วิธีการ (Methodology)
เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลและบทสรุป (Result and Conclusions)
เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย
เหตุใดคุณจึงควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?
1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น
บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?
1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้ อย่างสะดวกง่ายดาย
กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย
แหล่งที่มา : http://www.trang1.go.th/view.php?article_id=2514
เขียนโดย ดร.จำเริญ จิตรหลัง Ed.D
(Educational Administratio
เทคนิคเดลฟาย(Delphi technique)
เทคนิคเดลฟาย
(Delphi technique)
เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม แพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา สำหรับทางเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้นของเทคโนโลยีการศึกษา อีก
ความหมายของเทคนิคเดลฟาย
5 ปี ทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ e –Learning ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งเทคนิคเดลฟายเป็นวิธีการวินิจฉัยหรือตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่มีการเผชิญหน้า กันโดยตรงของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกันกับการระดมสมอง (Brain storming) ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตน เองอย่างเต็มที่และอิสระ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีโอกาสกลั่นกรองความคิดเห็นของตนอย่างรอบคอบทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ได้
เจนเซน
จากความหมายสรุปได้ว่า
คุณลักษณะของเทคนิคเดลฟาย
(Jensen. 1996 : 857) ได้ให้คำ นิยามของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นโครงการจัดทำรายละเอียดรอบคอบ ในการที่จะสอบถามบุคคลด้วยแบบสอบถามในเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นกลับมา โดยมุ่งที่จะรวบรวมการพิจารณาการตัดสินใจและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคตจอห์นสัน (Johnson. 1993 : 982) ได้ให้ความหมายของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นเทคนิคของการรวบรวมการพิจารณา การตัดสินใจที่มุ่งเพื่อเอาชนะจุดอ่อนของการตัดสินใจแต่เดิมที่จำเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคน ใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรือความคิดเห็นของกลุ่มหรือมติของที่ประชุมเทคนิคเด ลฟาย คือ กระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจหรือลงข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญโดยรวบรวมและสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
1. เทคนิคเด ลฟายเป็นเทคนิคที่มุ่งแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการตอบแบบสอบถาม ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงจำเป็นต้องตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการตอบหรือการตัดสินใจของ ผู้เชี่ยวชาญจะมีความถูกต้องและความตรงสูง เมื่อผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นที่ผู้ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ ศึกษา
2. เป็นเทคนิค ที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนที่ร่วมในการวิจัยจะไม่ทราบว่าใครเป็นใครบ้าง ที่มีส่วนออกความเห็นและไม่ทราบว่าแต่ ละคนมีความคิดเห็นในแต่ละข้ออย่างไร ซึ่งนับว่าเป็นการขจัดอิทธิพลของกลุ่มที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของตน
3. เทคนิคเด ลฟายนี้ได้ข้อมูลมาจากแบบสอบถาม หรือรูปแบบอย่างอื่นที่ไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาพบกัน โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องตอบแบบสอบถามครบทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อถือได้จึงต้องมีการใช้แบบสอบถามหลาย ๆ รอบ ซึ่งโดยทั่ว ไปแบบสอบถามในรอบที่ 1 มักเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและในรอบต่อ ๆ ไป จะเป็นแบบสอถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณ ค่า (Rating Scale)
4. เพื่อให้ผู้ เชี่ยวชาญแต่ละคนได้ตอบแบบสอบถามโดยกลั่นกรองอย่างละเอียด รอบคอบและให้คำตอบได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ผู้ทำวิจัยจะแสดงความคิดเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันในคำตอบแต่ละข้อของแบบสอบถามที่ตอบลงไปในครั้งก่อน แสดงในรูปสถิติ คือ ค่ามัธยฐานและค่า พิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนพิจารณาว่าจะคงคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่
5. สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์จะเป็นสถิติเบื้องต้น คือ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ฐานนิยม(Mode) มัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจายของข้อมูล คือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยของเทคนิคเดลฟาย มีขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ปัญหาที่จะวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายควรเป็นปัญหาที่ ยังไม่มี คำตอบที่ถูกต้องแน่นอนและ สามารถวิจัยปัญหาได้จากการให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เป็นผู้ตัดสิน ประเด็นปัญหาควรจะนำไปสู่การวางแผน นโยบายหรือการคาดการณ์ในอนาคต
2. การเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนนี้ มีความสำคัญมากเนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะของ การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย คือ การอาศัยข้อคิดเห็นจากการตอบของผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยจะน่าเชื่อถือหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เลือก สรรมานั้น สามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด ดังนั้น สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงในการเลือกกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญ ได้แก่ ความสามารถของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจำนวนผู้เชี่ยวชาญและวิธีการ เลือกสรรผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
3. การทำแบบสอบถาม ในกระบวน การวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟายนี้ จะให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวน4รอบ ดังนี้
3.1 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 1 การทำแบบ สอบถามฉบับแรก โดยทั่วไป แบบสอบถามฉบับ แรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดและเป็นการถามแบบกว้าง ๆ ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่จะวิจัย นั้น เพื่อระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยทางไปรษณีย์ที่สอดซองซึ่งจ่าหน้าและปิดดวงตราไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญ กำหนดเวลาในการส่งคำตอบนี้คืนภายใน 2 สัปดาห์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญคนใดไม่ส่งคืนควรทวงถาม สำหรับการวิเคราะห์คำตอบแบบสอบถามรอบแรกผู้วิจัยจะต้องรวบรวมความคิดเห็นและวิเคราะห์โดยละเอียดและนำมา สังเคราะห์เป็นประเด็น โดยตัดข้อมูล ที่ซ้ำซ้อนออกเพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามในรอบต่อไป
3.2 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 2 โดยการนำคำ ตอบที่วิเคราะห์ได้จากรอบแรกมา สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) อาจใช้ 5 ระดับเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ คนให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อ รวมทั้งเหตุผลที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของแต่ละข้อลงในช่องว่างที่เว้นไว้ตอนท้ายประโยค หรือควรการแก้ไขสำนวนผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ แล้วส่งแบบสอบถามในรอบนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมและอำนวยความสะดวกในการ ส่งคืนทางไปรษณีย์เช่นเดียวกับรอบแรก และสำหรับการวิเคราะห์คำตอบจากแบบสอบ ถามรอบที่ 2 โดยการนำคำตอบแต่ละข้อมาหาค่ามัธยฐาน(Median) ฐานนิยาม (Mode)และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) นำคำตอบแต่ละข้อจากการวิเคราะห์รอบที่ 2
3.3 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่าพิสัยระ หว่างควอไทล์ กล่าวคือ ถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบแสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ สอดคล้องกัน ซึ่งถ้าผู้วิจัยได้ข้อมูลเพียงพอก็อาจสรุปผลการวิจัยได้รอบนี้เลย แต่ถ้าถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์กว้าง(มีค่ามาก)แสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญไม่สอดคล้องกัน(ต่างกัน) ก็อาจสร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบ สอบถามรอบที่ 3 โดยมีข้อความเดียวกันกับแบบสอบถามรอบที่ 2 แต่เพิ่มตำแหน่งของค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และเครื่องหมายแสดงตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้น ๆ ได้ตอบในแบบสอบถามรอบที่ 2 ลงไป แล้วส่งกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นได้ยืนยันคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบใหม่ ทำตามขั้นตอนหรือวิธีการ เดียวกันกับรอบที่ 3
3.4 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 4 ถ้าผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ ปรากฏคำตอบที่ได้มีความสอดคล้องกัน นั่นคือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบก็ยุติกระบวน การวิจัยได้ แต่ถ้าคำตอบทั้งหมดยังมีความต่างกันก็สร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบสอบถามรอบที่ 4 โดยมีข้อความเดียวกันกับ แบบสอบถามรอบที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวิจัยเดลฟายส่วน ใหญ่สามารถได้ข้อสรุปผลการวิจัยจากแบบสอบถามรอบที่ 3 และหากดำเนิน การวิจัยรอบที่ 4 ก็จะได้ข้อสรุปใกล้เคียงกับรอบที่ 3
การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย จะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญ รูปแบบของแบบสอบถามใช้ทั้งสองประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า
การให้ข้อมูลย้อนกลับใน กระบวนการเดลฟาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับรู้ระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยสรุปรวมว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อข้อความแต่ละข้อ ข้อมูลย้อนกลับนี้ จะนำเสนอด้วยค่าสถิติ ค่าสถิติที่นำเสนอจะประกอบด้วยข้อมูล
( โดยทั่วไปใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ) เทคนิคเด ลฟายที่พัฒนามาแบบดั้งเดิม จะเก็บข้อมูล รอบแรกโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ส่วนรอบต่อมาจะใช้แบบปลายปิด การเก็บข้อมูลในรอบแรกโดยใช้แบบสอบถาม ปลายเปิดมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความคิดเห็นกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญสำหรับแบบสอบถามในรอบที่สองพัฒนามาจากคำตอบของแบบ สอบถามในรอบแรก โดยนำความคิดเห็นทั้ง หมดจากผู้เชี่ยวชาญมาสังเคราะห์สร้างเป็นแบบสอบถามปลายเปิดชนิดมาตรประมาณ ค่าแล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจัดลำดับ ความสำคัญหรือคาดการณ์แนวโน้มในแต่ละข้อการจัดทำแบบสอบถามในรอบที่ 3 นั้น จะมีการนำคำตอบของแต่ละข้อที่ได้รับจากแบบสอบถามรอบที่ 2 ทั้งหมดมาคำนวณค่าสถิติ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจัดทำแบบสอบถาม คือ การเลือกค่าสถิติที่ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ( Median ) ฐานนิยม ( Mode ) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ( Interquartile Range) หรือ ความถี่ ร้อยละ เป็นต้น2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยค่าสถิติ 2 ส่วน คือค่าสถิติที่แสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปรวมซึ่งอาจแสดงด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม หรือร้อยละเพื่อแสดงความคิดของคนส่วนใหญ่ ค่าสถิติส่วนที่สองคือ ค่าสถิติที่แสดงการกระจายของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแสดงระดับความสอดคล้องของความคิด ของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่พบบ่อย ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ หรือการแจกแจง ความถี่หรือร้อยละในแต่ละกลุ่มคำตอบ กลุ่มที่สอง เป็นตัวเลขที่แสดงคำตอบของผู้เชี่ยวชาญในรอบที่แล้ว เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องหรือความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนกับความคิดเห็นของกลุ่ม
จำนวนรอบที่เหมาะสม
การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย สามารถดำเนินการได้หลายรอบจนกว่าจะได้คำตอบที่สอดคล้องกันของสมาชิกในกลุ่ม จำนวรอบที่เหมาะสมของเทคนิคเดลฟาย ขึ้นอยู่กับการได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติหรือจนกว่าสามารถให้เหตุผลได้ว่าทำไมจึง ไม่สามารถได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติ โดยปกติการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟายอย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้
อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบ กระบวนการไม่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจำนวนกี่รอบ เนื่องจากขึ้นอยู่กับระดับฉันทามติของกลุ่มว่าจะสามารถบรรลุผลได้ในรอบใด
2 รอบ แต่ไม่ควรเกิน 4 รอบ
รูปแบบของเทคนิคเดลฟายที่ใช้ ในการวิจัย
รูปแบบของเทคนิคเดลฟายมี
เทคนิคเดลฟายแบบปรับ ปรุง
เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงหรือ
2 รูปแบบ คือ รูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบปรับปรุง ธรรมชาติของเดลฟาย มีลักษณะสำคัญ หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ เพื่อสร้างความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือฉันทมติระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยว ชาญในการนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ ที่มีรูปแบบการดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามนำในรอบแรกและแบบสอบถามที่ใช้ในรอบแรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดการนำเทคนิคเดลฟายแบบเดิมไปใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประสบปัญหาหลายด้าน เช่น การใช้ เวลาในการตอบแบบสอบถามปลายเปิดนาน การเก็บข้อมูลหลายรอบทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกเบื่อและถูกรบกวนมากเกินไป อัตราการตอบกลับแบบสอบถามค่อนข้างต่ำ ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยมีความหลากหลาย ตอบเข้าหาค่ากลางเพื่อให้ยุติโดยเร็วปัญหาเหล่านี้จึงทำให้ผู้วิจัยปรับปรุง ข้อจำกัดของเทคนิคเดลฟายแบบเดิมให้ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นModified Techniques หมายถึง เทคนิคเดลฟายที่มีการปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินการให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ และลดข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเทคนิคเดลฟายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามของเทคนิคเดลฟายในแต่ละรอบใช้ระยะ เวลาไม่ต่ำกว่า 40 วัน จึงมีความพยายามหาวิธีลดระยะเวลาในการ เก็บข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การใช้วิธี ระดมความคิดแทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมแนวคิดที่หลาหลายของกลุ่มบุคคล สำหรับการจัดทำเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดในรอบที่ 2 ของเทคนิค เดลฟายแบบดั้งเดิม การระดมความคิดจะช่วยลดระยะเวลาสำหรับการจัดทำแบบสอบถามในรอบสอง เพราะการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มด้วยเทคนิคระดมควมคิดจะทำให้ได้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีการอภิปรายภายในกลุ่มอย่างมีเหตุผล และช่วยลดระยะเวลาในการรอแบบสอบกลับคืนในรอบแรก
2. การใช้วิธี การสัมภาษณ์แทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก จุมพล พูลภัทรชีวัน ได้ปรับปรุงเทคนิคเดลฟายให้เหมาะกับการวิจัยอนาคต โดยพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า EDFR( Ethnographic Delphi Futures Research ) เทคนิคนี้เก็บรวบรวมข้อมูลรอบแรกด้วยการสัมภาษณ์ไม่ไม่การจำกัดขอบเขตของแนวคิดของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ใช้การสัมภาษณ์แบบเปิดและไม่ชี้นำ ผู้ให้สัมภาษณ์มีโอกาสปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขข้อมูลที่ให้สัมภาษณ์ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ
3. การประชุมแบบเดลฟาย ( Delphi Conference ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะของการประชุม ระหว่างการประชุมจะเก็บข้อมูลซ้ำด้วยแบบสอบถาม และนำเสนอข้อมูลย้อนกลับแก่ สมาชิกในกลุ่ม และขอให้ผู้ให้ข้อมูลพิจารณาและตรวจสอบความคิดเห็นของตนเองอีกครั้งพร้อมกับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายกันภายในกลุ่ม การเก็บข้อมูลแบบนี้ไม่สามารถปิดบังสถานภาพทางสังคมของผู้ให้ข้อมูลได้ ผู้วิจัยสามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลได้
4. เดลฟายใช้คอมพิวเตอร์ เป็นฐาน ( Computer – Based Delphi ) การวิจัยที่ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านทาง คอมพิวเตอร์ ผู้ให้ข้อมูลจะเห็นข้อมูลของสมาชิกในกระบวนการ โดยไม่ต้องอาศัยการสรุปหรือวิเคราะห์ความคิดโดยนักวิจัยซึ่งอาจมี ความลำเอียง วิธีนี้จะเก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ประหยัด
5. เดลฟายกลุ่ม ( Group Delphi ) Wikin และ Altschuld (1995) เสนอการใช้เดลฟายกลุ่มโดยการกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและเชิญเข้ามีส่วนร่วมในการประชุม เมื่อได้รับการตอบรับและผู้เชี่ยวชาญ ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมในการประชุมแล้ว ผู้ประเมินความต้องการจำเป็น ( needs assessor ) ส่งแบบสอบถามรอบที่ 1 ไปให้ก่อน การประชุม หลังจากนั้นก่อนหรือหลังการประชุมประมาณ 3-4 ชั่วโมง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะได้รับแบบสอบถามฉบับที่ 2 ผู้เชี่ยว ชาญใช้ช่วงเวลาระหว่างพักการประชุม ประมาณ 20 นาที ในการตอบแบบสอบถามโดยผู้ประเมินความต้องการจำเป็นขอความร่วมมือไม่ให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถาม ภายในกลุ่ม ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นรวบรวมคำตอบที่ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นสร้างแบบสอบถามรอบที่ 3 เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามรอบที่ 3 เสร็จเรียบร้อย ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นนำข้อเสนอแนะหรือประเด็นที่มีผู้ไม่เห็นด้วยมาพิจารณาร่วมกันแบบเผชิญหน้าเพื่อหาข้อ สรุป3 ประการ คือ การกำหนดโครงสร้างของเส้นทางการส่ง ผ่านข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการเก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล เทคนิคนี้เหมาะสมกับการใช้กับการคาดการณ์ในมิติที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่มีมิติเดียว วิธีนี้สามารถไปใช้คู่กับเทคนิคเชิงอนาคตอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้
1. เป็นเทคนิค ที่สามารถรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก โดยไม่ ต้องมีการพบปะหรือประชุมกัน ซึ่งเป็นการทุ่นเวลาและค่าใช้จ่าย
2. ข้อมูลที่ ได้จะเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือ เพราะ เป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน สาขานั้น ๆ อย่างแท้จริงและคำตอบได้มา จากการย้ำถามหลายรอบ
3. เป็นเทคนิคที่มีขั้น ตอนการดำเนินงานไม่ยากนัก ได้ผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. ผู้เชี่ยว ชาญที่เข้าร่วมการวิจัยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ มีโอกาส ได้รับทราบผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ ละรอบและปรับเปลี่ยนหรือยืนยันความคิดเห็นของตนเอง
1. ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ รับการคัดเลือก มิใช่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในสาขานั้น
2. ผู้เชี่ยวชาญไม่ให้ ความร่วมมือในการวิจัย
3. นักวิจัยขาดความ รอบคอบหรือมีความลำเอียงในการพิจารณาคำตอบ
4. แบบสอบถาม ที่ส่งไปสูญหายหรือไม่ได้รับคำตอบกลับคืนมา
เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ใช้กระบวนการกลุ่มในการหาคำตอบ หรือการตัดสินใจลงข้อสรุป ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญซึ่งหัวใจสำคัญของเทคนิค เดลฟาย คือ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย จะต้องมีความชัดเจน ง่ายแก่การอ่านและผู้ตอบเข้าใจตรงกันในคำถาม และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้วิจัยเอง ต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย เพราะเทคนิคเดลฟายมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด และตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) ที่ ทำให้การวิจัยไม่สำเร็จได้
Jensen, C. Delphi in Depth: Power Techniques from the Experts Berkeley. Singapore:
McGraw-Hill, 1996.
Johnson Perry, L. ISO 900 Meeting the New International Standard. Singapore:
McGraw-Hill, 1993.
(Delphi technique)
เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม แพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา สำหรับทางเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้นของเทคโนโลยีการศึกษา อีก
ความหมายของเทคนิคเดลฟาย
5 ปี ทิศทางการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ e –Learning ของประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งเทคนิคเดลฟายเป็นวิธีการวินิจฉัยหรือตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่มีการเผชิญหน้า กันโดยตรงของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกันกับการระดมสมอง (Brain storming) ทำให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตน เองอย่างเต็มที่และอิสระ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของผู้อื่น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีโอกาสกลั่นกรองความคิดเห็นของตนอย่างรอบคอบทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ได้
เจนเซน
จากความหมายสรุปได้ว่า
คุณลักษณะของเทคนิคเดลฟาย
(Jensen. 1996 : 857) ได้ให้คำ นิยามของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นโครงการจัดทำรายละเอียดรอบคอบ ในการที่จะสอบถามบุคคลด้วยแบบสอบถามในเรื่องต่างๆ เพื่อจะได้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นกลับมา โดยมุ่งที่จะรวบรวมการพิจารณาการตัดสินใจและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคตจอห์นสัน (Johnson. 1993 : 982) ได้ให้ความหมายของเทคนิคเดลฟาย ว่า เป็นเทคนิคของการรวบรวมการพิจารณา การตัดสินใจที่มุ่งเพื่อเอาชนะจุดอ่อนของการตัดสินใจแต่เดิมที่จำเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคน ใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรือความคิดเห็นของกลุ่มหรือมติของที่ประชุมเทคนิคเด ลฟาย คือ กระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจหรือลงข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญโดยรวบรวมและสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
1. เทคนิคเด ลฟายเป็นเทคนิคที่มุ่งแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการตอบแบบสอบถาม ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงจำเป็นต้องตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการตอบหรือการตัดสินใจของ ผู้เชี่ยวชาญจะมีความถูกต้องและความตรงสูง เมื่อผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นที่ผู้ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ ศึกษา
2. เป็นเทคนิค ที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนที่ร่วมในการวิจัยจะไม่ทราบว่าใครเป็นใครบ้าง ที่มีส่วนออกความเห็นและไม่ทราบว่าแต่ ละคนมีความคิดเห็นในแต่ละข้ออย่างไร ซึ่งนับว่าเป็นการขจัดอิทธิพลของกลุ่มที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของตน
3. เทคนิคเด ลฟายนี้ได้ข้อมูลมาจากแบบสอบถาม หรือรูปแบบอย่างอื่นที่ไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาพบกัน โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องตอบแบบสอบถามครบทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อถือได้จึงต้องมีการใช้แบบสอบถามหลาย ๆ รอบ ซึ่งโดยทั่ว ไปแบบสอบถามในรอบที่ 1 มักเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและในรอบต่อ ๆ ไป จะเป็นแบบสอถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณ ค่า (Rating Scale)
4. เพื่อให้ผู้ เชี่ยวชาญแต่ละคนได้ตอบแบบสอบถามโดยกลั่นกรองอย่างละเอียด รอบคอบและให้คำตอบได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ผู้ทำวิจัยจะแสดงความคิดเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันในคำตอบแต่ละข้อของแบบสอบถามที่ตอบลงไปในครั้งก่อน แสดงในรูปสถิติ คือ ค่ามัธยฐานและค่า พิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วส่งกลับให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนพิจารณาว่าจะคงคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่
5. สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์จะเป็นสถิติเบื้องต้น คือ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ฐานนิยม(Mode) มัธยฐาน (Median) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจายของข้อมูล คือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยของเทคนิคเดลฟาย มีขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ปัญหาที่จะวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายควรเป็นปัญหาที่ ยังไม่มี คำตอบที่ถูกต้องแน่นอนและ สามารถวิจัยปัญหาได้จากการให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เป็นผู้ตัดสิน ประเด็นปัญหาควรจะนำไปสู่การวางแผน นโยบายหรือการคาดการณ์ในอนาคต
2. การเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนนี้ มีความสำคัญมากเนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะของ การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย คือ การอาศัยข้อคิดเห็นจากการตอบของผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยจะน่าเชื่อถือหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เลือก สรรมานั้น สามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด ดังนั้น สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงในการเลือกกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญ ได้แก่ ความสามารถของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจำนวนผู้เชี่ยวชาญและวิธีการ เลือกสรรผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
3. การทำแบบสอบถาม ในกระบวน การวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟายนี้ จะให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวน4รอบ ดังนี้
3.1 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 1 การทำแบบ สอบถามฉบับแรก โดยทั่วไป แบบสอบถามฉบับ แรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดและเป็นการถามแบบกว้าง ๆ ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่จะวิจัย นั้น เพื่อระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยทางไปรษณีย์ที่สอดซองซึ่งจ่าหน้าและปิดดวงตราไปรษณีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญ กำหนดเวลาในการส่งคำตอบนี้คืนภายใน 2 สัปดาห์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญคนใดไม่ส่งคืนควรทวงถาม สำหรับการวิเคราะห์คำตอบแบบสอบถามรอบแรกผู้วิจัยจะต้องรวบรวมความคิดเห็นและวิเคราะห์โดยละเอียดและนำมา สังเคราะห์เป็นประเด็น โดยตัดข้อมูล ที่ซ้ำซ้อนออกเพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามในรอบต่อไป
3.2 การสร้างแบบสอบถามรอบที่ 2 โดยการนำคำ ตอบที่วิเคราะห์ได้จากรอบแรกมา สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) อาจใช้ 5 ระดับเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ คนให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อ รวมทั้งเหตุผลที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของแต่ละข้อลงในช่องว่างที่เว้นไว้ตอนท้ายประโยค หรือควรการแก้ไขสำนวนผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ แล้วส่งแบบสอบถามในรอบนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมและอำนวยความสะดวกในการ ส่งคืนทางไปรษณีย์เช่นเดียวกับรอบแรก และสำหรับการวิเคราะห์คำตอบจากแบบสอบ ถามรอบที่ 2 โดยการนำคำตอบแต่ละข้อมาหาค่ามัธยฐาน(Median) ฐานนิยาม (Mode)และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) นำคำตอบแต่ละข้อจากการวิเคราะห์รอบที่ 2
3.3 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่าพิสัยระ หว่างควอไทล์ กล่าวคือ ถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบแสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ สอดคล้องกัน ซึ่งถ้าผู้วิจัยได้ข้อมูลเพียงพอก็อาจสรุปผลการวิจัยได้รอบนี้เลย แต่ถ้าถ้าค่าพิสัยระหว่างควอไทล์กว้าง(มีค่ามาก)แสดงว่า คำตอบที่วิเคราะห์ได้นั้นมีความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญไม่สอดคล้องกัน(ต่างกัน) ก็อาจสร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบ สอบถามรอบที่ 3 โดยมีข้อความเดียวกันกับแบบสอบถามรอบที่ 2 แต่เพิ่มตำแหน่งของค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และเครื่องหมายแสดงตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้น ๆ ได้ตอบในแบบสอบถามรอบที่ 2 ลงไป แล้วส่งกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นได้ยืนยันคำตอบเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบใหม่ ทำตามขั้นตอนหรือวิธีการ เดียวกันกับรอบที่ 3
3.4 การวิเคราะห์แบบสอบถามรอบที่ 4 ถ้าผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ ปรากฏคำตอบที่ได้มีความสอดคล้องกัน นั่นคือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์แคบก็ยุติกระบวน การวิจัยได้ แต่ถ้าคำตอบทั้งหมดยังมีความต่างกันก็สร้างแบบสอบถามใหม่เป็นแบบสอบถามรอบที่ 4 โดยมีข้อความเดียวกันกับ แบบสอบถามรอบที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวิจัยเดลฟายส่วน ใหญ่สามารถได้ข้อสรุปผลการวิจัยจากแบบสอบถามรอบที่ 3 และหากดำเนิน การวิจัยรอบที่ 4 ก็จะได้ข้อสรุปใกล้เคียงกับรอบที่ 3
การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย จะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญ รูปแบบของแบบสอบถามใช้ทั้งสองประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า
การให้ข้อมูลย้อนกลับใน กระบวนการเดลฟาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับรู้ระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยสรุปรวมว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อข้อความแต่ละข้อ ข้อมูลย้อนกลับนี้ จะนำเสนอด้วยค่าสถิติ ค่าสถิติที่นำเสนอจะประกอบด้วยข้อมูล
( โดยทั่วไปใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ) เทคนิคเด ลฟายที่พัฒนามาแบบดั้งเดิม จะเก็บข้อมูล รอบแรกโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ส่วนรอบต่อมาจะใช้แบบปลายปิด การเก็บข้อมูลในรอบแรกโดยใช้แบบสอบถาม ปลายเปิดมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมความคิดเห็นกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญสำหรับแบบสอบถามในรอบที่สองพัฒนามาจากคำตอบของแบบ สอบถามในรอบแรก โดยนำความคิดเห็นทั้ง หมดจากผู้เชี่ยวชาญมาสังเคราะห์สร้างเป็นแบบสอบถามปลายเปิดชนิดมาตรประมาณ ค่าแล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจัดลำดับ ความสำคัญหรือคาดการณ์แนวโน้มในแต่ละข้อการจัดทำแบบสอบถามในรอบที่ 3 นั้น จะมีการนำคำตอบของแต่ละข้อที่ได้รับจากแบบสอบถามรอบที่ 2 ทั้งหมดมาคำนวณค่าสถิติ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจัดทำแบบสอบถาม คือ การเลือกค่าสถิติที่ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ( Median ) ฐานนิยม ( Mode ) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ( Interquartile Range) หรือ ความถี่ ร้อยละ เป็นต้น2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยค่าสถิติ 2 ส่วน คือค่าสถิติที่แสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปรวมซึ่งอาจแสดงด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม หรือร้อยละเพื่อแสดงความคิดของคนส่วนใหญ่ ค่าสถิติส่วนที่สองคือ ค่าสถิติที่แสดงการกระจายของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแสดงระดับความสอดคล้องของความคิด ของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่พบบ่อย ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ หรือการแจกแจง ความถี่หรือร้อยละในแต่ละกลุ่มคำตอบ กลุ่มที่สอง เป็นตัวเลขที่แสดงคำตอบของผู้เชี่ยวชาญในรอบที่แล้ว เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องหรือความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนกับความคิดเห็นของกลุ่ม
จำนวนรอบที่เหมาะสม
การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเด ลฟาย สามารถดำเนินการได้หลายรอบจนกว่าจะได้คำตอบที่สอดคล้องกันของสมาชิกในกลุ่ม จำนวรอบที่เหมาะสมของเทคนิคเดลฟาย ขึ้นอยู่กับการได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติหรือจนกว่าสามารถให้เหตุผลได้ว่าทำไมจึง ไม่สามารถได้ข้อสรุปที่มีฉันทามติ โดยปกติการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟายอย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้
อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบ กระบวนการไม่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจำนวนกี่รอบ เนื่องจากขึ้นอยู่กับระดับฉันทามติของกลุ่มว่าจะสามารถบรรลุผลได้ในรอบใด
2 รอบ แต่ไม่ควรเกิน 4 รอบ
รูปแบบของเทคนิคเดลฟายที่ใช้ ในการวิจัย
รูปแบบของเทคนิคเดลฟายมี
เทคนิคเดลฟายแบบปรับ ปรุง
เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงหรือ
2 รูปแบบ คือ รูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบปรับปรุง ธรรมชาติของเดลฟาย มีลักษณะสำคัญ หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆ เพื่อสร้างความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือฉันทมติระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยว ชาญในการนำมาสู่ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ ที่มีรูปแบบการดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามนำในรอบแรกและแบบสอบถามที่ใช้ในรอบแรกเป็นแบบสอบถามปลายเปิดการนำเทคนิคเดลฟายแบบเดิมไปใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประสบปัญหาหลายด้าน เช่น การใช้ เวลาในการตอบแบบสอบถามปลายเปิดนาน การเก็บข้อมูลหลายรอบทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกเบื่อและถูกรบกวนมากเกินไป อัตราการตอบกลับแบบสอบถามค่อนข้างต่ำ ข้อมูลที่ได้ไม่ค่อยมีความหลากหลาย ตอบเข้าหาค่ากลางเพื่อให้ยุติโดยเร็วปัญหาเหล่านี้จึงทำให้ผู้วิจัยปรับปรุง ข้อจำกัดของเทคนิคเดลฟายแบบเดิมให้ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นModified Techniques หมายถึง เทคนิคเดลฟายที่มีการปรับปรุงวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินการให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ และลดข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเทคนิคเดลฟายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามของเทคนิคเดลฟายในแต่ละรอบใช้ระยะ เวลาไม่ต่ำกว่า 40 วัน จึงมีความพยายามหาวิธีลดระยะเวลาในการ เก็บข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การใช้วิธี ระดมความคิดแทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมแนวคิดที่หลาหลายของกลุ่มบุคคล สำหรับการจัดทำเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดในรอบที่ 2 ของเทคนิค เดลฟายแบบดั้งเดิม การระดมความคิดจะช่วยลดระยะเวลาสำหรับการจัดทำแบบสอบถามในรอบสอง เพราะการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มด้วยเทคนิคระดมควมคิดจะทำให้ได้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมีการอภิปรายภายในกลุ่มอย่างมีเหตุผล และช่วยลดระยะเวลาในการรอแบบสอบกลับคืนในรอบแรก
2. การใช้วิธี การสัมภาษณ์แทนการตอบแบบสอบถามปลายเปิดในรอบแรก จุมพล พูลภัทรชีวัน ได้ปรับปรุงเทคนิคเดลฟายให้เหมาะกับการวิจัยอนาคต โดยพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า EDFR( Ethnographic Delphi Futures Research ) เทคนิคนี้เก็บรวบรวมข้อมูลรอบแรกด้วยการสัมภาษณ์ไม่ไม่การจำกัดขอบเขตของแนวคิดของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ใช้การสัมภาษณ์แบบเปิดและไม่ชี้นำ ผู้ให้สัมภาษณ์มีโอกาสปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขข้อมูลที่ให้สัมภาษณ์ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ
3. การประชุมแบบเดลฟาย ( Delphi Conference ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะของการประชุม ระหว่างการประชุมจะเก็บข้อมูลซ้ำด้วยแบบสอบถาม และนำเสนอข้อมูลย้อนกลับแก่ สมาชิกในกลุ่ม และขอให้ผู้ให้ข้อมูลพิจารณาและตรวจสอบความคิดเห็นของตนเองอีกครั้งพร้อมกับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายกันภายในกลุ่ม การเก็บข้อมูลแบบนี้ไม่สามารถปิดบังสถานภาพทางสังคมของผู้ให้ข้อมูลได้ ผู้วิจัยสามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลได้
4. เดลฟายใช้คอมพิวเตอร์ เป็นฐาน ( Computer – Based Delphi ) การวิจัยที่ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านทาง คอมพิวเตอร์ ผู้ให้ข้อมูลจะเห็นข้อมูลของสมาชิกในกระบวนการ โดยไม่ต้องอาศัยการสรุปหรือวิเคราะห์ความคิดโดยนักวิจัยซึ่งอาจมี ความลำเอียง วิธีนี้จะเก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ประหยัด
5. เดลฟายกลุ่ม ( Group Delphi ) Wikin และ Altschuld (1995) เสนอการใช้เดลฟายกลุ่มโดยการกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและเชิญเข้ามีส่วนร่วมในการประชุม เมื่อได้รับการตอบรับและผู้เชี่ยวชาญ ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมในการประชุมแล้ว ผู้ประเมินความต้องการจำเป็น ( needs assessor ) ส่งแบบสอบถามรอบที่ 1 ไปให้ก่อน การประชุม หลังจากนั้นก่อนหรือหลังการประชุมประมาณ 3-4 ชั่วโมง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะได้รับแบบสอบถามฉบับที่ 2 ผู้เชี่ยว ชาญใช้ช่วงเวลาระหว่างพักการประชุม ประมาณ 20 นาที ในการตอบแบบสอบถามโดยผู้ประเมินความต้องการจำเป็นขอความร่วมมือไม่ให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถาม ภายในกลุ่ม ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นรวบรวมคำตอบที่ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นสร้างแบบสอบถามรอบที่ 3 เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามรอบที่ 3 เสร็จเรียบร้อย ผู้ประเมินความต้องการจำเป็นนำข้อเสนอแนะหรือประเด็นที่มีผู้ไม่เห็นด้วยมาพิจารณาร่วมกันแบบเผชิญหน้าเพื่อหาข้อ สรุป3 ประการ คือ การกำหนดโครงสร้างของเส้นทางการส่ง ผ่านข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการเก็บรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล เทคนิคนี้เหมาะสมกับการใช้กับการคาดการณ์ในมิติที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่มีมิติเดียว วิธีนี้สามารถไปใช้คู่กับเทคนิคเชิงอนาคตอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้
1. เป็นเทคนิค ที่สามารถรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก โดยไม่ ต้องมีการพบปะหรือประชุมกัน ซึ่งเป็นการทุ่นเวลาและค่าใช้จ่าย
2. ข้อมูลที่ ได้จะเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือ เพราะ เป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน สาขานั้น ๆ อย่างแท้จริงและคำตอบได้มา จากการย้ำถามหลายรอบ
3. เป็นเทคนิคที่มีขั้น ตอนการดำเนินงานไม่ยากนัก ได้ผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. ผู้เชี่ยว ชาญที่เข้าร่วมการวิจัยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ มีโอกาส ได้รับทราบผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ ละรอบและปรับเปลี่ยนหรือยืนยันความคิดเห็นของตนเอง
1. ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ รับการคัดเลือก มิใช่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในสาขานั้น
2. ผู้เชี่ยวชาญไม่ให้ ความร่วมมือในการวิจัย
3. นักวิจัยขาดความ รอบคอบหรือมีความลำเอียงในการพิจารณาคำตอบ
4. แบบสอบถาม ที่ส่งไปสูญหายหรือไม่ได้รับคำตอบกลับคืนมา
เทคนิคเดลฟาย เป็นเทคนิคการวิจัยที่ใช้กระบวนการกลุ่มในการหาคำตอบ หรือการตัดสินใจลงข้อสรุป ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบที่ปราศจากการเผชิญหน้าโดยตรงของกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญซึ่งหัวใจสำคัญของเทคนิค เดลฟาย คือ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย จะต้องมีความชัดเจน ง่ายแก่การอ่านและผู้ตอบเข้าใจตรงกันในคำถาม และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้วิจัยเอง ต้องวางแผนอย่างรอบคอบในการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย เพราะเทคนิคเดลฟายมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด และตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) ที่ ทำให้การวิจัยไม่สำเร็จได้
Jensen, C. Delphi in Depth: Power Techniques from the Experts Berkeley. Singapore:
McGraw-Hill, 1996.
Johnson Perry, L. ISO 900 Meeting the New International Standard. Singapore:
McGraw-Hill, 1993.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)